งานวิจัยชั้นเรียน
เจตคติของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา: รายวิชา การบริหารการปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบและการบริหารงานคลังและงบประมาณ
ภาคการศึกษาที่ 2/2553
หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์: อาจารย์ประจำหลักสูตร
1. ความสำคัญของปัญหา
นอกจากการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพ คุณภาพของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาตามกรอบคุณภาพซึ่งมีการกำหนดเป็นนโยบายโดยสำนักงานคณะกรรมการสถาบันอุดมศึกษา(สกอ.) และได้รับการนำมาปฏิบัติในมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
กระบวนการเรียนการสอนจำเป็นต้องมีการปรับปรุงและสร้างสรรค์โดยผู้สอนเพื่อพัฒนาให้ระบบการเรียนการสอนในชั้นเรียนเป็นไปด้วยความน่าสนใจและดึงดูดผู้เรียน อันจะทำให้เกิดความสัมฤทธิผลทางการศึกษา
การเรียนการสอนในหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 (รหัส 52) ภาคเรียนที่ 2/2553 ผู้ศึกษาได้สังเกตพฤติกรรมการเข้าฟังการบรรยาย การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน รวมถึงผลการประเมินในชั้นเรียนทั้งในภาพรวมและรายบุคคลพบว่า นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาที่ต่างกันพอสมควร และพบว่าอัตราการเข้าชั้นเรียนมีสูงถึงร้อยละ 99 ทั้งที่ไม่ได้มีสิ่งดึงดูดทั้งในเชิงบังคับ (Negative) และการให้รางวัลซึ่งได้แก่คะแนนการเข้าชั้นเรียน (Positive)
ทั้งนี้ผู้ศึกษาจึงมีความสนใจในลักษณะค่านิยมที่สะท้อนผ่านเจตคติของนักศึกษาดังกล่าวว่ามีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษามากน้อยเพียงใด
1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษา
เพื่อศึกษาปัจจัยด้านเจตคติของ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ชั้นปีที่ 2 (รหัส 52) ภาคเรียนที่ 2/2553 ที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
1.3 ขอบเขตในการศึกษา
1. ขอบเขตด้านเนื้อหา
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเจตคติของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ดังกล่าวระหว่างนักศึกษาสองกลุ่มรายวิชาได้แก่ รายวิชา การบริหารการปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบ และรายวิชา การบริหารงานคลังและงบประมาณ
2. ขอบเขตด้านประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษาชั้นปีที่สอง(รหัส52) หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ประจำภาคเรียนที่ 2/ 2553 โดยเลือกสุ่มตัวอย่างจำนวน 44 คน ในแต่ละกลุ่มรายวิชากลุ่มละ 22 คน
1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
การศึกษาครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
1. นำไปสู่การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ประสิทธิภาพของผู้สอน
2. ความสามารถในการสนองตอบต่อความต้องการของนักศึกษา ทั้งด้านรูปแบบและลักษณะการเรียนการสอน
1.5 สมมติฐานในการศึกษา
เจตคติของ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ชั้นปีที่ 2 (รหัส 52) ภาคเรียนที่ 2/2553 มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาทั้งสองรายวิชา
1.6 นิยามศัพท์เฉพาะ
1. เจตคติ หมายถึง ทัศนคติ ค่านิยมของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ชั้นปีที่ 2 ที่สะท้อนพฤติกรรมการเข้าเรียน และความสนใจในการเรียนรายวิชาการบริหารการปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบ และรายวิชา การบริหารงานคลังและงบประมาณ ประจำภาคการศึกษาที่ 2/2553 ซึ่งแบ่งระดับค่าคะแนนดังต่อไปนี้
น่าเบื่อที่สุด ค่าคะแนนเท่ากับ 1
น่าเบื่อ “ ” 2
เฉยๆ “ ” 3
น่าเรียน “ ” 4
น่าเรียนมาก “ ” 5
2. นักศึกษา หมายถึง นักศึกษาชั้นปีที่สอง หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา การบริหารงานคลังและงบประมาณและการบริหารการปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบจำนวน 44 คน
2. แนวคิดทฤษฎี
เจตคติของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้านต่างๆ ของ Abdallah (Arman Roebuck , 2009) สรุปได้ว่าเจคติที่ดีทำให้เกิดสัมฤทธิผลทางการเรียนที่ดี
ปัญหาที่เกิดกระบวนการเรียนรู้ มาจากปัจจัยประการหนึ่งคือ ทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ การศึกษา Arman ทำการศึกษาแบบทดลองโดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน 14 คน ทำการทดสอบหลังจากกระบวนการเรียนการสอนในรายวิชาที่ใช โดยเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบคือ El-Gazzar Instructional Design Model และใช้ตัวแบบ MOODLE-LMS ในการปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนของรายวิชาโดยทำการทดสอบทั้งก่อนและหลังกระบวนการจัดการเรียนการสอนผลการ ศึกษาพบว่า การจัดการเรียนการสอน ประสบผลสำเร็จมากกว่าร้อยละ 80 โดยมีนัยสำคัญ
3. วิธีการดำเนินการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเจตคติของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์และการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ดังกล่าวระหว่างนักศึกษาสองกลุ่มรายวิชาได้แก่ รายวิชา การบริหารการปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบ และรายวิชา การบริหารงานคลังและงบประมาณ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักศึกษาชั้นปีที่สอง(รหัส52) หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ประจำภาคเรียนที่ 2/ 2553 โดยเลือกสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 44 คน ในแต่ละกลุ่มรายวิชากลุ่มละ 22 คน
การวิเคราะห์ด้านเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อรายวิชาทั้งสองรายวิชา จะวิเคราะห์โดยใช้อัตราส่วนร้อย ค่าเฉลี่ยและสถิติ the square of Eta (η2) ในการวิเคราะห์ผลกระทบต่อกลุ่มตัวอย่างโดย η = t2/(t2 +df ), t-value และ ค่าความเป็นอิสระ หรือ Degree of freedom (df) ซึ่งปัจจัยด้านเจตคติควรมากกว่าค่า η2 ที่ 0.14 จึงจะถือว่า นักศึกษามีเจคติที่ดีต่อวิชาทั้งสองรายวิชาและมีผลต่อขนาดของกลุ่มตัวอย่างในระดับกว้าง
4. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากการศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 44 คนจากสองรายวิชาได้แก่ รายวิชา การบริหารงานคลังและงบประมาณ รายวิชา การบริหารปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบพบว่า คะแนนค่าเฉลี่ยของนักศึกาที่มีเจตคติในระดับเฉยๆ มีมากที่สุดถึง 52.3 รองลงมาเป็นระดับเจตคติ น่าเรียน 36.4 หากพิจารณาระดับเจตคติต่อผลสัมฤทธิทางการศึกษาพบว่า นักศึกษาที่มีเจตคติที่ดีในระดับน่าเรียนมากจะมีคะแนนดีกว่านักศึกษาในระดับเจตคติอื่นๆ แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าระดับเจตคติในระดับน่าเบื่อจะมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสูงกว่าในระดับเฉยๆ
ตารางที่ 1 อัตราส่วนร้อยของเจตคติและค่าคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
ตัวแปร | น่าเรียนมาก | น่าเรียน | เฉยๆ | น่าเบื่อ | น่าเบื่อมาก | |||||
จำนวน | ร้อยละ | จำนวน | ร้อยละ | จำนวน | ร้อยละ | จำนวน | ร้อยละ | จำนวน | ร้อยละ | |
ระดับเจตคติ | 2 | 4.5 | 16 | 36.4 | 23 | 52.3 | 3 | 6.8 | - | - |
ระดับค่า คะแนนเฉลี่ยที่สอบได้ | 74.00 | 67.81 | 64.04 | 66.67 | - - | |||||
จำนวนนักศึกษา | 44 คน |
ระดับคะแนนเฉลี่ย ด้านเจตคติของนักศึกษาทั้งสองกลุ่มคือ 3.386 ซึ่งหมายความว่า ระดับเจตคติที่มีต่อวิชานี้อยู่ในเกณฑ์เฉยๆ คือไม่ได้สนใจมาก และไม่ได้เป็นวิชาที่น่าเบื่อ ค่าคะแนนเฉลี่ยรวมที่แสดงสัมฤทธิผลของนักศึกษาทั้งสองกลุ่มเท่า 66.046 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างต่ำ ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ยของระดับเจตคติและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา
ตัวแปร | จำนวน | ค่าเฉลี่ย | Std | Max | Min |
ระดับเจตคติ | 44 | 3.3864 | 0.68932 | 5 | 2 |
ระดับค่าเฉลี่ยของคะแนนรวมที่สอบได้ | 44 | 66.0455 | 8.77882 | 82 | 48 |
ทั้งนี้ ข้อสังเกตของนักศึกษาจำนวนร้อยละ 52.3 ซึ่งตอบว่าเฉยๆได้ให้ไว้คือ รายวิชาทั้งสองเป็นวิชาที่ต้องเรียนเนื่องจากหากไม่เรียนจะไม่ผ่าน จึงจำเป็นต้องเรียนและรับผิดชอบเท่าที่จะทำให้ตนเองผ่านในระดับคะแนนที่ตนเองพอใจ
อย่างไรก็ตาม มีนักศึกษาร้อยละ 6.8 ที่ตอบว่าน่าเบื่อ เนื่องจากรูปแบบการเรียนการสอนไม่หลากหลายตามความต้องการของตน แต่ต้องเข้าเรียนเพราะหากไม่เข้าเรียนจะไม่เข้าใจในเนื้อหาวิชา ร้อยละ 36.4 ตอบว่าน่าสนใจและน่าเรียน และร้อยละ 4.5 ตอบว่าน่าเรียนและน่าสนใจมาก
ตารางที่ 3 ผลของเจตคติที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาและระดับผลกระทบต่อกลุ่มตัวอย่าง
จำนวนนักศึกษา | ผลกระทบต่อขนาดกลุ่มตัวอย่าง | df | t value | eta squere (η2 ) | Sig. |
44 | ระดับกว้าง(Large) | 43 | 49.80 | 0.983 | 0.00 |
การวิเคราะห์ระดับเจตคติของนักศึกษาที่มีต่อสัมฤทธิผลทางการศึกษาและผลของเจตคติต่อกลุ่มตัวอย่างพบว่า ค่า t value = 49.80, df = 43, eta squere (η2 ) = 0.983 และระดับนัยสำคัญ 0.00
จากการหาค่าผลกระทบจากระดับเจตคติที่มีต่อรายวิชาของกลุ่มตัวอย่าง มีในระดับกว้าง (แผนภาพที่ 1) เมื่อพิจารณา eta squere (η2 ) พบว่า มากกว่าระดับที่กำหนดไว้คือ 0.14 จึงสรุปได้ว่า นักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อการเรียนการสอน และมีเจตคติที่ดีต่อรายวิชาทั้งสองรายวิชาได้แก่ การบริหารงานคลังและงบประมาณ และการบริหารการปกครองท้องถิ่นเปรียบเทียบโดยมีนัยสำคัญ
แผนภาพที่ 1 ผลของเจตคติที่มีต่อรายวิชา การบริหารงานคลังและงบประมาณและการบริหารการปกครอง
ท้องถิ่นเปรียบเทียบของนักศึกษา
5. สรุปและอภิปรายผล
การศึกษาเจตคติของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ ในรายวิชาการบริหารงานคลังและงบประมาณ และรายวิชาการบริหารการปกครองท้องถิ่น ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 44 คน นักศึกษาส่วนใหญ่มีเจตคติในระดับปานกลางซึ่งเป็นระดับที่นักศึกษาไม่ได้สนใจในรายวิชาที่เรียนทั้งสองวิชา แต่ต้องมีความรับผิดชอบในการศึกษา เข้าเรียนตรงเวลา และเข้าเรียนทุกครั้งโดยไม่มีสิ่งจูงใจใดๆเช่น คะแนนการเข้าเรียนการให้อิสระในการเรียนโดยไม่มีการบังคับใดๆ ทั้งนี้ การเข้าเรียนดังกล่าวกระทำเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชา และนำไปใช้ในการประเมินผลการเรียนให้ผ่านในระดับที่ตนเองพอใจ
แนวโน้มของสัมฤทธิผลทางการศึกษาของนักศึกษา ขึ้นอยู่กับเจตคติทางบวกหรือทางลบของนักศึกษา แนวโน้มของนักศึกษาที่มีเจตคติในทางบวกจะมีผลต่อสัมฤทธิผลของนักศึกษาในทางบวกเช่นกันจะเห็นว่า สิ่งที่แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มดังกล่าวคือค่าเฉลี่ยของคะแนนสัมฤทธิผล อย่างไรก็ตาม ผู้ที่มีเจตคติในทางลบยังคงมีจิตสำนึกที่มีความรับผิดชอบต่อการเรียนการสอน โดยจะเห็นว่าระดับคะแนนที่ได้อยู่ในระดับปานกลางแม้ว่าจะเป็นระดับปานกลางค่อนข้างต่ำก็ตาม ระดับเจตคติของนักศึกษามีผลต่อสัมฤทธิผลทางการศึกษาในระดับกว้างดังแผนภาพที่ 1
ข้อเสนอแนะของนักศึกษาในกลุ่มที่มีเจตคติด้านลบคือ คือความหลากหลายในกิจกรรมการสอน ระบบสื่อการเรียนการสอนที่ต้องมีรูปแบบหลากหลายสวยงาม ไม่ราบเรียบจนเกินไป
สิ่งดังกล่าวผู้ศึกษาจะได้นำไปปรับปรุง ทั้งวิธีการเรียนการสอน กิจกรรม การบรรยายตลอดจนการปรับปรุงให้สื่อการเรียนการสอนมีรูปแบบที่สวยงามไม่ราบเรียบจนเกินไป
บรรณานุกรม
Abdallah Arman. (2009). The Effect of e-learning Approach on Students’ Achievement in
Biomedical Instrumentation. Course at Palestine Polytechnic University . Ph.D dissertation. Ain ShamsUniverity.
Comments