งานวิจัยปี 2562 การประเมินความต้องการจำเป็นของชุมชนเพื่อการพัฒนาความสามารถต่อ การเพิ่มมูลค่าวิสาหกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดนครนายก


อ่านงานวิจัยฉบับเต็มได้ที่:
https://drive.google.com/file/d/1yE69d6Lp3dBiWjFQ8oHn1qwWeKSq-ECO/view?usp=sharing

หัวข้อวิจัย                 การประเมินความต้องการจำเป็นของชุมชนเพื่อการพัฒนาความสามารถต่อ
การเพิ่มมูลค่าวิสาหกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดนครนายก

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมินความต้องการจำเป็นของชุมชนที่มีต่อการพัฒนาวิสาหกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศภายในชุมชน และเพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นที่มีต่อ การพัฒนาความสามารถในการเพิ่มมูลค่าด้านภูมิปัญญาชุมชนและท้องถิ่นและทรัพยากรภายในชุมชนสู่วิสาหกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดนครนายก เป็นการศึกษาภายใต้กรอบยุทธศาสตร์      การพัฒนาด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชนและท้องถิ่น พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ พื้นที่ซึ่งเป็นที่ตั้งและประกอบการของวิสาหกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ทั้งในรูปแบบศูนย์การเรียนรู้เชิงนิเวศ รูปแบบการเกษตรธรรมชาติ ไร่นา สวนเกษตรและวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับวิสาหกิจท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประชากรเป้าหมาย ได้แก่ ประชาชนในชุมชนซึ่งอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ประกอบการวิสาหกิจท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับวิสาหกิจชุมชน การสุ่มตัวอย่างเป็นการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจากพื้นที่ 4 อำเภอของจังหวัดนครนายก ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างวิสาหกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ด้วยโปรแกรมสุ่มตัวอย่างแบบง่ายจำนวน 10 แห่ง แล้วจึงสุ่มประชากรระดับครัวเรือนในพื้นที่ประกอบการวิสาหกิจนั้น โดยใช้ตารางสุ่มของ ทาโร่ยามาเน่ และนำแนวคิดของโคเฮนมาพิจารณาร่วมกัน ดังนั้น ประชากรกลุ่มเป้าหมายในการศึกษานี้จึงได้กำหนดจำนวนทั้งสิ้น 250 ครัวเรือน นอกจากนั้น ผู้วิจัยยังได้เก็บข้อมูลแบบบังเอิญด้วย        การสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวจำนวน 100 คน เพื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการวิสาหกิจทั้ง 10 แห่ง ข้อมูลจากการประชุมและสัมมนากลุ่มย่อยของผู้ประกอบการและตัวแทนของหน่วยงานภาครัฐ
ในขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้นำกระบวนการศึกษาของลีนเพื่อผลกระทบทางสังคมมาประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์โดยกระบวนการดังกล่าว เป็นกระบวนที่มีการกำหนดสมมติฐานจากการสำรวจพื้นที่ในเบื้องต้น แล้วนำมาค้นหาพฤติกรรมความต้องการของชุมชน เพื่อนำไปกำหนดข้อเสนอเชิงค่านิยมและผลผลิตของการตอบสนองความต้องการจำเป็นขั้นต้นหรือขั้นต่ำ แล้วจึงนำไปทดสอบพฤติกรรมของชุมชน ผลจากการทดสอบได้นำมาวิเคราะห์ร่วมกับผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการประชุมกลุ่มย่อย ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับวิสาหกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รวมทั้งผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากนักท่องเที่ยว
          ผลการวิจัยพบว่า ความต้องการจำเป็นที่ชุมชนต้องการให้สร้างผลผลิตของกิจกรรม                                                                                             การพัฒนาความสามารถต่อการเพิ่มมูลค่าของวิสาหกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ได้แก่
              1. การบริหารจัดการทรัพยากรชุมชนให้เกิดความยั่งยืน
              2. ความสามารถในการบริหารกิจกรรมการผลิตและการบริการ  
              3. การพัฒนากลไกและเครื่องมือรวมทั้งเทคนิควิธีในการพัฒนาผลผลิตและการบริการให้เกิดมาตรฐานคุณภาพระดับท้องถิ่น  
              4. การพัฒนากระบวนการส่งเสริมการผลิตและการตลาดที่ไม่มีความซับซ้อน
              5. การพัฒนาความสามารถในการให้บริการแก่ผู้บริโภคและผู้ใช้บริการ  
              6. การพัฒนาความรู้และประสบการณ์
              7. การพัฒนาภาคีและเครือข่ายความร่วมมือของกิจกรรม องค์กรชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
              8. การพัฒนาการมีส่วนร่วมในกิจกรรมและการดำเนินงานของชุมชน
          ข้อเสนอแนะต่อผลการศึกษาที่ได้จากการวิจัย ได้แก่ ประการแรก การสนับสนุนให้สมาชิกชุมชนได้ใช้ประโยชน์จากศูนย์การเรียนรู้ที่มีอยู่ในพื้นที่ ประการที่สอง การพัฒนาการเชื่อมโยงที่เข้มแข็งโดยสร้างความเข้าใจถึงกิจกรรมที่เชื่อมโยงภายในชุมชน ประการที่สาม ควรจัดทำคู่มือสำหรับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งมีหน้าที่ในการพัฒนาศักยภาพของชุมชน ประการที่สี่ ควรมี      การจัดระบบคิดให้แก่ชุมชน ประการที่ห้า ควรมีการสร้างความเข้าใจและเพิ่มเติมความรู้ในการพัฒนาเครือข่ายและการสร้างภาคีเครือข่าย ประการที่หก ควรมีการสนับสนุนในด้านระบบการจัดเก็บผลผลิต ประการที่เจ็ด ควรมีการศึกษาต่อยอดในลักษณะต่าง ๆ ด้วยการบูรณาการศาสตร์หลายด้านเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและเพื่อการเชื่อมโยงกิจกรรมประเภทต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
          ข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย ได้แก่ ประการแรก การแสดงบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมและสนับสนุนควรมีมากกว่าที่เป็นอยู่ ประการที่สอง ควรมีการสร้างความเข้าใจระหว่างหน่วยงานภาครัฐและประชาชนในชุมชนซึ่งประกอบกิจกรรมด้านอาชีพที่มีการเชื่อมโยงกับวิสาหกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ประการที่สาม หน่วยงานภาคีภาครัฐควรประสานร่วมมือกับชุมชนในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะปัญหาที่ชุมชนต้องการให้ภาครัฐเข้ามาส่งเสริมและสนับสนุน ประการที่สี่ ภาครัฐควรพิจารณาความต้องการที่แท้จริงของภาคประชาชนมากกว่า  การนำนโยบายที่ภาครัฐเห็นว่าน่าจะเป็นและภาคประชาชนควรจะเป็นมาปฏิบัติ ประการที่ห้า      การสร้างบทบาทให้แก่องค์กรปกครองท้องถิ่นในฐานะภาคีเครือข่ายหนึ่งของชุมชนเป็นสิ่งสำคัญต่อ    วิสาหกิจต่าง ๆ ของชุมชนรวมทั้งวิสาหกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอีกด้วย  




Research Title          Community Needs Assessment for Capacity Development to
Value Added Enterprises of Ecotourism of Nakhon Nayok Province

This research aims to study the community needs assessment for capacity development to, value added enterprises of ecotourism, community and local wisdom and the resources that have in community toward the ecotourism enterprises of Nakhon Nayok Province. This studies under the strategic economic development framework of ecotourism enterprises in the local community. The target area is a location of entrepreneurial ecotourism in form of the learning center, natural agriculture, rice fields, agricultural field and enterprises that linked to ecotourism enterprises. Target population is the people in those areas, therefore, it uses a multi - stage sampling methodology in random sampling from 4 districts of Nakkon Nayok Province. This one randomized 10 enterprises of ecotourism and related enterprises by the simple sampling program. And sampling 250 populations that the household level from those target areas is randomized by Taro Yamane table and co – with Cohen concept. In addition, it also collected data by random sampling 100 tourists for interview.       
 The process of analysis, assumes hypothesis from initial survey, take to finding behavior of community for determine value proposition to create minimum viable product, which it takes to test the community behaviors’ needs. The result of test will be analyzed together with the result of analyzed from, data of the small group meeting and seminar, entrepreneurs from enterprises that involves and links to ecotourism enterprises, including the result of analyzed from the tourists.
The study found that, community need to create a productivity to develop capacity development to value added enterprises of ecotourism included;
1. Sustainable community resource management.
2. Ability to manage production activities and services.
3. Developing mechanisms and tools as well as techniques for developing local quality standard of productive and services.  
4. Developing uncomplicated, manufacturing promotion and marketing processes.
5. Developing service capabilities for consumers and users.
6. Developing knowledge and experience.
7. Developing partners and networking of activities, community organizations and agencies.
8. Developing participation in community activities and performing.
Recommendation for the study are followers: First, to encourage community members being useful an existing learning centres in their area. Second, there should creating and understanding between government agencies and people in the community that engage in occupational activities linked to ecotourism enterprises. Third, there should have a manual for both public and private agencies that are responsible to develop the potential of the community. Fourth, there should develop a thinking system of community. Fifth, there should be a better knowledge and understanding develop the networking. Sixth, there should be supported in the storing system of a productivity. Seventh, there should be studied in various ways by integrating diversity sciences into community enterprise development and linking different types of activities.
The Policy recommendation are followers: First, the roles of local governmental organizations in promoting and supporting should be greater than in the past. Second, there should be an understanding between government agencies and the people community that engage in occupational activities linked to ecotourism enterprises. Thirdly, government agencies should cooperate with the community to develop and to solve problems, especially, the needs to be promoted and to be supported. Fourth, the government should consider the real needs of the people rather than to see as likely and the people should be treated by policy implementation. Fifth, creating a role for the local government as a network partner is important to the enterprise community as well as the ecotourism enterprise.

Comments

Popular posts from this blog

A. เว็บไซต์ข่าวสาร - หน้าแรก