การศึกษาแบบมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม

นักศึกษา ชั้นปีที่ 3 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา2554

ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์


1บทนำ
1. 1 ความสำคัญของปัญหา
            จากการศึกษาถึงทัศนะของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ที่มีต่อการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 2/2553 (ศุภวัฒน์, 2554) พบว่านักศึกษามีทัศนะค่อนข้างดีต่อ การจัดการเรียนการสอนแต่มีจำนวนหนึ่งที่ยังคงเห็นว่าการศึกษาหรือการเรียนการสอนเป็นหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบเพื่อให้จบจากหลักสูตรเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะที่ได้ คือรูปแบบกระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลายคือสิ่งนักศึกษาต้องการ
                ในภาคการศึกษาที่1/2554 ผู้สอนจึงได้ปรับรูปแบบการเรียนการสอนที่สอดแทรกกิจกรรมการเรียนการเรียนการสอนแบบนักศึกษามีส่วนร่วม (Participatory Learning Process: PLP) ในการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการเรียนการสอนสอดแทรกเข้าไปเพื่อกระตุ้นให้เกิดความกระตือรือร้นและเกิดความสนใจในการเข้าไปมีส่วนร่ว,ต่อกระบวนการเรียนการสอนดังกล่าว นอกจากนั้น ยังได้เปิดบล็อกเว็บไซด์ (www. rotoratuk.blogspot.com; เจ้าของเวบไซด์, ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์) เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าไปค้นคว้าเพิ่มเติมแสดงความคิดเห็นตลอดจนให้คำปรึกษา ทั้งนี้ผู้สอนได้บรรจุเนื้อหาวิชา บทความที่ได้เขียนขึ้น เพื่อให้เกิดความหลากหลายและช่วยให้การเรียนการสอนมีความหลากหลาย  
กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เป็นกระบวนการที่กำลังได้รับความนิยมจากหน่วยงานต่างโดยเฉพาะบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ภาคสาธารณะและประชาชนทั่วไป
โดยที่กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมีวิธีการที่หลากหลายซึ่งสามารถนำมาใช้ในวัตถุประสงค์ที่ต่างกันเช่น  การฝึกอบรมบุคลากร การเรียนการสอนในโรงเรียน การศึกษาในชั้นเรียนระดับปริญญาตรีและสูงกว่า การพัฒนาชุมชนเพื่อขจัดปัญหาความยากจนในประเทศต่างๆ ซึ่งมุ่งให้ผู้ที่เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสามารถสร้างทักษะในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการสร้างทักษะในเชิงวิชาชีพ การดำเนินอาชีพ ความคิดริเริ่มและการแสวงหาความรู้ด้วยตัวเองตลอดชีวิต 
ในกระบวนการเรียนการสอนไม่เน้นการบรรยายของอาจารย์ผู้สอนหรือวิทยากรแต่เป็น กระบวนการที่ผู้บรรยายทำตัวเป็นที่ปรึกษา ผู้จัดการ ผู้ประสานและผู้ที่กระตุ้นให้เกิดความคิดริเริ่มสร้าง สรรค์โดยการสร้างบรรยากาศในการจัดการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการทำกิจกรรมของนักศึกษาและเน้น การสื่อสารแบบแนวราบ ผู้บรรยายจะแสดงบทบาทเป็นผู้เรียนรู้ไปพร้อมๆกับนักศึกษานอกเหนือ จากการทำตัวเป็นผู้ให้ความรู้และผู้ประเมิน
ทั้งนี้ จะเน้นกระบวนการกลุ่มการเรียนรู้จากประสบการณ์เป็นหลักซึ่งทำให้เกิดความสอดคล้องเพื่อ ให้เกิดการมีส่วนร่วมมากที่สุดและเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ของกระบวนการทำกิจกรรมการเรียนการสอน รวมถึงการบรรลุเป้าประสงค์ของวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนการสอนที่ได้ออกแบบมาเพื่อการศึกษานี้
1.2 วัตถุประสงค์ในการวิจัย
1.2.1 เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนสอนด้วยวิธีการเรียนรู้จากการมีส่วนร่วมของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา การพัฒนาการบริหารการพัฒนา (B1) และรายวิชา หลักสังคมวิทยากลุ่ม (C1) ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554
1.2.2 เพื่อศึกษาผลของการนำกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมาใช้ในการเรียนการสอน
1.2.3 เพื่อศึกษาทัศนคติของนักศึกษาที่ผ่านการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม
1.3 ขอบเขตการวิจัย
                การวิจัยครั้งนี้เป็นการประยุกต์รูปแบบบางส่วนของวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Rerearch, PAR) มาใช้ในกระบวนการศึกษา โดยมีขอบเขตการวิจัยดังนี้
1.3.1 ประชากรที่ศึกษา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการพัฒนาการบริหารการพัฒนากลุ่ม B1และรายวิชา หลักสังคมวิทยากลุ่ม C1 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 75 คน
1.3.2 การวิจัยจะเป็นการวิจัยจากกระบวนการกลุ่ม การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางต่างๆวิชาการ ตามเนื้อหารายวิชาการบริหารการพัฒนาและเนื้อหาวิชาหลักสังคมวิทยา ภายใต้รูปแบบการเรียนการสอนที่มีการออกแบบเพื่อใช้ในกระบวนการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning Process: PLP) และการประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนดังกล่าว ทั้งก่อนใช้กระบวนการและหลังใช้ กระบวนการดังกล่าว 
1.3.3 ระยะเวลาในการศึกษา มิถุนายน กันยายน 2554
1.4 กรอบแนวคิดในการวิจัย 
การศึกษานี้ได้ อาศัยกรอบแนวคิดทฤษฎี การเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม(Participatory Learning Process: PLP) ซึ่งได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยเฉพาะการใช้กระบวน การดังกล่าวในการพัฒนาทรัพยากรบุคลลทั้งภาครัฐ ภาคสาธารณะ(ประชาชน) ภาคเอกชน รวมถึงกระบวน การเรียนการสอนในชั้นเรียนของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ได้มีการนำมาประยุกต์ใช้ โดยมีการออกแบบกระบวน การเรียนการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับการศึกษาดังกล่าว  
การศึกษาได้นำโปรแกรมประยุกต์ Mind Genius มาออกแบบกระบวนการเรียนการสอนแบบมีส่วน
ร่วมเพื่อนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและเพื่อการศึกษาถึงผลการนำรูปแบบของกระบวน การดังกล่าวมาปฏิบัติด้วยวิธีการประเมินผลการเรียนการสอนทั้งก่อนและหลังการนำกระบวนการดังกล่าว 
 
1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                1.5.1 การศึกษาสามารถพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อก่อให้เกิดคุณภาพการศึกษาและสามารถตอบสนองความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการศึกษา
                1.5.2 ปลูกฝังให้เกิดค่านิยมการเรียนรู้ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเรียนรู้จากการปฏิบัติ และเพื่อให้เกิดพัฒนาการของการนำประสบการณ์ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและการศึกษาในระดับสูงต่อไป
                1.5.3 การศึกษาจะนำไปสู่การค้นพบอุปสรรคปัญหาที่อาจเกิดขึ้นอันเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การค้นหา เทคนิควิธีการใหม่ๆเพื่อนำมาใช้ในการเรียนการสอน

1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ

การศึกษาแบบมีส่วนร่วม   หมายถึง               การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเป็นการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาทั้งองค์
ความรู้ ทัศนคติ ทักษะ และพฤติกรรมของผู้เรียนได้สูงสุด
รูปแบบการเรียนการสอน  หมายถึง               รูปแบบการเรียนการสอนที่มีการออกแบบเพื่อใช้ในกระบวน
การเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning Process:  PLP)
การเรียนรู้                             หมายถึง               กาปรับเปลี่ยนทัศนคติแนวคิด และพฤติกรรม อันมาจากการได้
รับประสบการณ์ซึ่งเป็นไปในทางที่ดีขึ้น



 2. แนวคิดทฤษฎี

2.1 แนวคิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
                การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่จัดอยู่ในประเภทที่ 2 (ตามการแบ่งประเภทของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ , ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง) โดยเชื่อกันว่า การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเป็นการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาทั้งองค์ความรู้ ทัศนคติ ทักษะ และพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้เรียนได้สูงสุด เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ที่ดึงประสบการณ์ ศักยภาพของผู้เรียนออกมาใช้อย่างเต็มที่ (www. esanphc.net/rtc/link_pl.php, 2554)
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง (Active Participation Theory) กล่าวว่า ความสามารถ ในการเรียนรู้ขึ้นอยู่กับความอยากจะเรียนรู้และการมีส่วนร่วม ถ้ามีความอยากเรียนรู้และอยากมีส่วนร่วมมาก ความสามารถในการเรียนรู้ก็จะมีมากขึ้น
                สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ปี 2542 ได้ให้ความหมายการเรียนรู้คือ กาปรับ เปลี่ยนทัศนคติ แนวคิดและพฤติกรรม อันมาจากการได้รับประสบการณ์ซึ่งควรเป็นการปรับเปลี่ยนในทางที่ดีขึ้น กระบวนการเรียนรู้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
ประเภทที่ 1 เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์โดยผู้สอนหรือวิทยากรเป็นหลัก ผู้เรียนเป็นเพียงผู้รับและเรียนรู้ตามที่ผู้สอนถ่ายทอดหรือจัดประสบการณ์ให้แบบนี้ ยึดผู้สอนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้
ประเภทที่ 2 เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสามารถสร้างความรู้ด้วยตัวของผู้เรียนเอง โดยอิงจากประสบการณ์เดิมและร่วมกันค้นหาหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ขึ้นมา ผู้สอนมีหน้าที่เป็นเพียงผู้เอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ แบบนี้ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
                การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม หรือการเรียนรู้ด้วยกระบวนการกลุ่ม (Group Process) เป็นหลักการพื้นฐานสำคัญประการหนึ่งของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม กล่าวคือ กระบวนการกลุ่มจะช่วยให้คนได้มีส่วนร่วมสูงสุดและทำให้บรรลุผลสำเร็จของงาน  
                การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและการปฏิบัติคือ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและการปฏิบัติ (Youthnet, 2003) เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม การมีส่วนร่วมเป็นสิ่งสำคัญในกระบวนการการ เรียนรู้แบบมีส่วนร่วมและการปฏิบัติ
                สำนักพัฒนาสุขภาพจิต(1998) ให้ความหมายของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) ไว้ว่า เป็นการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เกิดมาจากความเชื่อที่ว่า การเรียนรู้ของคนเราเป็นกระบวนการสร้างความรู้ด้วยตัวของผู้เรียนเอง โดยมีวิทยากรหรือผู้สอนจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เอื้ออำนวยให้เกิดการสร้างความรู้มากกว่าการถ่ายทอดความรู้จากวิทยากรสู่ผู้เรียนแต่เพียงอย่างเดียว ดังนั้นกระบวนการสร้างความรู้จึงต้องอ้างอิงจากประสบการณ์ของผู้เรียนเป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นฝ่ายกระทำอันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การเรียนรู้ใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง (พลวัตรของการเรียนรู้) การเรียนรู้ลักษณะนี้จึงย้ำถึงลักษณะทางสังคมของการเรียนรู้ที่เกิดจากปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองและระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ทำให้เกิดการขยายตัวของเครือข่ายความรู้ที่ทุกคนมีอยู่ออกไปอย่างกว้างขวาง โดยอาศัยการแสดงออกทางได้แก่ การพูดและการเขียนเป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยน การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้
Kolb (ออนไลน์,1994) กล่าวว่า การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย องค์ประกอบที่สำคัญ 4 องค์ประกอบ ในการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพได้แก่ ประสบการณ์ การสะท้อนความคิดและการถกเถียง ความเข้าใจ และความคิดรวบยอด และการประยุกต์แนวคิด  นักเรียนควรมีทักษะในการเรียนรู้ทั้ง 4 องค์ประกอบ แม้บางคนจะชอบ/ถนัด หรือมีบางองค์ประกอบมากกว่า เช่น เคยมีประสบการณ์จริง แต่ถ้าไม่ชอบแสดงความคิดเห็นหรือไม่นำประสบการณ์มาร่วมอภิปราย นักเรียนนั้นก็จะขาดการมีทักษะในองค์ประกอบอื่น ฉะนั้นนักเรียนจึงควรมีทิศทางการเรียนรู้ทุกด้าน และควรมีพัฒนาการการเรียนรู้ให้ครบทั้งวงจร หรือทั้ง 4 องค์ประกอบ
กรมวิชาการ (2546: 30; www.academictoyou.com) กำหนดองค์ประกอบที่สำคัญของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 4 ประการ คือ
1. ประสบการณ์ (Experience) วิทยากรช่วยให้ผู้เรียนนำประสบการณ์เดิมของตนมาพัฒนาเป็นองค์
 ความรู้
2. การสะท้อนความคิดและถกเถียง (Reflect and Discussion) เป็นขั้นตอนที่วิทยากรจะช่วยให้
ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงออกในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรียนรู้กันและกัน
3. เข้าใจและเกิดความคิดรวบยอด (Understanding and Conceptualization) เป็นขั้นตอนการสร้าง
ความเข้าใจเพื่อนำไปสู่การเกิดความคิดรวบยอด  อาจจะเกิดขึ้นโดยผู้เรียนเป็นฝ่ายริเริ่มและวิทยากรเป็นฝ่ายช่วยเติมแต่งให้สมบูรณ์
4. การทดลองหรือประยุกต์แนวคิด (Experience) คือการที่ให้ผู้เรียนได้มีโอกาสนำเอาการเรียนรู้ที่
เกิดขึ้นใหม่ไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ต่างๆ  จนเกิดเป็นแนวทางปฏิบัติของผู้เรียนเอง

ในบางขั้นตอนของกระบวนการศึกษา การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่นำเสนอโดย องค์กรอาหารและ การเกษตร (FAO, 1994) เพื่อใช้ในการพัฒนาชุมชนและแก้ไขปัญหายากจนของประเทศที่กำลังพัฒนา และด้อยพัฒนาสามารถนำมาเป็นแนวทางในการศึกษา การดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ มีส่วนร่วมในชั้นเรียน ได้แก่
1. การทำกิจกรรมประจำวันของผู้ที่เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Activity profile) 
                2. วิธีการกระตุ้นให้สมาชิกกลุ่มมีความริเริ่มสร้างสรรค์ (Approach members constructively)
                3. การสร้างทักษะใหม่ๆให้เกิดขึ้น (Assignments)
                วิธีการของการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมมีสามแนวทางด้วยกันได้แก่ 
1.             วิธีการวิเคราะห์ประเด็นปัญหา วิธีการทำงาน การแก้ไขปัญหาขัดแย้งและการคัดเลือก
โจทย์ปละประเด็นที่สนใจ
2.             การร่วมกันอภิปรายเพื่อขยายความ จัดลำดับความสำคัญของงาน  เนื้อเรื่องที่ต้องการเพื่อให้ได้
เนื้อหาของข้อมูลที่ต้องการให้มากที่สุด
3.             การให้รายละเอียดของประเด็นที่ต้องการโดยกระบวนการอภิปราย ซึ่งจะทำให้ได้รายละเอียด
ที่ต้องการรวมทั้งจะทำให้เกิดทักษะในการเรียนรู้โดยการแลกเปลี่ยนและการอภิปราย
ดังนั้นรูปแบบการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมจึงประกอบไปด้วย (ปรับปรุงจาก FAO ,1994.) ได้แก่
1. ข้อมูลการปฏิบัติกิจกรรมของกลุ่ม
   1.1  งานที่รับผิดชอบซึ่งได้รับมอบหมายจากกลุ่ม  
   1.2 การปฏิบัติงาน(อธิบายชิ้นงานที่ทำ รูปแบบ วิธีการทำงาน  การใช้ทรัพยากรเช่น เงิน วัสดุอุปกรณ์ ระยะเวลา)
   1.3 วิธีการประชุมและการมอบหมายงานของกลุ่ม
         1.3.1 ความสนใจในประเด็นที่ทำ
                       1.3.2 ข้อตกลงของกลุ่มในประเด็นข้างต้น
    1.4 หนังสือและเอกสารอ้างอิงที่ใช้
                       1.4.1 แนวคิดทฤษฎีที่นำมาใช้เป็นแนวทาง
    1.5 ข่ายแนวคิดของกลุ่มหลังจากการปรึกษาหารือภายในกลุ่ม
    1.6 ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเสนอของกลุ่ม
    1.7 ประโยชน์จากแลกเปลี่ยนความรู้กันภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม
    1.8 ข้อคิดเห็นต่อแนวคิดและประเด็นการนำเสนอของกลุ่มอื่นๆ
    1.9 บอกประโยชน์และความรู้สึกในการเรียนรู้จากประสบการณ์และการแลกเปลี่ยนรวมถึง
ข้อเสนอแนะ
                การกระทำดังกล่าวจะทำให้เกิดการเชื่อมต่อประเด็นความรู้ เนื่องจากการแลกเปลี่ยนไม่ได้กระทำ กันเพียงภายในกลุ่มแต่จะกระทำการผ่านกลุ่มอื่นๆที่อยู่ในกระบวนการเรียนรู้ด้วยวิธีการมีส่วนร่วม ทำให้เกิดเครื่อข่ายการสร้างประเด็นเนื้อหาของการเรียนการสอนให้เป็นเรื่องเดียวกันและการทำความเข้าใจต่อเนื้อหาแนวความคิดรวมทั้งการนำแนวคิดไปประยกต์ใช้ 
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่ม จะกระทำในลักษณะการแนะนำการตั้งประเด็นคำถาม ข้อตกลง หรือการแสดงความคิดที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย การสร้างความคิดใหม่ๆ การประเมินซึ่งกันและกัน การต่อรอง การวิพากษ์วิจารณ์ การกระตุ้นความสนใจในประเด็น เนื้อหาของการเรียนการสอน  ทั้งนี้ รูปแบบดังกล่าว ได้นำรูปแบบของ เครือข่ายการเรียนรู้ภายในและระหว่าง ซึ่งเกิดจากการทำงาน การค้นคว้า  การสร้างประเด็นปัญหา การสร้างข้อตกลงผ่านการแสดงความคิดเห็น การอภิปรายและการโต้แย้งแล้ว นำมาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันด้วยการนำเสนอแนวคิด และประเด็น ปัญหาภายใต้แนวคิด การเรียนรู้ แบบมีส่วนร่วม 
                นอกจากนั้นเครื่องมือบางประการที่สามารถนำมาใช้กับวิธีการการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมซี่งจะทำ ให้เกิดความยืดหยุ่น และทำให้กระบวนการมีความเป็นพลวัตร ได้แก่
                1. บทบาทที่นำไปสู่การเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจซึ่งอาจจะใช้การแสดงบทบาทของความเป็นผู้เชี่ยวชาญ
                2. การเขียน การใช้วิธีการสร้างกรอบคิดด้วยวิธีการสร้างเครือข่ายความคิด ผังความคิด การตั้งคำ ถามและการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
                โดยสรุป วิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามสถานการณ์และลักษณะ ของสภาพแวดล้อมที่นำไปใช้ กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning and Action;PLA)
เกิดจากการนำวิธีการศึกษาและวิธีวิจัยไปประยุกต์เพื่อการพัฒนาประเทศยากจน โดยพัฒนาการ จากการประเมินผลแบบมีส่วนร่วม (Participatory Rural Appraisal;PRA) ของโรเบิร์ต แชมเบอร์(1980) และได้รับการพัฒนาไปสู่การวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Participatory Action Research; PAR) ซึ่งได้ นำมาใช้กับวิธีการวางแผนการดำเนินการสังเกตและการประเมินผล (รวมถึงการประเมินตนเอง) และสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการวางแผนในรอบถัดไป (O'Brien, 2001; McNiff, 2002) การกระทำมีเป้าหมายอยู่ที่การตั้งประเด็นปัญหาที่ระบุในที่ทำงานเช่น การลดการไม่รู้หนังสือของนักเรียนที่ผ่านการใช้กลยุทธ์ใหม่ (Quigley, 2000) หรือการปรับปรุงการสื่อสารและประสิทธิภาพในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล เป็นต้น(Eisenberg, Baglia, Pyrnes, 2006) วิธีการดังกล่าวต่างใช้กระบวนการศึกษาด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบเดียวกัน โดยพัฒนาและปรับปรุงต่อยอดวิธีการให้สามารถใช้ได้กับการฝึกอบรมและการเรียนการสอนใน ชั้นเรียนรวมถึงในระดับอุดมศึกษาโดยประยุกต์ปรับเปลี่ยนให้มีรูปแบบที่สามารถใช้ประยุกต์ได้อย่าง เหมาะสม

3. วิธีการศึกษา
3.1 วิธีการศึกษา
วิธีการศึกษานี้ อาศัยรูปแบบของการวิจัยปฏิบัติการ( Participatory Research Action; PRA) ประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning and Action;PLA)
3.1.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ศึกษา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการพัฒนาการบริหารการพัฒนากลุ่ม B1และรายวิชา หลักสังคมวิทยากลุ่ม C1 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 75 คน
3.1.2 วิธีดำเนินการศึกษา
        1) การให้ความรู้ แนวคิดทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ทฤษฎี รวมทั้งกิจกรรม ตามที่ระบุในแผนการ
สอนปกติ  
                   2) การเพิ่มความสามารถ โดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมได้แก่ การวิเคราะห์ตนเอง การวิเคราะห์กลุ่ม การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ การไกล่เกลี่ยผลประโยชน์ด้าน การแบ่งงานและการให้คะแนนต่อกิจกรรมต่างๆตามหน้าที่ความรับผิดชอบ
   3) เก็บรวบรวมข้อมูลจากกิจกรรมการเรียนการสอนที่กำหนด โดยเริ่มบทการบรรยายเนื้อหา วิชาการให้ประเด็นชี้นำเพื่อการประยุกต์ การแบ่งกลุ่มนักศึกษาเป็นกลุ่มๆ ละ 5-6 คน เพื่อทำงานร่วมกัน นำเสนอกิจกรรมที่ให้ สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมของนักศึกษา บันทึกและวิเคราะห์ปัญหาสาเหตุ ข้อเสนอแนะ แนวทางแก้ไขปัญหา หลังจากนั้นจะทำการประเมินผล โดยใช้แบบการประเมินผลให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน (จากแบบประเมินพฤติกรรมและบันทึกผู้สอน) รวมทั้งประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้จากคะแนนกิจกรรม การสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษาโดยเปรียบ เทียบกับคะแนนที่ได้ก่อนการใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
3.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
                เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบจัดการเรียนรู้ที่ใช้เทคนิคการสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม  2) การประเมินผลการเรียนรู้ทั้งก่อนและหลังการใช้รูปแบบของกระบวนดังกล่าว  3) แบบบันทึกพฤติกรรมด้วยวิธีการสังเกต 4) แบบสอบถามทัศนะคติต่อวิธีใช้กระบวนการเรียน การสอนจากรูปแบบดังกล่าว   5) โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สำหรับสถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยค่าสูงสุด ค่าต่ำสุดร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) ตารางไขว้ (Cosstabulation) และ the square of  Eta (η2) ในการวิเคราะห์ผลกระทบต่อกลุ่มตัวอย่างโดย  η = t2/(t2 +df ) ซึ่งปัจจัยด้านเจตคติควรมากกว่าค่า  η2  ที่ 0.14 จึงจะถือว่า นักศึกษามีเจคติที่ดีและมีผลต่อขนาดของกลุ่มตัวอย่างในระดับกว้าง 6) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของการ แสดงทัศนะต่อรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมโดยสถิติ ANOVA  7 )โปรแกรม สำเร็จรูป Mind mapping Software เพื่อการออกแบบ แผนการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบการมีส่วนร่วม
3.3 การวิเคราะห์ข้อมูล
                ลักษณะข้อมูลการสังเกตพฤติกรรม บันทึกพฤติกรรมในการทำกิจกรรมร่วมกันและทัศนะเชิงสร้าง สรรค์จะกระทำโดยการบรรยายข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยสถิติ จะกระทำโดยการพรรณาซึ่งจะได้นำไปสู่การเชื่อมโยงเพื่อแปรผลข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ต่อไป 
                สำหรับ ค่าคะแนนของแบบประเมินทัศนคติ จะให้ค่าคะแนนตั้งแต่ระดับ 1-5 โดยระดับ คะแนนความเห็นแบ่งเป็น
                                น้อยมาก                                                เท่ากับ                                                    1 คะแนน
                                น้อย                                                        “      ”                                                    2 คะแนน
                                พอใช้                                                    “      ”                                                    3 คะแนน
                                มาก                                                        “      ”                                                    4 คะแนน
                                ดีมาก                                                      “      ”                                                    5 คะแนน
  

                ทั้งนี้ จะนำวิธีการให้ค่าคะแนนซึ่งเป็นดัชนีค่าเฉลี่ยหรือน้ำหนักถัวเฉลี่ย (Weighted Average Index; WAI) มาใช้เป็นเครื่องมือชี้วัดเพื่อให้ค่าน้ำหนักของคะแนนในการศึกษานี้
                -1                                                               0                                                                +1                     
          Very low              Low                             Moderate                    High                           Very High  
        (0.00-0.20)               (0.21-0.40)                (0.41-0.60)              (0.61-0.80)                      (0.81-1.00)
 ดัชนีค่าเฉลี่ย
ที่มา: A. Black and Dean J. Champion. 1976.


ข้อมูลการปฏิบัติกิจกรรมของกลุ่ม
ประเด็น
1.  งานที่รับผิดชอบซึ่งได้มอบหมายให้สมาชิกแต่ละคนภายในกลุ่มทำ   

การประชุมเพื่อมอบหมายงานให้สมาชิกกลุ่ม
1.             การค้นหาข้อมูลและการเรียบเรียงเนื้อหา
2.             การวิเคราะห์ทฤษฎีโดยนำมาเทียบเคียงกับกรณีศึกษา
3.             การตรวจทานเนื้อหา
4.             การจัทำสื่อเพื่อนำเสนองาน
5.             การนำเนื้องานมาช่วยกันวิเคราะห์และอภิปราย
6.              การจัดทำงานที่สมบูรณ์
2. การปฏิบัติงาน(อธิบายชิ้นงานที่ทำ รูปแบบ วิธีการทำงาน  การใช้ทรัพยากรเช่น เงิน วัสดุอุปกรณ์ ระยะเวลา)
1. สมาชิกกลุ่มค้นหาประเด็นที่ต้องการ
2. สรุประเด็นการประชุมกลุ่มย่อยและเนื้อหา
3. นำเสนออาจารย์ผู้สอนเพื่อปรึกษาและแก้ไขข้อบกพร่อง
4. การวิเคราะห์ทรัพยากร และการรวบรวมอุปกรณ์ที่มีอยู่และ 
    ต้องใช้เช่น โน๊ตบุค เงิน ระยะเวลา เป็นต้น
3. วิธีการประชุมและการมอบหมายงานของกลุ่ม
1. การประชุมตกลงในเงื่อนไขการทำงาน การอภิปรายประเด็นที่สนใจร่วมกัน
2. สรุปผลและประเมินข้อตกลง
3. จัดทำระบบการติดตามตรวจสอบผลงานของสมาชิกในกลุ่ม
4. จัดทำระบบการกลั่นกรองตรวจสอบผลงาน
5. ประเมินผลงานของกลุ่ม

บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

4.1 รูปแบบการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม
                แผนการเรียนการสอนปกติได้จัดทำตามแนวทางกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้รายวิชาตามกรอบคุณ ภาพบัณฑิต (เอกสารTQF และเอกสาร มคอ.3 ในภาคผนวก) โดยมีการกำหนดระยะเวลาการเรียนการสอนไว้ 16 สัปดาห์ ทั้งนี้ได้นำกระบวนการเรียนการสอนในรูปแบบนักศึกษามีส่วนร่วมซึ่งได้ออกแบบไว้ (แผนภาพที่ 1) มาสอดแทรกเป็นกิจกรรมสำหรับการเรียนการสอนควบคู่ไปกับการสอนปกติ (Input) ซึ่งวิธีการปฏิบัติตามรูป แบบกระบวนการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม (Processes) มีประเด็นต่างๆดังต่อไปนี้

ตารางที่ 1 กิจกรรมของกระบวนการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม
    ตารางที่ 1 ต่อ


ข้อมูลการปฏิบัติกิจกรรมของกลุ่ม
ประเด็น

4. หนังสือและเอกสารอ้างอิงที่ใช้
เนื้อหาเอกสารที่กำหนดของผู้สอนตามแนวการสอนและอกสารแนะนำโดยมีกรอบแนวคิดตามเนื้อหาวิชาที่กำหนด

5. ข่ายแนวคิดของกลุ่มหลังจากการปรึกษาหารือภายใน
สร้างกรอบแนวคิดทฤษฎีที่ได้จากข้อตกลง โดยจัดเป็นผังหรือข่าย
ความคิดเพื่อทำให้เกิดความชัดเจนเข้าใจได้ง่าย และเพื่อแลกเปลี่ยน
เรียนรู้กับกลุ่มอื่นๆ

6. ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเสนอของ
    กลุ่มอื่น
1. กลุ่มต่างเนื้อหามีความคลุมเคลือไม่ชัดเจนมีบางกลุ่มเท่านั้นที่มี
    ประเด็นชัดเจนข้อมูลครบถ้วนอย่างไรก็ตามเนื้อหาที่ได้จากการแลก
    เปลี่ยนมีประโยชน์ทั้งในด้านการเรียนและการนำไปใช้ในชีวิต
    การทำงานในอนาคต
2. มีการประสานร่วมมือกันและการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน
3. สามารถเรียนรู้สาเหตุของปัญหาสังคมและแนวทางแก้ไขจากการ  
     นำเสนอแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่ม
4.ทำให้ทราบถึงทิศทางการเปลี่ยนแปลง ของปรากฏการณ์ทางสังคม
    สาเหตุปัญหาและแนวทางแก้ไข

7. ประโยชน์จากแลกเปลี่ยนความรู้กัน
    ภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม
1. ได้ความรู้เพิ่มเติมจากกลุ่มอื่นๆนอกเหนือการค้นคว้าของตนและ 
     กลุ่มของตน
2. เรียนรู้การทำงานเป็นทีม
3. เรียนรู้การนำเสนอและการเขียนรายงานเชิงวิชาการที่ชัดเจนขึ้น
4. เรียนรู้ที่จะเคารพความคิดเห็นและความสามารถของคนอื่น
5. ได้ความคิดที่หลากหลายสามารถนำไปปรับปรุงให้มีสาระมากขึ้น
6. ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนำไปสู่การทำงานรูปแบบใหม่ๆ
7. สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถในการทำงานร่วมกันนำไป
    สู่การแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน
8. การให้คำปรึกษาเพื่อการแก้ไขปัญหาของกลุ่มต่างๆจากผู้สอนทำให้
    การทำงานราบรื่นมีระบบมากขึ้น
9. ทำให้เข้าใจในรายละเอียดของงานในแต่ละกลุ่ม
10. ทำให้มองเห็นข้อดีข้อเสียของการทำงานและนำไปปรับปรุงแก้ไข
11. เกิดความรู้สึกอยากค้นคว้าเพื่อการแลกเปลี่ยนมากขึ้น

ข้อมูลการปฏิบัติกิจกรรมของกลุ่ม
ประเด็น

8. ข้อคิดเห็นต่อแนวคิดและประเด็นการ
    นำเสนอของกลุ่มอื่นๆ
 ในแต่ละกลุ่มมีการนำเสนอแบบตรงไปตรงมา เพื่อก่อให้เกิดการ
  ทำงานที่มีคุณภาพ เนื่องจากการแลกเปลี่ยนดังกล่าวเป็นการแลก
  เปลี่ยน เพื่อประโยชน์ด้านวิชาการเป็นหลัก และมีผลต่อการ
  ประเมินผลความรู้ของนักศึกษาแต่ละกลุ่มและแต่ละคน ดังนั้น
  จึงมีการแสดงความคิดเห็นที่ไม่มีการเกรงใจกัน แต่ความคิดเห็น
  ดังกล่าวได้รับการยอมรับจากกลุ่มต่างๆพื่อนำไปแก้ไข ค้นคว้า
  หาคำตอบ เพื่อนำมานำเสนอในคราวต่อไป
  ข้อคิดเห็นได้แก่
1. ความไม่ชัดเจนของการนำเสนอ
2. เข้าใจยาก คลุมเครือ
3. ไม่ครบถ้วน ข้อมูลไม่เพียงพออยากได้ข้อมูลที่มากและเพียงพอ
4. น่าสนใจ เป็นต้น

9.ประโยชน์และความรู้สึกในการเรียนรู้
   จากประสบการณ์และการแลกเปลี่ยน
   รวมถึงข้อเสนอแนะ
1. ทำให้กล้าคิดกล้านำเสนอมากขึ้น
2. ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีต่อการทำงานเป็นกลุ่ม
3.เกิดทักษะในการทำงาน
4. ได้รับรู้ถึงความคิดเห็นและความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น
5. ทำให้ทราบจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง
6. ทำให้เกิดการเรียนรู้ปัญหา ความขัดแย้งของการทำงานเป็นกลุ่ม
    เกิดทักษะการแก้ไขปัญหา การอยู่ร่วมกับผู้อื่น และการแก้ไขปัญหา
    ความขัดแย้ง
7. ก่อให้เกิดความรู้ที่ได้จากการแสวงหาและการทำความเข้าใจด้วย
   ตนเองและการแลกเปลี่ยนกับผู้อื่น
8. การเรียนการสอนรูปแบบให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการ
    สอนการ ค้นคว้าด้วยตนเองการแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งที่อยากให้เป็นรูป
    แบบการเรียนการสอนต่อไป
9. เป็นการทำงานที่หนักแต่มีความรู้สึกที่ดีและอยากทำงานมากขึ้น
10. ทำให้เกิดทักษะของการตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุด

10. การให้คะแนนเพื่อนภายในกลุ่ม
คะแนนโดยเฉลี่ยที่สมาชิกแต่ละคนให้กับสมาชิกอื่นๆในกลุ่มคือ 8.5
                จากการสังเกตพฤติกรรมและการให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อการนำรูปแบบการศึกษาโดยให้ นักศึกษามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน นักศึกษาส่วนใหญ่มีการสนองตอบด้านบวกมากกว่าด้านลบ ซึ่งความคิดเห็นในตารางที่ 1 เป็นตารางที่นำเสนอความคิดเห็นต่อกระบวนการเรียนการสอนในรูปแบบการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม
                คะแนนการทดสอบก่อนการเข้าสู่บทเรียน(Pretest) ซึ่งผู้ศึกษากำหนดค่าคะแนนที่ต่ำกว่า 50 เท่ากับ 1 และ50 คะแนนขึ้นไป เท่ากับ 2  จะได้ค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.1 หรือเท่ากับ 44.41 จึงหมายถึง นักศึกษาส่วน ใหญ่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาสาระของวิชาที่จะเรียนมาก่อน เมื่อผ่านกระบวนการเรียนการ สอนโดยเฉพาะ การสอดแทรกกิจกรรมการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม ซึ่งผู้สอนทำหน้าที่เป็นที่ ปรึกษาโดยให้นักศึกษาได้จักการประชุมกลุ่ม มอบหมายงานกันเอง แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ แสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมา ค้นหาตนเองทั้งด้านดีและด้านลบเพื่อโอกาสในการแก้ไขตนเองและที่สำคัญให้นักศึกษามีโอกาสในการแก้ไขงานของกลุ่มตนให้ดีที่สุด  อย่างไรก็ตาม ค่าคะแนนเฉลี่ยหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการการสอนแบบมีส่วนร่วมเท่ากับ 78.79 (ตารางที่ 2) ซึ่งอยู่ในระดับดี (B) ตามเกณฑ์มาตรฐานค่าคะแนนของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตกำหนด    

ตารางที่ 2 ค่าคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการเข้าสู่เนื้อหาวิชา
ค่าแคะแนนเฉลี่ย

จำนวนนักศึกษา
ค่าต่ำสุด-สูงสุด
Std Deviation
ค่าคะแนนเฉลี่ย
ก่อน
75
1-2*
.327
1.1
75
30-80
8.52
44.41
หลัง
75
64-90
5.97
78.79
* ค่าคะแนนที่กำหนด 1 = ต่ำกว่า 50 คะแนน; 2 = สูงกว่า 50 คะแนน

4.2 ทัศนคติที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม
                ในด้านทัศนะต่อการจัดการเรียนการสอนดังกล่าว ผู้ศึกษาได้สร้างแบบประเมินทัศนะต่อกระบวน การเรียนการในรูปแบบปกติโดยมีกิจกรรมสอนแบบมีส่วนร่วมสอดแทรก นักศึกษาได้แสดงความคิดในแง่มุม ต่างๆทั้งด้านบวกและด้านลบ ดังต่อไปนี้ 


ตารางที่ 3 ทัศนะต่อการจัดการเรียนการสอน
ทัศนะต่อการจัดการเรียนการสอน
ด้านบวก
ด้านลบ
1.ชอบการทำงานเป็นกลุ่มเนื่องจากจะมีความคิดที่
   หลากหลายเรียนรู้ความผิดพลาดและเห็นคุณค่าของ
   ผู้อื่น,ชอบในการแก้ไขงานที่ได้รับมอบหมายรวมทั้ง
   การคอยให้คำปรึกษา 
1. เนื้อหาควรชัดเจนและเข้าใจง่ายกว่านี้ 
   ไม่ค่อยเข้าใจ
2. อยากให้มีการทำสมาธิก่อนเรียน และก่อนเลิกเรียน
    สิบนาทีให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้กัน
2. เสียงบรรยายเบาและยกตัวอย่างมากๆ
3. สามารถเข้าใจได้ดีมากขึ้นจากการให้คำปรึกษา
   เนื้อหาวิชาที่เรียน, จากการให้คำปรึกษารายงาน  
3. น่าจะมีการสอนที่สนุกสนานเข้าใจง่าย
4. สามารถกระตุ้นให้นักศึกษาออกไปนำเสนอรายงาน
    และกล้าแสดงความคิดเห็นกล้าแสดงออกมากขึ้น
4. ให้ทำรายงานในชั่วโมงเพื่อเก็บคะแนนทุก
    ชั่วโมง
5. เข้าใจได้ดีมาก
5. ควรเคร่งครัดในการสอบ
6. นักศึกษากล้าเข้าไปปรึกษาเนื่องจากการให้ความ
    เป็นกันเอง
6. ควรชี้แจงรายละเอียดกิจกรรมมากๆเพื่อ
    ความเข้าใจได้ตรงกัน
7. ชอบวิธีการให้ค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซด์ที่
    อาจารย์จัดไว้ให้และได้ประโยชน์มาก
7. ควรจัดทำ Power Point ที่น่าอ่านกว่าที่เป็นอยู่
8. เนื้อหาและข้อสอบตรงตามที่เรียน
8. เวลาในการสอบน้อยไป
9. เนื้อหาลึกซึ้งครบถ้วน มีประโยชน์
9. การสอนควรมีลูกเล่นบ้าง เนื้อหาควรเป็น 
    แบบย่อ
10. กิจกรรมที่จัดคลายเครียดและสนุกสนาน
-

                การแสดงความคิดเห็นทั้งด้านลบและด้านบวกต่อกระบวนการเรียนการสอนซึ่งผู้สอนเปิดกว้างให้มีการ
แสดงความคิดเห็นโดยให้หลักประกันว่าจะไม่กระทบต่อผลการศึกษา นอกจากนั้นยังปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ ให้มีความเป็นกันเอง เพื่อให้ลดความเกรงใจลง ทำให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา ตามตารางที่ 1 จะเห็นว่าความคิดเห็นด้านลบเป็นความคิดเห็นที่นักศึกษาต้องการให้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการ เรียนการสอน

                นอกจากนั้น การประเมินทัศนคติหลังจากที่เสร็จสิ้นกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม แล้ว โดยมีประเด็นคำถามต่างๆ ห้าประเด็นซึ่งจากการนำไปหาค่าคะแนนเฉลี่ยจะได้ดังต่อไปนี้

ตารางที่ 4 ค่าคะแนนเฉลี่ยของทัศนคติหลังการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมสิ้นสุด
ประเด็นคำถาม
จำนวน นักศึกษา


ค่าคะแนนต่ำสุด
ค่าคะแนน สูงสุด
คะแนน เฉลี่ย
Std. Deviation
1. ความหลากหลายของการเรียนการสอน
75
2
5
3.89
0.57
2. ความเข้าใจต่อเนื้อหาวิชาที่ได้จากแหล่ง
    ต่างๆที่จัดไว้ให้
75
2
5
3.77
0.71
3. ความพอใจในกิจกรรมที่มอบหมายเช่น
    รายงาน และการนำเสนอ รายงาน
75
2
5
4.07
0.58
4. ความพึงพอใจที่ผู้สอนทำหน้าที่ให้การ
    ปรึกษาในการดำเนินกิจกรรม
75
3
5
4.2
0.59
5. ความพึงพอใจในรูปแบบการเรียนแบบมี
    ส่วนร่วมของทุกคนในการนำเสนอ
    รายงาน การตั้งคำถามและการตอบข้อ
    ซักถาม
75
2
5
4.1
0.73

                ประเด็นการประเมินทัศนะคติหลังจากเสร็จสิ้นการเรียนการสอนที่มีการสอดแทรกกระบวนการเรียน การสอนแบบมีส่วนร่วมรวมห้าประเด็น  ประเด็นแรกและประเด็นที่สอง ด้านความหลากหลาย ของการเรียนการสอน และความเข้าใจต่อเนื้อหาวิชาที่ได้จากแหล่งต่างที่จัดไว้ให้มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.89 และ 3.77 ตามลำดับ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.57 และ 0.71 ซึ่งแสดงว่าทั้งสองประเด็นสะท้อนทัศนคติ ที่มีแนวโน้มไปในทางที่พอใจมาก โดยเมื่อนำมาเทียบเคียงกับน้ำหนักถัวเฉลี่ย (Weighted Average Index; WAI) จะพบว่า ระดับคะแนนถัวเฉลี่ยเท่ากับ 3.89/5= 0.78 และ 3.77/5 = 0.76 (Weighted Average Index อยู่ระหว่าง 0.60-0.80 ซึ่งมีค่าคะแนนอยู่ในช่วงระดับดี)
                ประเด็นความพอใจความพอใจในกิจกรรมที่มอบหมายเช่น  รายงาน และการนำเสนอ รายงาน, ความพึงพอใจที่ผู้สอนทำหน้าที่ให้การปรึกษาในการดำเนินกิจกรรม, ความพึงพอใจในรูปแบบการเรียนแบบมีส่วนร่วมของทุกคนในการนำเสนอรายงาน การตั้งคำถามและการตอบข้อซักถามมีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07, 4.2 และ 4.1 ตามลำดับ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 0.59 และ 0.73 จะพบว่ามีคะแนนถัวเฉลี่ยเท่ากับ 4.07/5=   0.81,  4.2/5= 0.84 และ 4.1/5=0.82  (Weighted Average Index อยู่ระหว่าง 0.81-1.00 ค่าคะแนนอยู่ในช่วงระดับดีมาก)
                สรุปได้ว่า คะแนนในการประเมินทัศนคติที่มีต่อกระบวนการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมนักศึกษามีทัศนะที่ดีถึงดีมาก
                ประเด็นการประเมินทัศนคติกับผลค่าคะแนนหลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการรวมถึงกลุ่มวิชาที่เรียนทั้งสองกลุ่ม(กลุ่มรายวิชา หลักสังคมวิทยา C1, กลุ่มรายวิชาบริหารการพัฒนา B1) โดยจำแนกด้วยตารางไขว้

ตารางที่5 การจำแนกกลุ่มนักศึกษาและระดับค่าคะแนน

ระดับคะแนน(เกรด)
กลุ่มเรียน
กลุ่มสังคมวิทยา
กลุ่มการบริหารการพัฒนา
รวม
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
2
4
10.3
4
11.4
8
10.8
2.5
6
15.4
5
14.3
11
14.9
3
26
66.7
16
45.7
42
56.8
3.5
2
5.1
9
25.7
11
14.9
4
1
2.6
1
1.4
2
2.7
รวม
39
100
35
100
75
100

                จากตารางที่ 5 พบว่านักศึกษาทั้งสองกลุ่ม ส่วนใหญ่มีค่าคะแนนในระดับดี กลุ่มสังคมวิทยา(C1) มีจำนวนนักศึกษาที่สอบได้คะแนนในระดับดี(B หรือ 3) ร้อยละ 66.7 รองลงไปเป็นนักศึกษาที่สอบ ได้ระดับคะ แนนพอใช้(C+หรือ 2.5)จำนวนร้อยละ 15.4 และกลุ่มการบริหารการพัฒนาสอบได้คะแนนในระดับดี(B) จำนวนร้อยละ 45.7 รองลงไปเป็นนักศึกษาที่สอบได้ระดับค่าคะแนนดีมาก (B+หรือ 3.5) จำนวนร้อยละ 25.7

ตารางที่ 6 ระดับทัศนคติประเด็นความคิดเห็นและกลุ่มเรียนในประเด็นความหลากหลายของการเรียนการสอน       

                  
                               
กลุ่มหลักสังคมวิทยา (C1)
ระดับค่าคะแนนทัศนคติ
2
3
4
5
รวม

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

ระดับคะแนน
(เกรด)
หลังจากเส็จสิ้น กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

2
-
-
2
5.1
2
5.1
-
-
4
10.3
2.5
-
-
-
-
6
15.4
-
-
6
15.4
3
-
-
4
10.3
18
46.2
4
10.3
26
66.7
3.5
-
-
1
2.6
1
2.6
-
-
2
5.1
4
-
-
-
-
1
2.6
-
-
1
2.6
รวม
-
-
7
17.9
28
71.8
4
10.3
39
100
Square of  Eta (η2)
  Eta (η2) TECDIVER Dependent  = 0.58 
  Eta (η2) GADE Dependent          = 0.37
            
กลุ่มการบริหารการพัฒนา (B1)

ระดับค่าคะแนนทัศนคติ
2
3
4
5
รวม
จำนวน

ร้อยละ

จำนวน
ร้อยละ
จำนวน

ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ

ระดับคะแนน
(เกรด)
หลังจากเส็จสิ้น กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
2
-
-
2
5.7
1
2.9
1
2.9
4
11.4
2.5
-
-
1
2.9
3
8.6
3
2.9
5
14.3
3
-
-
-
-
15
42.9
1
2.9
16
45.7
3.5
1
2.9
4
11.4
4
11.4
-
-
9
25.7
4
0
-
0
-
1
1.9
0
-
1
2.9
รวม
1
1.9
7
20.0
24
68.6
3
8.6
35
100

Square of  Eta (η2)

 Eta (η2) TECDIVER Dependent  = 0.71
  Eta (η2) GADE Dependent          = 0.59
จากตารางที่ 6 เมื่อจำแนกตามกลุ่มเรียน ตามระดับค่าคะแนน (เกรด) ทั้งสองกลุ่มแสดงทัศนะที่ไม่ ต่างกันมากนัก คือกลุ่มนักศึการายวิชาหลักสังคมวิทยา(C1) และกลุ่มนักศึกษารายวิชาการบริหารการพัฒนา(B1) ร้อยละ 46.2 และ42.9 ตามลำดับ แสดงทัศนะที่มีต่อความหลากหลายของการเรียนการสอนหลังจากใช้รูปแบบการสอนแบบมีส่วนร่วมในระดับดี แต่มีนักศึกษาจำนวนหนึ่งในกลุ่มรายวิชาการบริหารการพัฒนา มีทัศนะต่อการเรียนการสอนนี้ว่ามีความหลากหลายน้อยร้อยละ 2.9 ซึ่งนักศึกษาดังกล่าวมีผลการเรียนในระดับ คะแนน (เกรด) ค่อนข้างดีคือ ระดับคะแนน 3.5   ภาพรวมของการแสดงทัศนะของนักศึกษาทั้งสองกลุ่มส่วน ใหญ่เห็นว่าความหลากหลายของการเรียนการสอนอยู่ในระดับคือร้อยละ 71.8 และ 68.6 ตามลำดับ
                เมื่อพิจารณาค่า Square of  Eta (η2) ของประเด็นความหลากหลายของการเรียนการสอนและค่า คะแนน(เกรด)การสอบหลังจากเสร็จสิ้นการเรียนการสอนของนักศึกษา(ปลายภาค) พบว่า การแสดงทัศนะดังกล่าว มีความเข้มข้นหรือพลังการอธิบายสูงหรือเป็นการแสดงทัศนะในระดับที่กว้างขวางซึ่งพิจารณาได้จากค่า Square of  Eta (η2) ของกลุ่มนักศึกษารายวิชาหลักสังคมวิทยา มีค่าเท่ากับ 0.58 และ0.37 ตามลำดับ ค่า Eta (η2) ของกลุ่มนักศึกษารายวิชาการบริหารการพัฒนา มีค่าเท่ากับ 0.71 และ 0.59 ตามลำดับ มากกว่าค่า Eta (η2)ที่กำหนดไว้ (0.14)

ตารางที่ 7  ระดับทัศนคติประเด็นความคิดเห็นและกลุ่มเรียนในประเด็นความเข้าใจต่อเนื้อหาวิชาที่ได้จากแหล่ง
               ต่างๆที่จัดไว้ให้
           
กลุ่มหลักสังคมวิทยา (C1)                               
             

ระดับค่าคะแนนทัศนคติ
2
3
4
5
รวม
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน 
ร้อยละ 
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ

ระดับคะแนน
(เกรด)
หลังจากเสร็จสิ้น กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
2
-
-
-
-
3
7.7
1
2.6
4
10.3
2.5
-
-
2
5.1
4
10.3
-
-
6
15.4
3
2
5.1
6
15.0
14
35.9
4
10.3
26
66.7
3.5
-
-
1
2.6
1
2.6
-
-
2
5.1
4
-
-
-
-
1
2.6
-
-
1
2.6
รวม
2
5.1
9
23.1
23
59.1
5
12.8
39
100
Square of  Eta (η2)
Eta (η2) UNDERSTN Dependent = 0.49
Eta (η2) GADE Dependent          = 0.37


กลุ่มการบริหารการพัฒนา (B1)
ระดับค่าคะแนนทัศนคติ
2
3
4
5
รวม
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ




ระดับคะแนน
(เกรด)
หลังจากเส็จสิ้น กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

2
-
-
3
8.6
1
2.9
-
-
4
11.4
2.5
-
-
2
8.6
2
5.7
1
2.9
5
14.3
3
-
-
4
11.4
9
25.7
3
8.6
16
45.7
3.5
-
-
5
14.3
3
8.6
1
2.9
9
25.7
4
-
-
1
2.9
-
-
-
-
1
2.9
รวม
-
-
15
42.9
15
42.9
5
12.8
35
100
Square of  Eta (η2)
Eta (η2) UNDERSTN Dependent = 0.62
Eta (η2) GADE Dependent          = 0.14

                จากตารางที่ 7 นักศึกษาทั้งสองกลุ่มแสดงทัศนะที่ค่อนข้างคล้ายกัน กล่าวคือ ต่อประเด็นความเข้าใจต่อ
เนื้อหาวิชาที่ได้จากแหล่งต่างๆที่จัดไว้ให้ กลุ่มนักศึกษาที่เรียนรายวิชาหลักสังคมวิทยาและการบริหาร การพัฒนารวมทั้งกลุ่มที่ได้รับการจำแนกด้วยผลคะแนนหลังจากการเรียนการสอนเสร็จสิ้น(ปลายภาค) ส่วนใหญ่ต่างมีทัศนะว่า มีความเข้าใจต่อเนื้อหาวิชาที่ได้จากแหล่งต่างๆที่จัดไว้ให้ในระดับดี คือร้อยละ 35.9 และ 25.7 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาผลรวมของค่าระดับคะแนนในการแสดงความคิดเห็นพบว่า มีลักษณะ คล้ายกันเช่นกัน คือมีระดับค่าคะแนนการแสดงทัศนะในระดับพอใช้ร้อยละ 23.1 และ 49.2 ตามลำดับ และแสดงทัศนะ ในระดับดี ร้อยละ 59.1และ 42.9 ทั้งสองกลุ่มตามลำดับ โดยการแสดงทัศนะดังกล่าว นักศึกษาส่วนใหญ่จะมีระดับคะแนนอยู่ในเกณฑ์ดี (3 หรือ B)
                เมื่อพิจารณาค่า Square of  Eta (η2) พบว่า พลังการอธิบาย ของประเด็นความเข้าใจต่อเนื้อหาวิชาที่ได้จากแหล่งต่างๆที่จัดไว้ให้สามารถยอมรับได้   ค่า Eta (η2) ของนักศึกษากลุ่มรายวิชาหลักสังคมวิทยาและนักศึกษากลุ่มรายวิชาการบริหารการพัฒนา มีค่าเท่ากับ 0.49,0.37,0.62 และ 0.14 ตามลำดับซึ่งมากกว่าค่าที่ กำหนด ไว้ (0.14)



ตารางที่ 8 ระดับทัศนคติประเด็นความคิดเห็นและกลุ่มเรียนในประเด็นความพอใจในกิจกรรมที่มอบหมายเช่น
              รายงาน และการนำเสนอรายงาน
              
กลุ่มหลักสังคมวิทยา (C1)
ระดับค่าคะแนนทัศนคติ
2
3
4
5
รวม
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
ระดับคะแนน
(เกรด)
หลังจากเสร็จสิ้น กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
2
-
-
-
-
3
7.7
1
2.6
4
10.3
2.5
-
-


5
12.8
1
12.8
6
15.4
3
1
2.6
1
2.6
17
43.6
7
17.9
26
66.7
3.5
-
-
-
-
2
5.1
-
-
2
5.1
4
-
-
-
-
1
2.6
-
-
1
2.6
รวม
1
2.6
1
2.6
28
71.8
9
23.1
39
100
Square of  Eta (η2)
Eta (η2) ACTSATIS Dependent =  0.30
Eta (η2) GADE Dependent         =  0.30

กลุ่มการบริหารการพัฒนา (B1)
ระดับค่าคะแนนทัศนคติ
2
3
4
5
รวม
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ

ระดับคะแนน
(เกรด)
หลังจากเส็จสิ้น กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
2
-
-
-
-
3
7.7
1
2.6
4
10.3
2.5
-
-
1
2.9
2
5.7
2
5.7
5
14.3
3
-
-
4
11.4
10
28.6
2
5.7
16
45.7
3.5
-
-
1
2.9
8
22.9
-
-
9
25.7
4
-
-
-
-
1
2.9
-
-
1
2.9
รวม
-
-
6
17.1
24
68.6
5
14.3
35
100
Square of  Eta (η2)
Eta (η2) ACTSATIS Dependent =  0.52
Eta (η2) GADE Dependent          =  0.56

                จากตารางที่ 8 ประเด็นความพอใจในกิจกรรมที่มอบหมายเช่น รายงาน และการนำเสนอรายงาน นักศึกษาทั้งกลุ่มที่เรียนรายวิชาหลักสังคมวิทยา(C1)และการบริหารพัฒนา(B1) แสดงทัศนะที่เป็นไปในแนวทางเดียวกันคือ ทั้งสองกลุ่มนักศึกษาที่มีผลการสอบในระดับค่าคะแนนดี (3หรือ B) ส่วนใหญ่แสดงทัศนะ ที่ดีต่อความพอใจในกิจกรรมที่มอบหมายเช่น รายงาน และการนำเสนอรายงาน คือร้อยละ 43.6 และ 28.6 ตามลำดับ รองลงไปเป็นการแสดงทัศนะของนักศึกษากลุ่มรายวิชาการบริหารการพัฒนาที่มีผลการเรียน ในระดับ คะแนนดีมาก (3.5) คือร้อยละ 22.9 และทั้งสองกลุ่มแสดงทัศนะโดยรวมในระดับดีคือร้อยละ 71.8 และ 68.6 ตามลำดับ
                เมื่อพิจารณาค่า  Square of  Eta (η2) พบว่ามีความกว้างขวางของการแสดงทัศนะในส่วนของ การนำเกรดและนำประเด็นดังกล่าวมาพิจารณา กล่าวคือ ค่า Square of  Eta (η2) ทั้งสองเงื่อนไขเท่ากับ 0.30 มากกว่าระดับที่กำหนดคือ 0.14 ส่วนในกลุ่มนักศึกษาที่เรียนรายวิชา การบริหารการพัฒนา(B1) มีระดับเท่ากับ 0.52 และ0.56 ตามลำดับซึ่งมากกว่าค่าที่กำหนด ไว้ (0.14)

ตารางที่ 9 ระดับทัศนคติประเด็นความคิดเห็นและกลุ่มเรียนในประเด็นความพึงพอใจที่ผู้สอนทำหน้าที่ให้การ
               ปรึกษาในการดำเนินกิจกรรม
              
กลุ่มหลักสังคมวิทยา (C1)                                
ระดับค่าคะแนนทัศนคติ
2
3
4
5
รวม
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ




ระดับคะแนน
(เกรด)
หลังจากเส็จสิ้น กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

2
-
-
-
-
3
7.7
1
2.6
4
10.3
2.5
-
-
-
-
4
10.3
2
5.1
6
15.4
3
-
-
2
5.1
16
41.0
8
20.5
26
66.7
3.5
-
-
-
-
2
5.1
-
-
2
5.1
4
-
-
1
2.6
-
-
-
-
1
2.6
รวม


3
7.7
25
64.1
11
28.2
39
100
Square of  Eta (η2)
Eta (η2) ADVISATI Dependent =  0.61
Eta (η2) GADE Dependent          =  0.57





ตารางที่ 9 ต่อ
              
กลุ่มหลักสังคมวิทยา (C1)

ระดับค่าคะแนนทัศนคติ
2
3
4
5
รวม
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ




ระดับคะแนน
(เกรด)
หลังจากเส็จสิ้น กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
2
-
-
1
2.9
3
8.6
-
-
4
11.4
2.5
-
-
-
-
3
8.6
2
5.7
5
14.3
3
-
-
1
2.9
9
25.7
6
17.1
16
45.7
3.5
-
-
1
2.9
4
11.4
4
11.4
9
25.7
4
-
-
-
-
-
-
1
2.9
1
2.9
รวม
-
-
3
8.6
19
54.3
13
37.1
35
100
Square of  Eta (η2)
Eta (η2) ADVISATI Dependent =  0.61
Eta (η2) GADE Dependent          =  0.54

                จากกตารางที่ 9 ประเด็นความพึงพอใจที่ผู้สอนทำหน้าที่ให้กาปรึกษาในการดำเนินกิจกรรมกลุ่ม นักศึกษาที่เรียนรายวิชาหลักสังคมวิทยา (C1) ที่มีคะแนนระดับดี(B) แสดงทัศนะในระดับดีร้อยละ 41.0 รองลงมาเป็นนักศึกษากลุ่มการบริหารการพัฒนา(B1) ที่มีระดับคะแนนดี(B) ร้อยละ 25.7 ภาพรวมในการแสดงทัศนะโดยรวมในระดับดีร้อยละ 64.1 และ 54.3 ตามลำดับ
                เมื่อพิจารณาค่า  Square of  Eta (η2) จะเห็นว่า การแสดงทัศนะดังกล่าวเป็นการแสดงในระดับ กว้างขวางที่สามารถอธิบายได้ว่านักศึกษาส่วนใหญ่แสดงทัศนะที่มีความพึงพอใจมาก กล่าว คือกลุ่มสังคมวิทยา มีค่า ค่า  Square of  Eta (η2) เท่ากับ 0.61 และ0.57  กลุ่มการบริหารการพัฒนาค่า  Square of  Eta (η2)เท่ากับ 0.61 และ 0.54 ซึ่งมากกว่าค่าที่กำหนด ไว้ (0.14)


ตารางที่ 10 ระดับทัศนคติประเด็นความคิดเห็นและกลุ่มเรียนความพึงพอใจในรูปแบบการเรียนแบบมีส่วนร่วม
                 ของทุกคนในการนำเสนอรายงาน การตั้งคำถามและการตอบข้อซักถาม

              
กลุ่มหลักสังคมวิทยา (C1)                                

ระดับค่าคะแนนทัศนคติ
2
3
4
5
รวม
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ




ระดับคะแนน
(เกรด)
หลังจากเส็จสิ้น กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
2
-
-
-
-
3
7.7
1
2.6
4
10.3
2.5
-
-
2
5.1
4
10.3
-
-
6
15.4
3
1
2.6
3
7.7
11
28.2
11
28.2
26
66.7
3.5
-
-
-
-
2
5.1
-
-
2
5.1
4
-
-
-
-
1
2.6
-
-
1
2.6
รวม
1
2.6
5
12.8
21
53.8
12
30.8
39
100
Square of  Eta (η2)
Eta (η2) ADVISATI Dependent =   0.52
Eta (η2) GADE Dependent          =  0.33
              
กลุ่มหลักสังคมวิทยา (C1)

ระดับค่าคะแนนทัศนคติ
2
3
4
5
รวม
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ
จำนวน
ร้อยละ




ระดับคะแนน
(เกรด)
หลังจากเส็จสิ้น กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
2
-
-
1
2.9
3
8.6
-
-
4
11.4
2.5
-
-
2
5.7
1
2.9
2
5.7
5
14.3
3
-
-
3
8.6
9
25.7
4
11.4
16
45.7
3.5
-
-
3
8.6
2
5.7
4
11.4
9
25.7
4
-
-
-
-
1
2.9
-
-
1
2.9
รวม
-
-
9
25.7
16
45.7
10
28.6
35
100
Square of  Eta (η2)
Eta (η2) ADVISATI Dependent =  0.37
Eta (η2) GADE Dependent          =  0.41


จากกตารางที่ 10 ความพึงพอใจในรูปแบบการเรียนแบบมีส่วนร่วมของทุกคนในการนำเสนอรายงาน การตั้งคำถามและการตอบข้อซักถาม กลุ่มนักศึกษาที่เรียนรายวิชาหลักสังคมวิทยา (C1) ที่มีคะแนนระดับดี(B) แสดงทัศนะในระดับดีร้อยละ 28.2 รองลงมาเป็นนักศึกษากลุ่มการบริหารการพัฒนา(B1) ที่มีระดับคะแนนดี(B) ร้อยละ 25.7 ทัศนะโดยรวมในระดับดีเท่ากับร้อยละ 53.8และ 45.7 ตามลำดับ
                เมื่อพิจารณาค่า  Square of  Eta (η2) จะเห็นว่า การแสดงทัศนะดังกล่าวเป็นการแสดงในระดับ กว้างขวางที่สามารถอธิบายได้ว่านักศึกษาส่วนใหญ่แสดงทัศนะที่มีความพึงพอใจมากและในระดับที่ สามารถนำไปกล่าวอ้างได้ว่าทัศนะดังกล่าวเป็นการทัศนะที่กว้างพอ กล่าวคือกลุ่มสังคมวิทยามีค่า    Square of  Eta  (η2) ของประเด็นความพึงพอใจในรูปแบบการเรียนแบบมีส่วนร่วมของทุกคนในการนำเสนอรายงาน การตั้งคำถามและการตอบข้อซักถามเท่ากับ 0.52 และระดับค่าคะแนน(เกรด)เท่ากับ0.33   สำหรับกลุ่มการ บริหารการพัฒนาค่า Square of Eta (η2)เท่ากับ 0.37 และ 0.41 จึงสามารถสรุปได้ว่า การแสดงทัศนะดังกล่าว มีลักษณะของทัศนะกว้างขวางพอ

4.3 การเปรียบเทียบความแตกต่างของการแสดงทัศนะของกลุ่มเรียน
                นอกจากการวิเคราะห์ข้างต้น ผู้ศึกษาได้นำค่าระดับคะแนนเฉลี่ยมาเปรียบเทียบเพื่อหาคำตอบว่า การแสดงทัศนะของทั้งสองกลุ่มเรียนต่อประเด็นความคิดเห็นทั้งห้าประเด็นมีความแตกต่างกันหรือไม่ ทั้งนี้การวิเคราะห์ได้ใช้สถิติ ANOVA มาทำการวิคราะห์เปรียบเทียบ ดังในตารางที่ 11

ตารางที่ 11 เปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยในการทัศนะต่อประเด็นการแสดงทัศนะของนักศึกษาทั้งสองกลุ่ม
ตาราง ANOVA


Sum of Squares
Mean
df
Mean   
Square
F
Sig.
TECDIVER * GROUP
(ประเด็นที่1 * กลุ่มเรียน)
Between Grops
 Within Groups
 Total
0.151
23.76
23.92
3.923
3.833
3.880
1
73
    74
.151
.326

0.463
0.498
UNDERSTN * GROUP
(ประเด็นที่2 * กลุ่มเรียน)
Between Groups
 Within Groups
Total
1.00
37.58
37.68
3.794
3.722
3.760
1
73
   74
.099
.515

0.192
0.663

ตารางที่ 11 ต่อ
ACTSATIS * GROUP
(ประเด็นที่3 * กลุ่มเรียน)
Between Groups
 Within Groups
 Total
0.61
24.04
24.66
4.153
3.972
4.066
1
73
   74
.618
    .329
1.874
0.175
ADVISATI * GROUP
(ประเด็นที่4 * กลุ่มเรียน)
Between Groups
 Within Groups
 Total
1.00
25.58
25.68
4.205
4.277
4.240
1
73
74
.099
    .350
0.282
0.579
APTICISA * GROUP
(ประเด็นที่5 * กลุ่มเรียน)
Between Groups
 Within Groups
Total
0.18
39.33
39.52
4.128
4.027
4.080
1
73
   74
.189
    .539
0.350
0.556

                จากตารางที่ 11 เมื่อพิจารณาจากการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ ANOVA พบว่าในประเด็นต่างๆ นักศึกษาทั้งสองกลุ่มแสดงทัศนะที่ไม่แตกต่างกัน  โดยประเด็นแรก มีระดับนัยสำคัญเท่ากับ0.498 ประเด็นที่สอง มีระดับนัยสำคัญ 0.663 ประเด็นที่สามมีระดับนัยสำคัญ 0.175 ประเด็นที่สี่มีระดับนัยสำคัญ 0.576 และประเด็นที่ห้ามีระดับนัยสำคัญ 0.556

                จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลจะเห็นว่านักศึกษาที่ผ่านการเรียนการสอนในรูปแบบการมีส่วนร่วมมีผลการ เรียนเป็นที่น่าพอใจและส่วนใหญ่มีทัศนะที่ดีและพอใจต่อกระบวนการจัดการเรียนดังกล่าว โดยพิจารณา ได้จากการแสดงทัศนะทั้งด้านลบ และด้านบวก รวมถึงการแสดงทัศนะในรูปแบบของ การประเมินความคิด เห็นที่นำมาให้ค่าคะแนนในระดับน้อยมากถึงดีมาก ซึ่งระดับคะแนนของการแสดง ความคิดเห็นได้นำมา หาค่าเฉลี่ยและหาระดับน้ำหนัก ถัวเฉลี่ย (WAI) เพื่อให้เกิดความชัดเจนของการอธิบาย มากขึ้น นอกจากนั้น ยังได้นำมาจำแนกด้วยตารางไขว้และหาค่าความกว้างขวางหรือพลังการอธิบายของการ แสดงทัศนะดังกล่าวด้วย  Square of Eta (η2) และเมื่อพิจารณาจากการเปรียบเทียบความแตกต่างของทัศนะของกลุ่มนักศึกษา ทั้งสองกลุ่มในห้าประเด็นพบว่าไม่มีระดับนัยสำคัญของการแสดงทัศนะในประเด็นต่างๆที่แตกต่างกัน

5. สรุปและข้อเสนอแนะ
5.1  สรุปและแปรผล
                การออกแบบการเรียนการสอนแบบนักศึกามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนโดยที่ผู้ศึกษาได้ ใช้โปรแกรมประยุกต์ Mind Genius  มาเป็นเครื่องมือในการออกแบบ เพื่อจัดทำเป็นแบบแผนของรูปแบบ การเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม (Participative Learning Form; PLF) ดังปรากฏในแผนภาพที่ 1 และ ใช้สอดแทรกเป็นกิจกรรมรวมทั้งหมด 12 ชั่วโมงการเรียนการสอน ซึ่งการติดตามประเมินผลและการศึกษา เพื่อตรวจสอบผลของการนำรูปแบบดังกล่าวมาใช้ ทำให้สามารถพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนได้ในระดับ หนึ่ง อย่างไรก็ตาม รูปแบบและวิธีการสอนยังพบข้อบกพร่องบางประการที่ได้จากการประเมินทัศนะของ นักศึกษาที่แสดงออกมาในด้านลบในประเด็น สื่อการเรียนการสอน เช่น power point วิธีและรูปแบบ การบรรยาย น้ำเสียงตลอดจน การประเมินเพื่อเก็บคะแนนเป็นระยะๆ
                นอกจากนั้น ทัศนะด้านบวกได้แสดงถึงความเห็นด้วยและความพึงพอใจในรูปแบบการเรียนการสอน         ดังกล่าว เนื่องจากได้รับประโยชน์จากรูปแบบการเรียนการสอน โดยเฉพาะการเรียนรู้จากกระบวนการกลุ่ม การได้ประสบการณ์จากการค้นหาปรากฏการณ์ทางสังคมที่เป็นจริง รวมทั้งการค้นคว้าจากแหล่งความรู้ ที่ได้จัดทำเป็นเว็บไซด์ และบรรจุบทความ สาระเนื้อหาวิชา เพื่อให้นักศึกษาเข้าไปค้นคว้าหาความรู้ นอกจากนั้น การเปิดช่องทางการสื่อสารทั้งโดยตรงและโดย เว็บไซด์ที่จัดทำไว้  หน้า facebook, Twitter, ทำให้การปรึกษาหารือกิจกรรมสัมฤทธิผล นักศึกษามีความพึงพอใจและมีความสนใจที่จะทำกิจกรรมต่างๆที่ ได้รับมอบหมายมากขึ้น นอกจากนั้น สามารถกระตุ้นให้นักศึกษากระตือรือร้นในการทำงานและตรวจ สอบซึ่งกันและกัน กิจกรรมการวิเคราะห์ตนเอง เพื่อนร่วมงานเพื่อประเมินศักยภาพ รวมทั้งการ ประชุมกลุ่มเพื่อแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ทำให้การทำงานร่วมกันเป็นไปอย่างราบรื่น
                นักศึกษาส่วนใหญ่แสดงความรู้สึกว่า การทำงานในกิจกรรมของกระบวนการเรียนการสอนแบบมี ส่วนร่วมมีคุณค่าในแง่ของการมองเห็นว่าความสามารถของเพื่อร่วมงานมีคุณค่า มองเห็นคุณค่าในการทำงาน ที่มีความเป็นอิสระ และได้รับผลตอบแทนที่ได้จากการทำงาน ความเข้าใจเพื่อนร่วมงาน ความสามัคคี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ โดยเฉพาะรูปแบบการทำงาน ความรู้ได้จากการศึกษาค้นคว้าจะเป็นประโยชน์ ต่อการทำงานในอนาคต
                ด้านการจำแนก ได้ทำการจำแนกตามกลุ่มที่นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน ค่าคะแนนที่ได้จากการประเมิน หลังจากกระบวนการเรียนการสอนที่สอดแทรกรูปแบบการสอนแบบมีส่วนร่วม ทั้งคะแนนกิจกรรม รายงาน และการประเมินผลกลางภาค การทดสอบย่อยและการประเมินผลปลายภาค นอกจากนั้น การจำแนก ยังได้จำแนกแบบไขว้ (จากตารางCrosstabulation) โดยนำประเด็นการแสดงทัศนะห้าประเด็นมาจำแนกร่วม เพื่อหาคำตอบที่ว่า นักศึกษาทั้งสองกลุ่มมีทัศนะอย่างไร และแต่ละกลุ่มคะแนนที่ผ่านการประเมินผลมีการ แสดงทัศนะต่อประเด็นต่างๆอย่างไร ทั้งนี้ยังได้ใช้สถิติ Square of Eta (η2) ที่ชี้แสดงให้เห็นถึงพลังและความ กว้างขวางใน การแสดงทัศนะดังกล่าว
                เมื่อพิจารณาค่าที่ได้จากการจำแนกด้วยตารางไขว้ภายใต้เงื่อนไขของกลุ่มระดับคะแนน ประเด็นการ แสดงทัศนะและกลุ่มเรียนของนักศึกษา พบว่าการแสดงทัศนะของนักศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่าการจัดการเรียน การสอนที่สอดแทรกรูปแบบการสอนแบบมีส่วนร่วมเป็นรูปแบบที่ดี ทำให้เกิดประโยชน์หลายด้าน โดยเฉพาะการกระตุ้นให้เกิดความอยากเรียน อยากค้นคว้า มีความกล้ามากขึ้นในการแสดงความคิดเห็น การซักถาม ได้เรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่มและ เห็นว่า การจัดการเรียนการสอนดังกล่าวเป็นรูปแบบที่ต้องการ เมื่อพิจารณาการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยสถิติ ANOVA พบว่านักศึกษาทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน ของการแสดงทัศนะในประเด็นต่างๆ
                อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้ไม่ได้ละเลยการแสดงความคิดเห็นในด้านลบซึ่งความคิดเห็นดังกล่าว จะเป็น ประโยชน์ต่อการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนที่ออกแบบมาใช้กับนักศึกษาทั้งสองกลุ่ม เช่น สื่อและ อุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินการศึกษา รูปแบบการบรรยาย เนื้อหาสาระของการบรรยาย สิ่งดังกล่าว แม้ว่าจะ เป็นความคิดเห็นของนักศึกษาส่วนน้อย แต่เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่า นักศึกษาที่แสดง ทัศนะด้าน ลบเป็นกลุ่มที่ได้ระดับคะแนนในการประเมินผลระดับดีและดีมาก  3 และ 3.5 (B และ B+ )                        
5.2 ข้อเสนอแนะ
                รูปแบบการเรียนการสอนแบบนักศึกษามีส่วนร่วม เป็นรูปแบบที่เป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน โดย นิยมใช้กันในการฝึกอบรม การจัดการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานทั้งระดับมัธยมและประถม ศึกษาและในระดับมหาวิทยาลัยหรืออุดมศึกษา รูปแบบการศึกษาแบบมีส่วนร่วมได้ถูกนำมาประยุกต์ ใช้ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์ได้แก่ พยาบาลศาสตร์ หลักสูตรการบริหารธุรกิจ การจัดการสาธารณะซึ่งรูปแบบ  ส่วนใหญ่ เป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองแล้วนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนกันโดยการนำเสนอ การอภิปรายโต้แย้ง การตั้งข้อซักถาม ตลอดจนการวิเคราะห์ตนเองและผู้อื่น นำไปสู่ แรงผลักดัน หรือแรงเสริม ให้เกิดความตั้งใจในการทำงาน เรียนรู้ศักยภาพที่มีอยูในตนเอง ศักยภาพขอ เพื่อนสมาชิกภายในและภาย นอกกลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนรู้คุณค่าของกันและกัน
                ภายใต้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม สิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการส่งเสริมรูปแบบ ดังกล่าว ควรต้องมาจากทั้งผู้สอนและสถาบันการศึกษา
                1. ผู้สอนในฐานะเป็นผู้รับผิดชอบในการเรียนการสอนควรจัดเตรียมความพร้อมทั้งด้านความรู้ในเนื้อ หาวิชา สื่อ อุปกรณ์ รวมทั้งแหล่งความรู้เช่น เว็บไชด์ของผู้สอนซึ่งผู้สอนสามารถจัดทำได้ง่าย ซึ่งจะช่วยเสริม ให้รูปแบบดังกล่าวดำเนินไปด้วยความมีประสิทธิผล
                2. การดำเนินกิจกรรมในรูปแบบดังกล่าว สิ่งที่จำเป็นคือ สถานที่ในการทำงานซึ่งกระบวนการทำ งานจำเป็นต้องมีการประชุมกลุ่ม การปรึกษาหารือ การอภิปราย ดังนั้นสถานศึกษาควรจัดเตรียม ห้องสำหรับการทำงานของ นักศึกษาที่สามารถทำงานเป็นกลุ่มได้ แต่โดยทั่วไปในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยบางแห่ง สามารถจัดทำสถานที่ดังกล่าวไว้รองรับให้นักศึกษาทำกิจกรรม การทำงานกลุ่ม ตลอดจนการใช้เป็นสถาน ที่ติวสรุปเนื้อหาวิชา ก่อนการประเมินผลในช่วงเวลาต่างๆ ในการนี้มหาวิทยาลัยยังไม่มีสถานที่ดังกล่าว สำหรับ กิจกรรมดังเช่นมหาวิทยาลัยบางแห่งในปัจจุบันที่ได้จัดสถานที่ไว้รองรับ
                3. รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมอาจทำให้เกิดความอ่อนล้าทั้งผู้เรียนและผู้สอน ที่ต่างต้องทำงานหนัก โดยเฉพาะผู้สอนจำเป็นต้องออกแบบการเรียนการสอนที่ดีและมีประสิทธิภาพ อย่างไร ก็ตาม แบบแผนของการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมสามารถใช้โปรแกรมประยุกต์เข้ามาช่วยในการ ออกแบบการจัดการเรียนการสอน ซึ่งในระยะสั้น สามารถหาโปรแกรมประยุกต์ที่เป็นโปรแกรม ตัวอย่างมาใช้ได้ แต่ในระยะยาว มหาวิทยาลัยต้องสนับสนุนโปรแกรมดังกล่าวเพื่อประโยชน์ในการเรียนการ สอน ทั้งนี้ เนื่องจากโปรแกรมประยุกต์ของรูปแบบการเรียนการแบบมีส่วนร่วมมีต้นทุนที่สูงมาก
                4. การจัดการเรียนการสอนในรูปแบบการศึกษาแบบมีส่วนร่วมจำเป็นต้องจัดให้กิจกรรมดำเนินไปด้วย ความสม่ำเสมอ เพื่อไม่ให้นักศึกษาเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน ซึ่งหากจะใช้รูปแบบการเรียนการ สอนดังกล่าวอย่างได้ผล จำเป็นต้องพิจารณาความพร้อมของนักศึกษาว่ามีความพร้อมหรือไม่ การศึกษาที่ผู้สอน จัดทำขึ้นนี้ เพื่อใช้กับนักศึกษาชั้นปีที่สาม และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้ อาจเนื่องมาจากนักศึกษามีความ พร้อมที่จะเรียน ความเติบโตและผ่านการเรียนรู้จนเติบโตเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น จากการสังเกตพฤติกรรม ของนักศึกษาทั้งสองกลุ่มซึ่งผู้สอนได้จัดการเรียนการสอนตั้งแต่อยู่ชั้นปีที่หนึ่ง พบว่าพฤติกรรมปัจจุบัน  มีความแตกต่างจากพฤติกรรมในอดีตอย่างมากเช่น มีความรับผิดชอบมากขึ้น มีความสนใจที่จะศึกษา ค้นคว้า ด้วยตนเอง มีข้อซักถาม สนุกกับการเรียนการสอนและมีความพยายามที่จะเรียนรู้ในเนื้อหาสาระวิชา เพื่อรู้และเข้าใจมากกว่าการเข้าเรียนเพื่อหวังผลคะแนน                                      
   

 บรรณานุกรม
ภาษาไทย
ศิริพร  กิรติการกุล.มปป.การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาที่
เรียนวิชาระบบบัญชีสหกรณ์ (ศส 321) โดยเรียนแบบร่วมมือกันเรียนรู้.
ศักดา  ไชกิจภิญโญ. (2546). “รูปแบบการเรียนรู้ที่ใช้การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning). ใน เอกสารประกอบการอบรมสัมมนาอาจารย์ใหม่ ประจำปี 2546”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://vdo.kku.ac.th/mediacenter/mediacenter-uploads/libs/html/1043/cooperative_ learning.pdf (30 เมษายน 2551).
ภาษาอังกฤษ
A. Black and Dean J. Champion. 1976. Methods and Issues in Social Research. Citing Document
for class study of Social Research Methods in Development Planning (Ed 77.02). School
of Environment, Resources and Development (SERD). Khlong LuangPhatumtani
Thailand: Asian Institute of Technology.    
Bessette, Guy. 2004. Involving the Community: A Guide to Participatory Development  
Communication. Ottawa: International Development Research Centre. 162pp. ISBN 1-55250-066-7.
Braun, A. and H. Hocde. 1998. Farmer Participatory research in Latin America; Four Cases ACIAR
Proceedings.
Carr, W. & Kremmis, S.(1986). Becoming Critical: Education, Knowledge, and Action Research.
London: Falmer Press
Brydon-Miller, M. "Why action research?" In Action Research Volume 1(1): 9–28. SAGE Publications
London, Thousand Oaks CA, New Delhi www.sagepublications.co.uk .
Burns, D. 2007. Systemic Action Research: A strategy for whole system change. Bristol: Policy Press
Chambers, R. 1994. Participatory Rural Appraisal (PRA): Analysis of Experience. World
Development 22(9):1253-1268.
Chambers, R. 1983. Rural Development: Putting the Last First, London: Longman. ISBN 0-582-  

FAO ,1994. The group promoter's resource book. Rome: Food and Agriculture Organization, pp.
101-107.)
Kolb, A. and D. A Kolb.  (2001).  Experiential  learning  theory  bibliography 1971-2001. Boston :
McBer.
Kolb, David  (1984).  Experiential learning: Experience as the source of learning  and development. 
Englewood Cliffs : Prentice Hall.
PPAZ/GRZ Community-Based Distribution Project in Eastern Province, HTTP://http//www. participation.
110mb. com/Other/Participatory_learning_and_action.pdf  online [September/9/2554].
 HTPP://http://www.en.wikipedia.org/wiki/Rapid_Rural_Appraisal, Participatory rural appraisal.
HTPP://http://www.en.wikipedia.Participatory Action Research Network (PARNet) (not active as of Feb.
2007) Action Research Journal. Sage Publications. ISSN 1741-2617.
_______.  (1994).  experiential learning.  [Online].  Available : http://www.infed.org/biblio/b-explrn.htm 
[August 22, 2011].











Comments

Popular posts from this blog

A. เว็บไซต์ข่าวสาร - หน้าแรก