Research
การส่งเสริมความเข้มแข็งภาคประชาชนด้านการเมืองการบริหาร :
การพิจารณานโยบายในประเด็นเชิงนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์
Promotion of Strengthening People in Politics and Administration: Considering the Policies Issues, Law and Political Sciences
Keyword: Strengthening People; ความเข้มแข็งภาคประชาชน
Political Administration; การเมืองการบริหาร
Sufficiency Economy; เศรษฐกิจพอเพียง
Political Virtue; จริยธรรมและคุณธรรมทางการเมือง
Networking processes; กระบวนการเครือข่าย
ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
บทความนี้ปรับปรุงจากวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกสาขาพัฒนบูรณาการศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเรื่อง “การพัฒนาท้องถิ่นไทยตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเมืองและการบริหาร: กรณีศึกษาการส่งเสริมความเข้มแข็งภาคประชาชนของจังหวัดยโสธร”
SUPWAT PAPASSARAKAN
PUBLIC ADMINISTRATION, FACULTY OF HUMANITEIS AND SOCIAL SCIENCE, SUAN DUSIT RAJABHAT UNIVERSITY
This article adapted from Ph.D., dissertation, Integral Administrative science, Ubonrachatanee University entitled “Local Development Following Sufficiency Economy Approach in Politics and Administration: Case Study on Promotion of Strengthening People, Yasothon Province, Thailand”
บทคัดย่อ
ทัศนะต่อข้อกำหนดนโยบายในการสร้างความเข้มแข็งภาคประชาชนด้านการเมืองและการบริหาร ทั้งเชิงรัฐศาสตร์และเชิงนิติศาสตร์ แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของสองแนวคิดที่มาจากนโยบายพัฒนาการเมืองและนโยบายที่เน้นการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการบริหารจัดการโดยภาคประชาชน ซึ่งจะทำให้เกิดกระบวนการบูรณาการการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม จัดการตนเองของภาคประชาชนเข้าไว้ด้วยกันภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายรัฐธรรมนูญและนโยบายเฉพาะซึ่งได้แก่ กฎหมายสภาพัฒนาการเมือง แผนพัฒนาการเมืองและกฎหมายสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ซึ่งจะทำให้กลุ่ม/องค์กรประชาชน ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการและได้รับสิทธิตามกฎหมายสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมโดยระบบตัวแทนและสามารถลดช่องว่างในประเด็นการรับรองสิทธิขององค์กรภาคประชาชนที่ไม่ได้รับการรับรองสิทธิภายใต้กฎหมายพัฒนาการเมืองได้พอสมควร การประสานกันของสองนโยบายจะมีผลที่เอื้อต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งภาคประชาชนในประเด็นดังกล่าว อย่างไรก็ตามการสร้างความเข้มแข็งภาคประชาชนยังมีข้อจำกัดด้านกฎหมายที่ยังไม่กว้างพอและหลักรัฐศาสตร์ยังไม่สามารถปฏิบัติได้จริง เนื่องจากปัญหาจริยธรรม คุณธรรมทางการเมืองและคุณธรรมด้านการบริหารจัดการ
Abstract
Attitude towards policy on strengthening people in term of politics and administration on law and political science show relationship of two ideas resulting from political development policy and policy that emphasize socio-economic and people’s self management, which, in turn, resulting in an integration process of participation in politics, socioeconomic and self-management under the provision of constitution and specific laws, including political development council law, political development plan and law on community institution development. As a result, people’s groups and organizations formally recognized and entitled to legally access to participation via representatives which, in turn, considerably help closing the gap for those who otherwise formally unrecognized of their right under the provision of political development law. Hence the combination of these two policies has an impact on the aforesaid strengthening people promotion. However, the above promotion of strengthening people is quit limited, both in terms of legal coverage as well as political science principle which is still far from practicality due to political and administrative problems on virtue ethic of management.
-----------------------------------------------------------
ว. สมาคมส่งเสริมการวิจัย ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พ.ค. – ส.ค. 2553
ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
กฤษณพงศ์ กีรติกร(2545).การพัฒนาไปสู่มหาวิทยาลัยในกำกับรัฐบาล:แนวคิดและ
-----------------------------------------------------------
ว. สมาคมส่งเสริมการวิจัย ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 พ.ค. – ส.ค. 2553
การบริหารงานอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ: แนวคิดและการปฏิบัติ
Administration in the harter University: Practice and Concept
ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์
ถ. ราชวิถี กรุงเทพฯ
E-mail: sup_w_at@Hotmail.com โทร. 087-1111165, 086-7053688
บทคัดย่อ
กระบวนการบริหารงานอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ: แนวคิดและการปฏิบัติ เป็นการนำผลการศึกษาเรื่อง การศึกษาเพื่อพัฒนาตัวแบบกระบวนการบริหารมหาวิทยาลัยภายใต้การกำกับของรัฐมานำเสนอเป็นบทความ โดยอภิปรายถึงลักษณะการบริหารปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อกระบวนการบริหารงาน รูปแบบ กระบวนการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ 4 แห่งคือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีจังหวัดนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีกรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จังหวัดนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงจังหวัดเชียงราย
คำสำคัญ ; การบริหารงานอุดมศึกษา; การบริหารปัจจัยแวดล้อม; กลยุทธ์การบริหารการศึกษา;
กรอบการกำหนดกลยุทธ์แบบผสมผสาน; ระบบประกันคุณภาพ
Abstract
This essay writes from, “the study for model developing administrative processes of the harter university in Thailand” is rewritten to the “Administration in the Harter University: Practice and Concept” to discuss the context that effect those. In addition, this considers the effectiveness and efficiency of administration in four harter universities in Thailand. They are technology Suranaree Univsrsity Nakorn Rachasrima, King Mongkut’s University of technology Thonburi Bangkok, Warailak University Nakornsrithamaraj, and Mefalong University Changrai.
Keyword; Educational administration; Administrative Context; Stratigy of Educational Administration;
Determination of Integral Strategy; System of Quality Assurance
1. บทนำ
การปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทย มีแนว ทางการบริหารและการจัดการศึกษาจากแนวความคิดที่หลากหลาย มีการศึกษาวิจัยในเชิงเอกสารทั้งในภูมิ ภาคเอเชียและแปซิฟิก รวมทั้งการศึกษาเปรียบเทียบ การบริหารจัดการศึกษา ระหว่างสหรัฐอเมริกาและอังกฤษเพื่อนำมาพิจารณาประกอบการปฏิรูปการ ศึกษาไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ระหว่างปี 2539-2543 นอกจากนั้น แนวคิดจากบทวิเคราะห์ภาพรวมของการเคลื่อนไหวด้านการศึกษา โดยศูนย์วิจัยนโยบายทางการศึกษาจุฬาลง กรณ์มหาวิทยาลัย (ปี 2540-2541) ทำให้เกิดข้อสรุปและแนวทางการปฏิรูปการศึกษาอันเป็นนโยบายเพื่อการพัฒนาและการปฏิรูปการศึกษาของไทย
จากความคิดที่ว่า คนในสังคมไทย ด้อยความ รู้ ทำให้ทุกฝ่ายเน้นในเรื่องคุณภาพของผู้ที่เข้ารับการ ศึกษา และมีความเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะแนวทาง การปฏิรูปการศึกษาในระดับอุดมศึกษาประการหนึ่งคือ การอยู่ภายใต้กำกับของรัฐของมหาวิทยาลัยไทย ซึ่งควรบริหารงานเป็นอิสระ มีความคล่องตัว ตลอด จนจัดการบริหารงานวิชาการได้อย่างหลากหลาย สามารถเพิ่มศักยภาพการรับนักศึกษาได้มากขึ้นและสามารถเพิ่มบุคลากรผู้สอน กำหนดอัตราเงินเดือนบุคลากรของตนได้เอง นอกจากนั้น ควรมีการปรับปรุง มหาวิทยาลัยเปิด และสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการอื่นๆให้มีคุณภาพ สิ่งสำคัญคือ วิธีการเรียน การวัดผล มีข้อเสนอแนะให้นิสิตนัก ศึกษา อ่านหนังสือ ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ทำรายงาน ทำวิจัย ทดลอง ศึกษาภาคปฏิบัติมากกว่าวิธีการฟังบรรยาย ทั้งนี้ เพื่อให้นักศึกษาเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง (รายงานสภาวะการศึกษาไทยปี 2540, หน้า 213-226)
ด้วยเหตุผลดังกล่าว การเปลี่ยนแปลงระบบการบริหาร ตลอดจนโครงสร้างด้านการจัดการของสถาบันอุดมศึกษาจึงถูกนำมาพิจารณา เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยการจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนองค์การ ทั้งด้าน ระเบียบปฏิบัติ โครงสร้างระบบการบริหารงบ ประมาณและการตรวจสอบ รวมทั้งการใช้ทรัพยากรเพื่อก่อให้เกิดศักยภาพด้านการบริหารงานวิชาการและงานบริหารในอนาคต
บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอแนวคิดและการปฏิบัติของการบริหารอุดมศึกษาโดยพิจารณาจากรูปแบบ ลักษณะกระบวนการบริหาร ปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อกระบวนบริหารงานอุดม ศึกษาในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐโดยจะนำผลการศึกษาจากงานศึกษาเรื่อง “การศึกษาเพื่อพัฒนาตัวแบบกระบวนการบริหารมหาวิทยาลัยภายใต้การกำกับของรัฐ” มาอภิปราย ซึ่งงานศึกษาดังกล่าวได้ทำการศึกษามหาวิทยาลัย 4 แห่งได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กรุงเทพมหานคร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย โดยศึกษาด้วยวิธีการเก็บข้อมูลเอกสาร รายงานของสถาบัน อุดมศึกษาทั้งสี่แห่ง การสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงของสถาบันอุดมศึกษา และการสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรในมหาวิทยาลัย
2. รูปแบบและลักษณะการบริหารงานของมหาวิทยาลัยทั้งสี่แห่ง
การบริหารการศึกษาของมหาวิทยาลัยทั้งสี่แห่ง มีลักษณะไม่เป็นส่วนราชการภายใต้การกำกับของรัฐ มีรูปแบบการบริหารที่เกิดจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกองค์กร เมื่อพิจารณากระบวนการบริหารจะพบลักษณะการบริหารเชิงยุทธศาสตร์หรือที่เรียกว่าการบริหารเชิงกลยุทธ์ซึ่งมีส่วนสำคัญ 5 ประการได้แก่
1. สารสนเทศด้านสภาพแวดล้อมภายนอก เน้นการพิจารณา ประการแรก ปัจจัยด้านความต้อง การของชุมชน สังคมเช่น ความต้องการของตลาดแรง งาน ความต้องการของท้องถิ่น ความต้องการระดับ ชาติและความสามารถเชื่อมโยงถึงระดับนานาชาติ ทั้งนี้ ยังได้พิจารณาถึงโอกาสที่มีอยู่และเป็นไปได้ด้านอื่นๆของมหาวิทยาลัย ประการที่สอง พิจารณาแนว นโยบายของรัฐได้แก่ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนพัฒนาอุดมศึกษา พ.ร.บ.การศึกษาแห่ง ชาติ ซึ่งต้องนำมาเป็นกรอบในการดำเนินงานให้เกิดความสอดคล้องและการสนองตอบต่อแนวนโยบายดังกล่าว ประการที่สาม พิจารณาลักษณะสำคัญของสารสนเทศด้านสภาพแวดล้อม อุปสรรคและโอกาสที่อาจเกิดจากแนวนโยบายของรัฐ การเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยีและมหาวิทยาลัยคู่แข่ง
2. สารสนเทศด้านสภาพแวดล้อมภายในองค์กรได้แก่ ทรัพยากรบุคคลที่นำเข้าสู่กระบวนการผลิต ทรัพยากรอื่นๆด้านโครงสร้างพื้นฐาน การบริหารงานบุคคล ความไม่สอดคล้องของสภาพแวด ล้อมภายในและการคำนึงถึงศักยภาพของสถานศึกษา
3. การกำหนดตำแหน่งขององค์กรว่าอยู่ในระดับใดเช่น ศักยภาพในการดำเนินงาน ศักยภาพในการผลิตผลผลิต ศักยภาพในการตอบสนองต่อชุมชน ท้องถิ่นและสังคม ศักยภาพในการสนับสนุนตนเอง ความถนัดขององค์กร ระดับในการตอบสนองต่อเศรษฐกิจและสังคม ความสามารถเชื่อมโยงผลผลิตสู่ตลาดแรงงาน กลุ่มผู้สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือ ทั้งนี้ เพื่อนำไปสู่การกำหนดทิศทางองค์กรตามศักยภาพดังกล่าว
4. การกำหนดทิศทางองค์กรเช่น ภารกิจได้แก่ ผลผลิตซึ่งหมายถึงนักศึกษา ผลงานวิชาการเช่น งานวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอันเป็นส่วนของการบริการ ซึ่งมหาวิทยาลัยทั้งสี่แห่งได้นิยามผล ผลิตที่มีคุณภาพดังนี้คือ มีจริยธรรม คุณธรรม มีความรู้ตามหลักสูตร สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองทำให้เกิดการพัฒนาตนเองได้ตลอดชีวิต และสร้างความ เจริญเติบโตให้กับตนเอง ตลอดจนสร้างประโยชน์ในงานบริการและการสร้างสรรค์งานวิชาการแก่สังคมเช่น งานวิจัยเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อตอบสนองความ ต้องการแก่สังคม ชุมชน รวมทั้งการตอบสนองแนว นโยบายของรัฐทั้งในระดับชุมชน ท้องถิ่น ภูมิภาคและระดับชาติ มีการกำหนดเทคโนโลยีที่ใช้ในการดำเนินงานเช่น การจัดรูปแบบการบริหารจัดการ กระบวนการบริหารองค์กร การบริหารหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร การกำหนดมาตรฐานการเรียนการสอน การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในกระบวนการบริหารการศึกษา การเชื่อมโยงระบบสารสนเทศเป็นต้น มีการกำหนดเป้าประสงค์เช่น การกำหนดเป้าประสงค์ทางการเงิน ซึ่งต้องการความคล่องตัวและก่อให้เกิดปัญหาน้อยที่สุด โดยใช้หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล หลักความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ใช้หลักรวมบริการประสานภารกิจหรือการบริการรวมศูนย์ กระจายการบริหารและ/หรือรวมบริการใช้ทรัพยากรร่วมกัน มีการเปลี่ยนแปลงเป้าประสงค์ต่อกระบวนการบริหารการศึกษาตลอดเวลา เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาตามกระบวนการประกันคุณภาพ มีการกำหนดแผนการบริการวิชาการ แผนบริหารการศึกษา มีปรัชญาหรือแนวความคิดพื้นฐาน ที่พิจารณาถึงการสนองตอบต่อการพัฒนาในระดับมหภาค มากกว่าระดับชุมชนและท้องถิ่นโดยคำนึงถึงการแข่งขัน ความเป็นเลิศด้านวิชาการ ทั้งนี้ เพื่อความสามารถสนองตอบความพึงพอใจของตลาดแรงงาน โดยเน้นภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยที่สร้างสรรค์งานด้านเทคโนโลยี วิชาการและการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำ
5. การกำหนดกลยุทธ์ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันกล่าวคือ ประการแรก กลยุทธ์ระดับองค์กรมหาวิทยาลัยทั้งสี่แห่ง มีความถนัดด้านการวิทยา ศาสตร์และการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ รวมทั้งความ ถนัดในเชิงอนุรักษ์สภาพแวดล้อม วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นตามสภาพที่ตั้งของตน ทั้งนี้ มีการพัฒนาแบบต่อเนื่องหลากหลาย ค่อยเป็นค่อยไปอย่างมีเสถียรภาพ ประการที่สอง กลยุทธ์ด้านโครงสร้างทางการแข่งขัน เน้นการผลิตผลผลิตให้มีคุณภาพด้านจริยธรรมและการพัฒนาตนเองให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม พื้นฐานของทรัพยากรคนที่เข้าสู่กระบวนการผลิต จะไม่สามารถแข่งขันด้านคุณภาพกับมหาวิทยาลัยอื่นๆได้ แต่กระนั้นได้มีความพยายามในการสร้างผลผลิตด้านบริการให้ทัดเทียมกับคู่แข่งขันอื่นๆ ซึ่งได้แก่ การวิจัย การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วย งาน ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ ศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ การจัดตั้งศูนย์การพัฒนาเทคโนโลยีเช่น เทคโนธานีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพื่อตอบสนองสังคมและเพื่อการแข่งขัน ประการที่สาม กลยุทธ์ระดับกิจกรรม เน้นการพัฒนางาน การเพิ่มศักยภาพของบุคลากร ให้ความสำคัญต่อแรงจูงใจเพื่อให้เกิดความมุ่งมั่นในการทำงานและให้ความ สำคัญต่อการสร้างและพัฒนาผู้บริหารระดับสูง การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน วิธีการสอน สื่อเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนการสอนที่มีเนื้อหาพื้น ฐานด้านเทคโนโลยี มีการกำหนดระเบียบและแนวทางการปฏิบัติจากกรอบที่กำหนดโดยแนวนโยบายของรัฐ และจากกรอบพื้นฐานการบริหารโดยไม่ยึดติดระเบียบและรายละเอียดที่ไม่จำเป็น และปรับปรุงจากพื้นฐานการบริหารงานร่วมกัน ประการที่สี่ การปฏิบัติงานและการบริหารการเงิน ได้กำหนดกลยุทธ์ทางการเงินและการปฏิบัติการด้วยวิธีการควบคุมการใช้จ่าย เน้นการบริการรวมศูนย์ ประสาน/แยกภารกิจ/ แยกการบริหาร ทั้งนี้ ให้สามารถตรวจสอบได้และมีความโปร่งใส ด้านการเงินและงบประมาณจะมีลักษณะบางประการที่ต้องคำนึงคือ ข้อจำกัดของงบประมาณจากรัฐและรายได้ของตนเองที่ต้องเพียงพอ ประการที่ห้า กลยุทธ์ด้านการประชาสัมพันธ์ ใช้วิธีการตอบรับจากสังคม ชุมชน การทำงานร่วมกับชุมชน สังคมและการจ้างบริษัทเอกชนเข้ามาดำเนิน งานด้านประชาสัมพันธ์
6. การปฏิบัติตามกลยุทธ์ มีลักษณะต่างๆคือ
ประการแรก การจัดโครงสร้างองค์กรตามกลยุทธ์ของ
สถาบันอุดมศึกษากล่าวคือ มีรูปแบบในกำกับของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ มีโครงสร้างในแนวดิ่งและแนว ราบ โดยมีองค์กรสูงสุดได้แก่ สภามหาวิทยาลัย มีอำนาจในการตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายต่างๆ ซึ่งอาจมีคณะที่ปรึกษาเป็นหน่วยงานอิสระเน้นระเบียบปฏิบัติที่เอื้อต่อการปฏิบัติงานของบุคลากร การตอบสนองสาธารณะ และการตรวจสอบจากสังคม ประการที่สอง กลไกด้านวัฒนธรรม เน้นการสร้างค่านิยมในการพัฒนางาน การสร้างค่านิยมต่อลักษณะความท้าทายในงานที่ทำ ระบบสวัสดิการ ความสะดวก ความมั่นคง แต่โดยส่วนใหญ่ไม่มีแผนพัฒนาบุคลากรที่เป็นระบบและระยะยาว อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยทั้งสี่แห่ง เน้นการคัดเลือกบุคลากรที่มีศักยภาพสูงเข้าสู่องค์กร เพื่อง่ายต่อการพัฒนา ทั้งนี้ เน้นการพัฒนาไปสู่ผู้บริหารระดับสูง มีการพิจารณาด้านความขัดแย้งโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ให้ความสำคัญต่อปัญหาดังกล่าวมาก ประการที่สาม การอำนวยการหรือการใช้ภาวะผู้นำ คำนึงถึงการพัฒนาระบบงานให้เหมาะสม ใช้ระบบดึงดูดผู้มีความรู้ความสามารถ ระบบการแข่งขันกับตลาดแรงงาน มีคณะกรรมการบริหารงานบุคคลและเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร
7. มหาวิทยาลัยทั้งสี่แห่งมีลักษณะการควบ คุมเป็นแบบทั่วทั้งระบบ (TQM) โดยใช้ระบบประกันคุณภาพ (QA)ในระดับบุคคล มีการประเมินสัมฤทธิ ผลของงานในระดับองค์กรหรือหน่วยงาน และมีการประเมินเป้าหมายโดยรวมในระดับสถาบัน นอกจาก นั้น มีการกำหนดรูปแบบมาตรฐานผลผลิตบนพื้นฐานความพอใจของผู้เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ มีเกณฑ์การชี้วัดเป็นความต้องการโดยรวมเอาลักษณะต่างๆของการควบ คุมโดยกำหนดตัวชี้วัดทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณได้แก่ ตัวชี้วัดมาตรฐานผลผลิต มาตรฐานการสร้าง สรรค์ประโยชน์แก่สังคม มาตรฐานความสามารถด้านสติปัญญา การกำหนดมาตรฐานความมีคุณภาพด้านจริยธรรมและคุณธรรม ประการที่สอง กลไกด้านมาตรฐานการบริหารได้แก่ มาตรฐานการวางแผน ความชัดเจนในการกำหนดเป้าหมายและเน้นคุณภาพ กลไกในการกำหนดแผนและการดำเนินการให้เกิดการมีส่วนร่วม การกำหนดมาตรฐานการจัดระบบงานที่ชัดเจน การกำหนดมาตรฐานในการจัดระบบสาร สนเทศ มาตรฐานในการสนับสนุนส่งเสริมกลไกมาตรฐานในการพัฒนาการทำงานเป็นทีม กลไกในการกำหนดมาตรฐานการจัดสวัสดิการ ประการที่สาม การกำหนดกลไกด้านมาตรฐานการบริหารเช่น มาตรฐานวิธีสอน เทคโนโลยี การปรับเปลี่ยนทัศนคติ วิธีการเพิ่มความสนใจ วิธีการเพิ่มทักษะการคิด การถ่ายทอดความรู้ การส่งเสริมความเข้าใจ ฯลฯ
แนวคิดการบริหารที่อนุมานจากการปฏิบัติใช้ในมหาวิทยาลัยทั้งสี่แห่ง สอดคล้องกับหลักการพื้นฐานการบริหารการศึกษาของเนล จอห์นสันที่เสนอหลักการ ซึ่งก่อให้เกิดผลผลิตที่สามารถเชื่อมโยงสู่ท้องถิ่นและชุมชน อันเป็นหลักการที่กำหนดองค์ ประกอบของระบบการศึกษาที่ผสมผสานการพิจารณาความแตกต่างของความต้องการทั้งของสถาบันและชุมชน รวมทั้งพิจารณาเพื่อการผสานความต้องการและบทบาทในการสนับสนุนเข้าไว้ด้วยกัน
นอกจากนั้น แนวคิดในการกำหนดกลยุทธ์การบริหารการศึกษาแบบผสมผสานของลูเหลิงและออนโค ได้กล่าวถึงการนำแนวความคิดในการบริหารการศึกษา ที่มีลักษณะของการพัฒนาหน้าที่เชิงคุณภาพ(QFD; Quality Function Deployment) อันเป็นกระ บวน การที่ใช้ในการบริหารอุตสาหกรรมมาเชื่อมต่อแนว ความคิดในการบริหารเชิงคุณภาพ เพื่อความเป็นเสิศในการแข่งขันทางการศึกษาระดับนานาชาติ (MBN- QAEC ; Malcolm Baldrige National Guality Award in Education Critereria for Performance Excellence ) ซึ่งสามารถนำมาสร้างเป็นกรอบในการกำหนดกลยุทธ์ (SF; Strategy Formulation Framework) ให้มีความสอด คล้องต่อลักษณะการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่ได้จากการศึกษาแนวทางการปฏิบัติของสถาบันการศึกษาอุดมศึกษาทั้งสี่แห่งได้
หลักการพื้นฐานของการสร้างกรอบการกำหนดกลยุทธ์คือ การวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของการบริหารการศึกษา (SWOT Analysis) ให้ได้ตารางการวิเคราะห์ (SWOT Matrix) แล้วเชื่อมไปสู่การแปลงภารกิจและกลยุทธ์ขององค์กรให้สามารถทำความเข้าใจได้ตรงกัน เพื่อการกำหนดมาตรวัดการดำเนิน งานและการจัดทำกรอบการดำเนินงานรวมทั้งกรอบการวัดมาตรฐานกลยุทธ์และการจัดการหรือที่เรียกว่า “บาลานซ์สกอร์การ์ด” (Balance Score Card; BSC) แล้วจึงสร้างตัวชี้วัดการดำเนินงาน(Key Performance Indi cator; KPI) ของบาลานซ์สกอร์ 4 ประการคือ ประการแรก ตัวชี้วัดเป้าหมายทางการเงินโดยพิจารณาผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน ประการที่สอง ตัวชี้วัดกระบวนการภายในโดยพิจารณากระบวนการดำเนินการภายในด้านกระบวนการและระบบงานที่ต้องการ ประการที่สาม ตัวชี้วัดเป้าหมายการเรียนรู้และการเจริญเติบโต พิจารณาถึงการเรียนรู้เพื่อการปรับปรุงตนเองของบุคลากร ประการที่สี่ เป้าหมายผลผลิต พิจารณาถึงผู้บริโภค ตลาดแรงงานและผู้เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ การพิจารณาดังกล่าว จะต้องตอบประเด็นคำถามที่ว่า “จะต้องทำอย่างไรจึงสามารถไปสู่เป้าประสงค์ทั้งสี่ประการได้”
แนวคิดด้านการดำเนินงานขององค์กรเพื่อความเป็นเลิศ จะพิจารณาด้านต่างๆคือ ประการแรก ภาวะผู้นำโดยพิจารณาถึงระบบภาวะผู้นำ การตอบ สนองต่อสาธารณะและชุมชน ประการที่สอง การวางแผนกลยุทธ์ พิจารณาถึงการพัฒนากระบวน การวางแผนและแนวทางกลยุทธ์ ประการที่สาม พิจารณานักศึกษาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความรู้ความสามารถตามหลักสูตรของนักศึกษา ความคาดหวังของนักศึกษาและความพึงพอใจทั้งของนักศึกษาและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ประการที่สี่ สารสนเทศและการวิเคราะห์สารสนเทศ พิจารณาถึง การเลือกใช้ข่าวสารข้อมูลและ การเปรียบเทียบข่าวสารที่เป็นประโยชน์เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ ตลอดจน การวิเคราะห์ทบทวนแนวทางการปฏิบัติงาน ประการที่ห้า บุคลากร พิจารณาระบบการทำงาน การพัฒนาและเงื่อนไขความพึงพอใจ ประการที่หก กระบวนการจัดการที่สนับสนุนการศึกษา พิจารณาด้านการจัดทำหลักสูตรและกระบวนการสนับสนุนการศึกษา ประการที่เจ็ด แนวทางการดำเนินงาน พิจารณาผลผลิตที่ได้จากกระบวนการดำเนินงานได้แก่ นักศึกษา ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและความพึงพอใจ ตลอดจนผลที่เกิดขึ้นแก่บุคลากรขององค์กรและผลลัพธ์อื่นๆ
นอกจากแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ดังกล่าว แนวความคิดที่สามารถนำมาปรับใช้กับแนวทางดังกล่าวให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยสามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการกำหนดเป็นกลยุทธ์ในการบริหารคือ แนวคิดของจอห์นเอฟ เวลชและสัคเช่นดิว และแนวความคิดที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ทางการบริหารในปัจจุบันเรียกว่า แนวความคิด ซิก ซิกม่า (6s) มีหลักการพื้นฐานที่สำคัญคือ การทำให้ค่าความผิด พลาดในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับร้อยละ 99. 99985 หรือมีข้อผิดพลาดร้อยละ 3.4 จากโอกาสที่จะผิดพลาดในล้านส่วน(พัฒนามาจากแนวความคิด 3 s ที่มีค่าความผิดพลาดร้อยละ 95.0) แนวความคิดดังกล่าว ได้ถูกนำมาปรับใช้ในสถาบันการศึกษาทั้งระดับมัธยมและอุดมศึกษาในต่างประเทศเช่น การวัดมาตรฐานกระบวนการการศึกษาของนักเรียน นักศึกษาและการ การปรับปรุงด้านการบริการของสถานศึกษา ด้วยวิธี การเก็บรวบรวมข้อมูลการทำงานและการวิเคราะห์ทางสถิติ
ทั้งนี้ พื้นฐานแนวความคิดดังกล่าวเชื่อว่า กลยุทธ์การบริหารซิก ซิกม่า ต้องเป็นแบบทะลุละลวงไม่ใช่ค่อยเป็นค่อยไป จึงจำเป็นต้องอาศัยผู้ชำนาญและผู้ที่มีความสามารถวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ ประการสำคัญ การบริหารซิก ซิกม่า เน้นความสำคัญด้านคุณภาพทางความคิด กระบวนการคิดที่จำเป็น ต้องมีในทุกระดับขององค์กรและในทุกๆส่วนของการปฏิบัติงาน องค์ประกอบสำคัญด้านคุณภาพของแนวความคิดดังกล่าวประกอบด้วย ประการแรก ความพึงพอใจของผู้บริโภคและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งมีความคาดหวังในคุณภาพการดำเนินงาน คุณภาพการบริการ คุณภาพการศึกษาของผลผลิตหรือนักศึกษา ประการที่สอง นัยด้านคุณภาพและภาพลักษณ์ภายนอกหรือในสายตาของผู้บริโภคอันได้แก่ ตลาด แรงงาน ชุมชน ท้องถิ่น สังคม ประการที่สาม ข้อผูก มัดหรือพันธะผูกพันของผู้บริหารที่ต้องการให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพขึ้นภายในองค์กรและต้องคำนึงถึงการทำงานเป็นทีม รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรให้มีความสามารถในการปฏิบัติงานภายใต้การบริหารซิก ซิกม่า
การบริหารซิก ซิกม่า จึงเน้นลักษณะการบริหารที่สำคัญหลายประการคือ ประการแรก การ บูรณาการขององค์กรหมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ประการที่สอง การเปลี่ยนแปลง หมายถึงการที่บุคลากรต้องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงตนเองอยู่เสมอ ประการที่สาม เน้นความพึงพอใจของผู้บริโภคเป็นสำคัญ ประการที่สี่ เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ตัดทอนระเบียบกฎเกณฑ์ที่ไม่จำเป็นเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน ประการที่ห้า เน้นภาวะผู้นำของผู้บริหารและความสามารถในการบริหารทีมงาน ประการที่หก เน้นการฝึกอบรมและการพัฒนาทักษะการบริหารซิก ซิกม่า แก่บุคลากรทุกฝ่ายและทุกคนในองค์กร ประการที่เจ็ด เน้นการใช้ประโยชน์จากความ สัมพันธ์ไม่เป็นทางการภายในองค์กรให้เป็นประโยชน์ และประการที่แปด เน้นองค์กรการเรียนรู้
3. สรุปและข้อเสนอแนะ
แนวความคิดที่ได้จากการอภิปรายข้างต้น เป็นแนวคิดในการกำหนดกรอบกลยุทธ์แบบผสมผสานซึ่งบอกถึงทิศทางของความสัมพันธ์ทางการบริหารในการบริหารงานอุดมศึกษา อย่างไรก็ตาม การบริหารดังกล่าว ยังมีจุดอ่อนหลายประการ กล่าวคือ
1. การเกิดปัญหาการทดแทนแรงงานซึ่งหากเกิดความขาดแคลนบุคลากรที่มีศักยภาพโดยเฉพาะด้านจริยธรรมและคุณธรรม อาจจะทำให้เกิดความล้มเหลวในการบริหารตามกลยุทธ์ดังกล่าว
2. สภาวะความขัดแย้งและความแตกต่างภายในองค์กรโดยเฉพาะสถาบันการศึกษาที่เป็นส่วนราชการเดิม แล้วออกจากระบบราชการ จะมีสภาพความขัดแย้งและความแตกต่างสูง สภาวะดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อการบริหารตามกลยุทธ์ที่นำเสนอ ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ค่านิยมและการสร้างบูรณาการทางวัฒนธรรมให้เกิดขึ้น จึงมีความสำคัญเป็น ลำดับแรก
3. ปัจจัยสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการกำหนดทิศทางและภารกิจขององค์กรคือ ระบบการบริหาร งานบุคคลและการพัฒนาระบบการทำงานที่มีการควบคุมเคร่งครัด มีระเบียบและขั้นตอนการปฏิบัติซับซ้อนทำให้ขาดความชัดเจนของโครงสร้างการบริหาร ขาดความคล่องตัวและขาดพลังในการปฏิบัติ งาน ปัจจัยรองคือ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ซึ่งเกิดจากสัดส่วนและรูปแบบการตัดสินใจที่มีลักษณะการตัด สินใจจากเบื้องบน จะไม่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมอันเป็นลักษณะที่มีความสำคัญต่อการบริหารตามแนวคิดดังกล่าว
4. การให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเงื่อนไขความพึงพอใจในการทำงานและการพัฒนาระบบการทำงานเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจาก อาจจะมีผลต่อการปฏิบัติตามกลยุทธ์ข้างต้น
5. ควรมีการศึกษาและค้นหารายละเอียดในขั้นตอนต่างๆของการนำแนวคิดดังกล่าว มาปฏิบัติใช้จากประสบการณ์ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการกำหนดกรอบที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม แนวความคิดที่น่าสนใจต่อกระบวนการบริหารการศึกษาอุดมศึกษาตามข้อเสนอ แนะของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์คือ แนวความคิดที่ให้ความสำคัญต่อการตัดรายละเอียดที่ไม่จำเป็นและถือว่าสร้างภาระงานที่ไม่จำเป็นให้แก่ผู้ปฏิบัติงานโดยมีการพัฒนางานจากพื้นฐานการปฏิบัติงานร่วมกัน แนวคิดดังกล่าว สะท้อนถึงความเชื่อพื้นฐานในการก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการบริหารงานของผู้ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี ประการสำคัญ การชี้วัดความผิดพลาดตามหลักเกณฑ์ ซิก ซิกม่าขึ้นอยู่กับขีดความสามารถและศักยภาพขององค์กร รวมทั้งการวิเคราะห์ระดับหรือตำแหน่งขององค์กร เนื่องจากหลักเกณฑ์ดังกล่าว ไม่ได้บังคับให้ต้องมีขั้นตอนตายตัวเสมอไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการนำขั้นตอนต่างๆมาประยุกต์ และขึ้นอยู่กับสถานการณ์ตลอดจนหน้าที่และความถนัดขององค์กร ดังนั้น การประยุกต์ขั้น ตอนที่ใช้ในการควบคุมที่เหมาะสม และก่อให้เกิดสภาพความเป็นไปได้สูง ต้องคำนึงถึงลักษณะเกณฑ์การชี้วัดที่สามารถกระทำได้ภายใต้สภาพแวดล้อมและภายใต้ศักยภาพที่มีอยู่ เนื่องจาก การบริหารการศึกษาเป็นกระบวนการผลิตคนให้มีคุณภาพ มีความคิดสร้างสรรค์แก่สังคม ผลิตงานวิชาการ ผลิตเทคโนโลยีและบริการสังคม ไม่ใช่การผลิตสินค้าที่มีสายการผลิตเหมือนกับโรงงานอุตสาหกรรม
4. เอกสารอ้างอิง
ภาษาไทย
ประสบการณ์ของพระจอมเกล้าธนบุรี. เอกสารประกอบการอภิปราย
โครงการสัมมนาวิชาการ”มหาวิทยา ลัยในกำกับของรัฐ”คณะครุศาสตร์อุตสาห กรรม
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง 30 สิงหาคม 2545. กรุงเทพฯ.
กระทรวงศึกษาธิการ.(2544). เปิดประตูสู่ PBB.ศูนย์์ ประสานงานระบบการบริหารงบประมาณแบบ
มุ่งเน้นผลงาน(PBB).กรมสามัญศึกษา[Online].HTTP:htpp//www.Use.School. net.
th/apichart/openPBB.PPT/Google.com.
รายงานประจำปี ๒๕๔๓.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.(2543).การปฏิรูปอุดมศึกษา
ของประเทศอังกฤษ. สำนักนายกรัฐมนตรี.กรุเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติงแอนด์พับลิชซิงจ
จำกัด.
ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์,2546,การศึกษาเพื่อพัฒนาตัวแบบกระบวนการบริหาร มหาวิทยาลัยใต้การกำกับของรัฐ,สถาบันราชภัฏสวนดุสิต กรุงเทพฯ.
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้า(2546). คู่มือการทำงานประจำปี 2546. ส่วนนโยบายและแผน. เชียงราย.
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(2545).ประวัติความเป็นมาและรายงานประจำปี [Online].HTTP: htpp//www.www.sut.ac.th/indexth.html.
เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย[Online]. HTTP:http:// www.kmutt.ac.th/tindex.html.
ภาษาอังกฤษ Adam Associates(2003). The Roarmap toCustomer Impact 6.[OnLine].HTTP: http//
www.Adamssixgma.com/newletters/strategy_vision_.htm. in education [Online]10(1) pp. 17 – 25.
John F. Welsh, Sukhen Dey.(2002). Qulity assurance
HTTP: http//www. Arc.dusit.ac.th/ databases/ clorinda.emeraldsinght.com/html.
Terry Lane.(1995). Patterns of thinking in
education administration. Journal of Education Administration [Online], 33(1)
pp. 63 – 78. HTTP: http//www. arc.dusit .
ac.th/databases/clorinda.emeraldsinght.com/html.
pp. 63 – 78. HTTP: http//www. arc.dusit .
ac.th/databases/clorinda.emeraldsinght.com/html.
Yin Cheoong Cheng, Waiming Tam.(1997). Multi –
Models of Qulity in aducation. Quality Assurance in Education [Online], 5(1)
pp. 22 – 31.HTTP: http//www. arc. dusit .ac. th/
databases/Info/clorinda. emerald singht.com/html pp. 22 – 31.HTTP: http//www. arc. dusit .ac. th/
Yin Cheong Cheng.(1994). Effectiveness of
curriculum change in school and
organizational perspective. International
Journal of Education Management
[Online],08(3) pp. 26 – 34. Available
HTTP: http//www. Arc.dusit .ac. th/ databases/clorinda.emeraldsinght.com/html.