บทบาทของชนชั้นในวิกฤติน้ำท่วม 2554


บทบาทของชนชั้นในวิกฤติน้ำท่วม 2554

ประเด็นบทความ นี้
1. ประเด็นบทบาทของชนชั้นในวิกฤติน้ำท่วม 2554
2. การจัดการทรัพยากรน้ำ


1.บทบาทของชนชั้นในวิกฤติน้ำท่วม 2554


ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ ; Rotoratuk.blogspot.com (เจ้าของเว็บไซด์)


วิกฤติน้ำท่วมทำให้มองเห็นการแสดงบทบาทที่เด่นชัดของคนชั้นสูง  ชั้นกลาง และชนชั้นล่างในเมือง  รวมทั้งชุมชนชั้นกลางและชั้นล่างในท้องถิ่นมากยิ่งขึ้น   เป็นภาพสะท้อนของความเข้มแข็ง และความอ่อนแอที่เห็นได้ชัด โดยพิจารณาจากการจัดการชุมชนเพื่อต่อสู้กับปัญหาและวิกฤติที่เกิดขึ้น
ก่อนสภาวะวิกฤติน้ำท่วม ชุมชนแต่ละชุมชนของคนชั้นกลางและชนชั้นกลางค่อนข้างล่าง(เช่น ชุมชนบ้านจัดสรร ชุมชนในท้องถิ่นที่ก่อตั้งมาแต่ดั้งเดิม)และชุมชนคนชั้นล่าง ได้ต่อสู้ป้องกันโดยผู้นำชุมชนและคนในชุมชน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสามัคคี และความหลากหลายของชนชั้นโดยเฉพาะหมู่บ้านจัดสรรที่มีความหลากหลายของชนชั้น  (ที่มีทั้งระดับสูง ระดับกลางและระดับกลางค่อนข้างล่างรวมไปถึงชนชั้นล่างอยู่ด้วยกัน) มักจะไม่ประสบความสำเร็จในการป้องกันวิกฤติตั้งแต่เริ่มแรก แต่หากเป็นหมู่บ้านจัดสรรหรือชุมชนที่มีระดับเดียวกัน มักจะสามารถป้องกันปัญหาวิกฤตินี้ในระดับหนึ่งซึ่งตรงนี้ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของชุมชนดังกล่าว จะเห็นว่าชุมชนใดที่มีความเข้มแข็งสูงจะสามารถต่อสู้และแก้ไขปัญหาวิกฤติดังกล่าวได้ดังเช่นหมู่บ้านวรารักษ์     
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่า หมู่บ้านอื่นๆไม่มีความเข้มแข็งภายในชุมชน ตัวอย่างเช่น หมู่บ้านรัตนาธิเบศธ์ และหมู่บ้านกฤษดานคร 10 มีการจัดการที่ค่อนข้างดีในระยะน้ำไหลบ่า สามารถป้องกันน้ำไม่ให้ท่วมได้โดยใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน แต่การจัดการขาดความรู้พื้นฐานด้านกายภาพจึงทำให้ไม่สามารถป้องกันตนเองจากปัญหาดังกล่าวได้ในที่สุด   
การต่อสู้กับวิกฤติดังกล่าว ส่วนใหญ่ของชนชั้นสูง แทบไม่ต้องกล่าวถึง เนื่องจากชนชั้นสูงเป็นชนชั้นที่สะสมทุนไว้มากกว่าชนชั้นอื่นๆ จึงสามารถหลบเลี่ยงปัญหาการต่อสู้และจัดการกับวิกฤติน้ำท่วมได้อย่างไม่มีปัญหา โดยจะเห็นได้จากห้องพักของโรงแรมหรูทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดต่าง เต็มหมด  และ/หรือก็ไปพักพิงยังที่พำนักส่วนตัวที่สะสมในต่างจังหวัดซึ่งส่วนใหญ่เป็นจังหวัดที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว  ทั้งนี้การเข้ามาหลังน้ำลดสามารถทำได้โดยใช้ทรัพยากรหรือทุนที่มีอยู่จัดการกับปัญหาเพื่อฟื้นฟูที่อยู่อาศัย กิจการของตนเองโดยได้รับการสนับสนุนทรัพยากรจากรัฐบาลค่อนข้างสูง
การต่อสู้ของชนชั้นกลาง ถือว่าค่อนข้างลำบากแต่ก็ยังไม่เข้าขั้นถึงวิกฤติ ชนชั้นกลางในที่นี้คือชนชั้นกลางที่มีเงินเดือนประจำ โดยมีคำนิยามอีกอย่างที่ค่อนข้างดูแคลนคือมนุษย์เงินเดือน(ที่กินเงินเดือนจากชนชั้นสูงและรัฐบาลซึ่งก็คือเงินภาษีจากการทำงานของคนทั้งประเทศนั่นแหละ)  ชนชั้นกลางเหล่านี้ไม่สามารถไปเช่าโรงแรม คอนโดหรูอยู่ชั่วคราว แต่ก็ยังมีความพยายามหาที่พักพิงชั่วคราวทั้งโรงแรม และคอนโดระดับกลาง หรือที่อยู่อาศัยของญาติพี่น้องที่ไม่ได้รับความเดือดร้อนจากภัยน้ำท่วมหรือได้รับแต่น้อยกว่าตนเป็นต้น
สำหรับชนชั้นกลางและคนชั้นกลางค่อนข้างล่างบางส่วน(ตัวอย่างเช่น อาชีพรับจ้างอิสระได้แก่ คนขับเท็กซี่ แม่ค้าพ่อค้า เจ้าของธุรกิจขนาดเล็ก เจ้าของร้านโชห่วยเป็นต้น) จะพยายามอยู่เพื่อต่อสู้กับปัญหาวิกฤติเนื่องจากกลัวสูญเสียทรัพย์สินจากปัญหาอาชญากรรมลักเล็กขโมยน้อย(บางครั้งหมดบ้านซึ่งก็ถือว่าไม่น้อย)   
ชนชั้นกลางค่อนข้างล่างและชนชั้นล่างที่ไม่สามารถหาที่พักพิงชั่วคราวได้ ก็อพยพไปอยู่ ณ ศูนย์พักพิงชั่วคราวที่รัฐบาลจัดให้  ศูนย์พักพิงที่วัด โรงเรียน มหาวิทยาลัยท้องถิ่นเช่น มหาวิทยาลัย และมหา วิทยาลัยราชภัฎจัดไว้ให้ (ดูเหมือนว่าสถานศึกษา และวัดยังคงมีบทบาทสำคัญเสมอมา)
 การแสดงบทบาทสำคัญของชนชั้นกลาง ชนชั้นกลางค่อนข้างล่างและชนชั้นล่างที่มีในศูนย์พักพิงต่างๆ มีให้เห็นอย่างเด่นชัดตัวอย่างเช่น การคอยให้ความช่วยเหลือ คัดกรองผู้ป่วยในศูนย์พักพิงของผู้ที่มีความรู้ด้านพยาบาล โดยไม่ต้องจ้างวาน การช่วยเหลือในด้านการจัดการอาหาร น้ำ เครื่องอุปโภคบริโภคแก่ประชาชนในศูนย์พักพิง ทั้งนี้ ศูนย์ พักพิงที่ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐอย่างเต็มที่ จะมีการจัดระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพคอยช่วยเหลือเกื้อกูลกันเองโดยมีการจัดองค์กร แบ่งสรรบทบาทหน้าที่เพื่อปฏิบัติหน้าที่ ที่สามารถทำได้ให้แก่สถานพักพิงซึ่งเป็นสถานที่ที่อนุเคราะห์ความเดือดร้อนในครั้งนี้ให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นทั้งชนชั้นกลางค่อนข้างล่างและชนชั้นล่างที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้
   สำหรับชุมชนที่เหลืออยู่โดยรัฐบาลและองค์กรช่วยเหลืออื่นๆไม่สามารถเข้าถึง ก็มีการจัดองค์กรของตนช่วยเหลือกันเองทั้งในชุมชนและระหว่างชุมชน ทำให้เกิดพลังขับเคลื่อนที่สามารถทำให้ชุมชนรอดพ้นวิกฤติความอดอยาก ความขาดแคลนจากสภาวะวิกฤติน้ำท่วมไปได้ในระดับหนึ่ง
จะเห็นว่า บทบาทของชนชั้นโดยเฉพาะชนชั้นกลางค่อนข้างล่างลงไป สามารถแสดงบทบาทในด้านพลังการขับเคลื่อนจัดการกับปัญหา มีอยู่สูงมาก สูงมากกว่าชนชั้นกลาง ชนชั้นกลางค่อนข้างสูงและชนชั้นสูงที่ค่อนข้างละเลย เนื่องจากมีการสะสมทุนสูง จึงสามารถลอยตัวอยู่ได้ท่ามกลางปัญหาวิกฤติที่เกิดขึ้น ต่างกับชนชั้นกลางค่อนข้างล่างและชนชั้นล่างที่มีพลังขับดันทางสังคมสูงกว่า  ซึ่งหากพิจารณาถึงที่สุดแล้ว เราจะสามารถวัดความสำคัญของพลังทางเศรษฐกิจหรือพลังทางสังคมได้หรือไม่ว่า พลังใดสำคัญกว่ากัน และต่อแต่นี้ไปเราจะเบี่ยงเบนทิศทางของการพัฒนาไปในทิศทางเดิมๆอย่างที่เป็นอยู่หรือไม่ ท้ายที่สุด นักเศรษฐศาสตร์ นักธุรกิจ และชนชั้นปกครองมีความคิดอย่างไร จะคิดเหมือนเดิมหรือไม่   
มีคำกล่าวหนึ่งที่ว่า “คนที่ไม่เคยประสบกับปัญหาและความยากลำบากอย่างแสนสาหัสจะไม่สามารถเรียนรู้ประสบการณ์ความยากลำบากของผู้อื่นได้”  





2. การจัดการทรัพยากรน้ำ

        สาเหตุของน้ำท่วมในปีนี้(2554) หลักๆที่หลายคนมีความเห็นตรงกันคือการปล่อยน้ำจากเขื่อน
และนี่คือความจริง ผมได้ข้อมูลปริมาณน้ำฝน ของกรมอุตุนิมวิทยาเป็นดังนี้

2552
2553 
มค.-26 กย.2554

ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง
ภาคตะวันออก
ภาคใต้ฝั่งตะวันออก
ภาคใต้ฝั่งตะวันตก
รวมทั่วประเทศ
1190.3
1447.3 
1475.7  
1998.5  
1581.5  
2822.5    
 13067.8   
1303.3   
 1434.1   
1460.6 
 1460.6
  1965.3    
 2660.0 
 10613.2   
1231.6
1150.4
1074.7
1338.6
1363.7
1947.9
8106.9


และข้อมูลจากhttp://www.oknation.net/blog จะเป็นดังนี้
ปริมาณน้ำฝนของปี 2009 - 2011 จาก มกราคม ถึง กันยายน หน่วย มม.
ภาค/ปี200920102011
เหนือ1048.4010821541.4
อีสาน13741249.61502.5
กลาง1256.41120.81331.6
ตะวันออก1744.91491.31804.5
ใต้ฝั่งตะวันออก954763.71486
ใต้ฝั่งตะวันตก2278.61787.72394.8
รวม8656.37495.110060.8


        แม้ว่าข้อมูลจะไม่ได้ตรงกัน แต่ในเรื่องของความคิดเห็นต่างตรงกัน กล่าวคืออน้ำที่ไหลมาท่วมพื้นที่ต่างๆมาจากการปล่อยน้ำจากเขื่อนลองอ่านดูตามลิ้งค์ที่ให้ไว้
  ทั้งนี้เป็นความล้มเหลวจากการจัดการ ที่ไม่มีประสิทธิภาพ การที่น้ำล้นเขื่อนมีสาเหตุจากการกักน้ำไว้ใช้  แล้วใช้ทำอะไร กลัวอะไรถึงเก็บกักน้ำไว้จำนวนมากโดยการพยากรณ์การใช้น้ำเกิดความผิดพลาด จำนวนน้ำฝนที่จะตกลงมาในปีนี้(2554) จะมีปริมาณเท่าใด เป็นความกลัวที่จะไม่สามารถจ่ายน้ำให้ภาคเกษตร หรือเป็นความกลัวว่าไม่สามารถจ่ายน้ำให้ภาคอุตสากรรม ผมเกรงว่าเป็นอย่างหลัง เพราะหลายๆปรากฏการณ์ที่เกิดความแห้งแล้ง ภาคอุตสาหกรรมจะพยายามผลักดันเสมอเพราะเงินทำให้มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจมากกว่าภาคการเกษตร
         อย่างไรก็ตาม นี่เป็นความล้มเหลวของระบบการบริหารจัดการน้ำอย่างไม่เป็นท่า ใครต้องรับผิดชอบในเรื่องดังกล่าว รัฐบาลชุดใหม่หรือรัฐบาลชุดเก่า คงต้องไปตกลงกันเอง (แต่ที่แน่ๆ ผู้เกี่ยวข้องทุกคนทั้งในปัจจุบัน และในอดีตที่ยังไม่นาน, อธิบดี ,รัฐมนตรี ผู้รับผิดชอบที่มีส่วนทั้งหมด กล้าๆที่จะออกมา ยอมรับ ไม่ใช่ใช้นิสัย ข้าราชการหรือนักการเมืองที่ลอยตัวไปเรื่อยๆ และมักเป็นอย่างนี้เสมอๆ แล้วโยน กองให้ผู้ใต้บังคับบัญชารับผลกรรม) การที่จะเอาใจประชาชนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นเรื่องการเมืองที่เน้นคำที่เพิ่งเกิดหรือเรียกว่านวัตกรรมของคำนิยามคือประชานิยม ประชานิยมกับใคร สงสัยว่าทั้งสองฝ่ายหรือสองภาค(เกษตรหรืออุตสาหกรรม)  ก็เลยต้องกักตุนต้นทุนทรัพยากรน้ำไว้ก่อน เกรงว่าจะไม่สามารถแจกจ่ายได้เพียงพอ แต่ยังไม่ทันได้สนองตอบก็ต่องพบกับปรากฏการณ์ที่ผกผันอย่างมากทำให้เกิดความเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า
          การแก้ไขปัญหาก็เช่นกัน สังเกตว่า จะมีการกันภาคที่มีเงินและมีอิทธิพลต่อระบบเศรษฐกิจไว้ก่อน
ภาคประชาชนต้องรับความทุกข์ยากก่อนเสมอ ในครั้งนี้ การจัดการไม่้กิดผล ภาคอุตสาหกรรมได้รับความเดือดร้อนไปทั่ว แต่ยังมีความพยายามที่จะป้องกันส่วนที่เหลือไว้ให้ได้  ทำให้เกิดความขัดแย้งในเรื่องการจัดการนำ้ท่วมอยู่เนื่องๆ 
          ในครั้งนี้เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ ไม่ใช่ธรรมชาติ ธรรมชาติไม่ได้เอาคืน แต่มนุษย์กระทำกันเอง  กระทำจากความผิดพลาดที่ประชาชนทุกคนต้องพิจารณาว่าจะให้ทำหน้าที่ต่อหรือไม่  
           ในส่วนตัว อยากจะให้กระจายความเดือดร้อนให้ถ้วนทั่ว เพราะคนที่ไม่เคยลำบากจะได้เรียนรู้ประสบการณ์ความทุกข์ยากและจะได้เข้าใจ ไม่ใช่สักแต่คิดว่า ประชาชนธรรมดาเดือดร้อน ก็ให้ความช่วยเหลือ ใช้เงินบริจาคสิ่งของ ก็เป็นสิ่งที่สามารถทดแทนกันได้ 
           จะเห็นว่าอุทกภัยครั้งนี้ ชนชั้นกลางของหมู่บ้านจัดสรรในเมืองสามารถจัดการน้ำได้ดีกว่าหมู่บ้านจัดสรรของคนรวย โดยสามารถยื้อจนสุดความสามารถ ตรงข้ามคนร่ำรวยหนีหายไปเช่าโรงแรม ไปต่างจังหวัดเพื่อหลีกเลี่ยงภัยร้ายดังกล่าว 
            แม้ว่าบางหมู่บ้าน และบางชุมชนได้จมน้ำไปเรียบร้อยแล้ว แต่พวกเขาน่าจะได้รับคำชมเชยเพราะการจัดการเป็นยอด (คล้ายๆค่ายบางระจัน)ที่ท่วมเพราะน้ำจำนวนมหาศาลที่ไม่สามารถต้านได้ 
            สรุปแล้ว นี่คือความผิดพลาดของการจัดการทรัพยากรน้ำ ต้องมีผู้รับผิดชอบต่อความผิดพลาดของการจัดการทรัพยากรน้ำในครั้งนี้  
            

Comments

Popular posts from this blog

นโยบายรัฐบาลไทยยุคนางสาวยิ่งลักษณ์ ชิณวัตร: เพื่อสาธารณะหรือคะแนนนิยม