Fiscal and Budgeting

ดำเนินงานตามขั้นตอนของ "กระบวนการงบประมาณ" คือ การจัดทำงบประมาณ  การอนุมัติงบประมาณ  การบริหารงบประมาณและการติดตามประเมินผลซึ่งจะดำเนินการเป็นประจำทุกปีงบประมาณ
ข้อมูลจาก ำนักงบประมาณ 2553 www.bb.go.th/bbkm/content.asp?option=viewdetail&ifmid...

กระบวนการงบประมาณ
1. การจัดทำงบประมาณ
เป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการงบประมาณ  ซึ่งสำนักงบประมาณ สำนักปลัดกรุงเทพมหานคร มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่าย  โดยสำนักงบประมาณจะแจ้งให้หน่วยงานจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายและประมาณการรายรับตามหลักเกณฑ์ วิธีการ แนวทาง และปฏิทินงบประมาณ ที่ ก.พ.ง. กำหนด  และเสนอต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร  เพื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาเสนอสภากรุงเทพมหานคร
2. ขั้นการอนุมัติงบประมาณ
เป็นขั้นตอนนำเสนอสภากรุงเทพมหานครพิจารณารับหลักการในวาระแรก  และให้ความเห็นชอบในวาระที่2-3  ต่อไป  ข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ ตุลาคม ของทุกปีงบประมาณ
3. ขั้นตอนการบริหารงบประมาณ
เป็นขั้นตอนการนำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายไปดำเนินงาน  เพื่อให้เกิดผลทางปฏิบัติ  ได้แก่ การขออนุมัติเงินประจำงวด  การโอน  หรือการเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่าย  ตลอดจนการขออนุมัติจัดสรรเงิน
4. ขั้นตอนการติดตามประเมินผล
เป็นขั้นตอนการจัดทำรายงาน การติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในช่วงระยะเวลาที่กำหนด  เพื่อแสดงผลการดำเนินการตามแผนงานโครงการของแต่ละหน่วยงานในระหว่างปีงบประมาณ ว่าสามารถบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของงาน/โครงการ หรือไม่  มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร เพื่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพิจารณาเสนอสภากรุงเทพมหานคร
ขั้นตอนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำป

1.คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการเตรียมการจัดทำงบประมาณ และการปรับปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
2.ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจร่วมกับสำนักงบประมาณจัดทำข้อเสนองบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณเบื้องต้น ประกอบด้วย รายจ่ายขั้นต่ำที่จำเป็น รายจ่ายตามข้อผูกพัน ภารกิจขั้นพื้นฐาน และภารกิจยุทธศาสตร์ต่อเนื่อง โดยนำฐานข้อมูลงบประมาณในขั้นตอนการทบทวนงบประมาณมาประกอบการพิจารณา
3.ส่วนราชการรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐเตรียมการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปีตามแนวทางที่กำหนด
4.คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน
5.ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ จัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปีให้สอดคล้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดิน เสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดให้ความเห็นชอบ
6.กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และธนาคารแห่งประเทศไทย ประชุมร่วมกันเพื่อทบทวนประมาณการรายได้และพิจารณากำหนดวงเงินรายจ่าย และโครงสร้างงบประมาณประจำปีงบประมาณและงบประมาณการล่วงหน้า 3 ปี
7.สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทบทวนและจัดทำข้อเสนอเป้าหมายและยุทธศาสตร์ การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่สอดคล้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดิน
8.สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทบทวนและจัดทำข้อเสนอเป้าหมาย และยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่สอดคล้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดิน
9.คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบนโยบายงบประมาณ วงเงิน โครงสร้าง งบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณฯ ที่สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดินและวงเงินรายจ่ายขั้นต่ำที่จำเป็นและรายจ่ายตามข้อผูกพัน
10.รองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบ/รัฐมนตรีมอบนโยบายให้กระทรวงส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐจัดทำเป้าหมายและยุทธศาสตร์กระทรวงที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การจัดสรรฯ ตามที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
11.ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐจัดทำรายละเอียดวงเงินและคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ ที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการประจำปี และจัดทำประมาณการรายได้ประจำปีเสนอรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบและส่งสำนักงบประมาณ
12.สำนักงบประมาณพิจารณาและจัดทำรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปี
13.คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พร้อมหลักเกณฑ์การปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายประจำปี
รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีเจ้าสังกัด มอบนโยบายให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและส่งสำนักงบประมาณ
14.สำนักงบประมาณพิจารณาปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี
15.คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายประจำปี
16.สำนักงบประมาณจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และเอกสารงบประมาณ
17.คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีและนำเสนอสภาผู้แทนราษฎร
18.สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาในวาระที่ 1, 2, 3
19.วุฒิสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
20.นายกรัฐมนตรี นำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป


หลักเกณฑ์และกระบวนการในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี

ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้กำหนดหลักเกณฑ์และกระบวนการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1.การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร จะต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 105 วัน นับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมาถึงสภาผู้แทนราษฎร ถ้าไม่เสร็จภายในกำหนด โดยมีวาระการพิจารณา 3 วาระ คือ
วาระที่ 1 เป็นวาระพิจารณาหลักการ : ในการรับหรือไม่รับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยมีรายละเอียดการใช้จ่ายต่าง ๆ ตามเอกสารงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่เสนอแนบมาด้วย ดดยถ้าวาระที่พิจารณาแล้วไม่รับหลักการ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณฯ เป็นอันตกไป เมื่อพิจารณาแล้วรับหลักการก็จะนำเข้าสู่วาระที่สอง
วาระที่ 2 ขั้นกรรมาธิการ : สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจะแปรญัตติเพิ่มเติมรายการหรือจำนวนในรายการมิได้ แต่อาจแปรญัตติในทางลดหรือตัดทอนรายจ่ายได้ แต่ต้องมิใช่รายจ่ายตามข้อผูกพัน ดังนี้
1) เงินส่งใช้ต้นเงินกู้
2) ดอกเบี้ยเงินกู้
3) เงินที่กำหนดให้จ่ายตามกฎหมาย
วาระที่ 3 เป็นวาระพิจารณารับร่างพระราชบัญญัติทั้งฉบับ : เมื่อการพิจารณาร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปีในวาระสองผ่านไปแล้ว ในการพิจารณาในวาระที่ 3 จะเป็นการพิจารณารับหรือไม่รับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีทั้งฉบับ เมื่อพิจารณาแล้วไม่เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณเป็นอันตกไป หากสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบรับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ก็จะนำเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาต่อไป
2.การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีของวุฒิสภา
1) วุฒิสภาต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบภายใน 20 วันนับแต่วันที่ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณนั้นมาถึงวุฒิสภา โดยจะแก้ไขเพิ่มเติมใด ๆ มิได้ ถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวถือว่าวุฒิสภาให้ความเห็นชอบในทางปฏิบัติ เมื่อสภาผู้แทนราษฎรรับหลักการแห่งร่างพระราชบัญญัติงบประมาณฯ ในวาระที่ 1 แล้ว วุฒิสภาจะตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นพิจารณาไปพร้อม ๆ กับสภาผู้แทนราษฎร และเมื่อสภาผู้แทนราษฎรได้ส่งร่างพระราชบัญญัติงบประมาณนั้นมายังวุฒิสภา ประธานวุฒิสภาจะส่งร่างพระราชบัญญัติงบประมาณนั้นให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 15 วัน (ดูข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา ข้อ 154-155)
2) การพิจารณาของวุฒิสภามี 2 กรณี คือ เห็นชอบและไม่เห็นชอบ เมื่อวุฒิสภาพิจารณาแล้วไม่ให้ความเห็ฯชอบ สภาผู้แทนราษฎรอาจยกร่างพระราชบัญญัติขึ้นพิจารณาใหม่ได้ทันที และเมื่อสภาผู้แทนราษฎรยืนยันร่างเดิมด้วยคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ให้ถือว่าได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรแล้ว
ร่างพระราชบัญญัติที่วุฒิสภาพิจารณาแล้วให้ความเห็นชอบ นายกรัฐมนตรีจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ภายใน 20 วัน นับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณจากรัฐสภา เพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศในราชกิจจานุเบกษาบังคับใช้เป็นกฎหมาย
ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า งบประมาณรายจ่ายของแผ่นดิน เปรียบเสมือนแผนการใช้จ่ายของรัฐบาล และจัดหารายรับให้เพียงพอกับการใช้จ่าย ดังนั้น การจัดทำงบประมาณแผ่นดินจึงเป็นสิ่งสำคัญ และจำเป็นเพื่อให้รัฐบาลมีการวางแผนที่จะดำเนินการไว้ล่วงหน้า ในการนำงบประมาณมาบริหารประเทศ รวมทั้งเป็นแนวทางในการวางแผนการใช้จ่ายของหน่วยงานต่าง ๆ และยังช่วยให้รัฐบาลสามารถดำเนินการในการใช้งบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปอย่างถูกต้องตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รวมทั้งก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการบริหารประเทศ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 (รวมฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2, 3, 4, 5, 6)
ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 (แก้ไขเพิ่มเติม) กำหนดในมาตรา 5 ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชบัญญัติและให้มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ ทั้งนี้ตามอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวกับสำนักนายกรัฐมนตรี หรือกระทรวงการคลังแล้วแต่กรณี
งบประมาณของส่วนราชการ
งบประมาณของส่วนราชการ ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 (รวมฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2, 3, 4, 5, 6) กำหนดไว้ว่า ให้หัวหน้าส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ผู้หนึ่งเป็นเจ้าหน้าที่งบประมาณ มีหน้าที่เกี่ยวกับงบประมาณของส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจนั้น (มาตรา 12) และให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดของส่วนราชการมีหน้าที่รับผิดชอบในการยื่นงบประมาณประจำปีของส่วนราชการต่อผู้อำนวยการภายในเวลากำหนด (มาตรา 13) นอกจากนั้น ในการโอนงบประมาณรายจ่ายกำหนดไว้ให้ส่วนราชการตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม จะโอนหรือนำไปใช้สำหรับส่วนราชการอื่นมิได้เว้นแต่ (1) มีพระราชบัญญัติให้โอนหรือนำไปใช้ได้ (2) ในกรณีที่มีพระราชกฤษฎีการวมหรือโอนส่วนราชการเข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะมีผลเป็นการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นใหม่หรือไม่ก็ตามให้โอนงบประมาณรายจ่ายของส่วนราชการที่ถูกโอน หรือรวมเข้าด้วยกันเป็นของส่วนราชการ หรือหน่วยงานที่รับโอนหรือรวมเข้าด้วยกัน หรือส่วนราชการแล้วแต่กรณี ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา (มาตรา 18) สำหรับส่วนราชการตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม พระราชบัญญัติโอนเงินงบประมาณรายจ่ายหรือพระราชกฤษฎีกา จะโอนหรือนำไปใช้ในรายการอื่นมิได้ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้อำนวยการ แต่ผู้อำนวยการจะอนุญาตมิได้ในกรณีที่เป็นผลให้เพิ่มเติมรายจ่ายประเภทเงินราชการลับหรือเป็นงานหรือโครงการใหม่เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (มาตรา 19)
การควบคุมงบประมาณ ตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2505 (รวมฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) กำหนดไว้ดังนี้
ให้รัฐมนตรีเป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมงบประมาณเพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมาย (มาตรา 21) และกำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจเรียกให้ส่วนราชการเสนอ ข้อเท็จจริงตามที่เห็นสมควร และให้มีอำนาจมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสรรพสมุด บัญชี เอกสาร และหลักฐานต่าง ๆ ของส่วนราชการ นอกจากนั้นในกรณีมีความจำเป็นและเร่งด่วน (มาตรา 22) และให้คณะรัฐมนตรีมีอำนาจอนุมัติให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมก่อนได้รับเงินประจำงวดหรืออนุมัติให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจก่อหนี้ผูกพันเกินกว่าหรือนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมได้ (มาตรา 23 วรรค 3) นอกจากนั้น เงินที่ส่วนราชการได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ไม่ว่าจะได้รับตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ หรือได้รับชำระตามอำนาจหน้าที่หรือสัญญาหรือได้รับจากการให้ใช้ทรัพย์สินหรือเก็บดอกผลจากทรัพย์สินของราชการ ให้ส่วนราชการที่ได้รับเงินนั้นนำส่งคลังตามระเบียบหรือข้อบังคับที่รัฐมนตรีกำหนด เว้นแต่จะมีกฎหมายกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ในส่วนของเงินที่มีผู้มอบให้โดยมีวัตถุประสงค์ให้ส่วนราชการใช้จ่ายในกิจการของส่วนราชการ ให้ส่วนราชการจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันภายในวงเงินที่ได้รับนั้นได้ โดยไม่ต้องนำส่งคลัง เช่นเดียวกับเงินที่ได้รับตามโครงการช่วยเหลือหรือร่วมมือกับรัฐบาลต่างประเทศ องค์การสหประชาชาติ ทบวงการชำนัญพิเศษแห่งสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศ หรือบุคคลไม่ว่าจะเป็นเงินให้กู้หรือให้เปล่า ที่ไม่ต้องนำส่งคลังก็ได้ (มาตรา 24)
ลักษณะของงบประมาณ กำหนดไว้ในมาตรา 8, 9 และมาตรา 9 ทวิ โดยกำหนดไว้ว่า งบประมาณประจำปีที่เสนอต่อรัฐสภานั้น โดยปกติจะประกอบด้วย คำแถลงประกอบงบประมาณแสดงฐานะและนโยบายการคลังและการเงิน สาระสำคัญของงบประมาณและความสัมพันธ์ระหว่างรายรับและงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง รายรับรายจ่ายเปรียบเทียบ คำอธิบายเกี่ยวกับประมาณการรายรับ คำชี้แจงเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้ง รายงานการรับจ่ายเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้มอบให้เพื่อช่วยราชการ ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี เป็นต้น (มาตรา 8)
การเสนองบประมาณ ถ้าประมาณการรายรับประเภทรายได้ตามอำนาจกฎหมายที่มีอยู่แล้วเป็นจำนวนต่ำกว่างบประมาณรายจ่ายที่ขอตั้งให้แถลงวิธีหาเงินส่วนที่ขาดดุลย์ต่อรัฐสภา แต่ถ้าเป็นจำนวนสูงกว่าก็ให้แถลงวีที่จะจัดการแก่ส่วนที่เกินดุลย์นั้นในทางที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง (มาตรา 9) และเมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมใช้บังคับแล้ว หรือเมื่อมีกรณีที่ต้องใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณที่ล่วงแล้วไปพลางก่อน ถ้ารายจ่ายสูงกว่ารายได้ให้กระทรวงการคลังมีอำนาจกู้เงินได้ตามความจำเป็น แต่ในการกู้เงินในปีหนึ่ง ๆ ต้องไม่เกินร้อยละยี่สิบของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หรือของจำนวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ล่วงแล้วมา และร้อยละแปดสิบของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำหรับชำระคืนต้นเงินกู้ (มาตรา 9 ทวิ)

ภาษีอากร
ข้อมูลจากกรมสรรพากร, รายงานประจำปี 2552  http://download.rd.go.th/
การเก็บภาษี มีผลให้เงินในระบบเศรษฐกิจลดลง ทำให้การผลิต การจ้างงาน และรายได้ในระบบเศรษฐกิจลดลง
ภาษีคือ สิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎร และนำมาใช้เพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม โดยมิได้มีสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษี
ฐานภาษี คือ สิ่งที่ใช้เป็นฐานในการประเมินภาษีตามอัตราภาษีที่กำหนดไว้ เช่น
1.             ฐานภาษีที่เกี่ยวกับรายได้ ภาษีจะคำนวณจากรายได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งของผู้มีเงินได้ เช่น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล
2.             ฐานภาษีที่เกี่ยวกับการบริโภค ภาษีจะเก็บจากการใช้จ่ายในการบริโภคในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต (เช่น สุรา บุหรี่)
3.             ฐานภาษีที่เกี่ยวกับความมั่งคั่ง ภาษีจะเก็บจากทรัพย์สินที่มี ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ภาษีที่ดิน ภาษีโรงเรือน ภาษีรถยนต์

โครงสร้างอัตราภาษี

1.             อัตราภาษีแบบก้าวหน้า คือ ภาษีที่อัตราภาษีที่จัดเก็บจะเพิ่มขึ้นเร็วกว่าฐานภาษีที่เพิ่มขึ้น
2.             อัตราภาษีตามสัดส่วน คือ ภาษีที่อัตราภาษีที่จัดเก็บจะคงที่เมื่อฐานภาษีเปลี่ยนไป
3.             อัตราภาษีแบบถดถอย คือ ภาษีที่อัตราภาษีที่จัดเก็บจะลดลงเมื่อฐานภาษีเพิ่มขึ้น

ผลกระทบโดยทั่วไปของภาษี

1.             การโยกย้ายทรัพยากรจากภาคเอกชนมายังรัฐบาล มีผลให้ทรัพยากรของภาคเอกชนมีน้อยลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการบริโภค การออม และการลงทุน
2.             ผลกระทบต่อผลผลิตประชาชาติ มีผลให้รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นหรือลดลง เช่น การเก็บภาษีเงินได้ในอัตราก้าวหน้า อาจทำให้รายได้ของผู้ถูกเก็บภาษีลดน้อยลง ผู้ถูกเก็บภาษีอาจจะทำงานน้อยลง มีผลให้ผลผลิตประชาชาติลดลง หรือ ภาษีบางประเทศ เช่น การเก็บภาษีรัชชูปการจากผู้ที่บรรลุนิติภาวะปีละ 400 บาท ซึ่งมีผลให้ประชาชนบางคนต้องทำงานมากขึ้นเพื่อนำมาเสียภาษี ทำให้ผลผลิตประชาชาติเพิ่มขึ้นได้
3.             ผลกระทบต่อการจ้างงาน  การเก็บภาษีจะทำให้การใช้จ่ายของเอกชนลดลง สินค้าและบริการก็จะขายไม่หมด ธุรกิจจะลดการผลิต และลดการจ้างงานลงได้
4.             ผลกระทบต่อการกระจายรายได้ รัฐบาลอาจใช้ภาษีเงินได้ในอัตราก้าวหน้า ทำให้ผู้มีรายได้มากต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าผู้ที่มีรายได้น้อย ทำให้รายได้หลังหักภาษีแล้วมีความใกล้เคียงกันมากยิ่งขึ้น ลดช่องว่างของรายได้ของประชากรลง
5.             ผลกระทบต่อเงินเฟ้อ เมื่อรัฐบาลเก็บภาษีจะเป็นการดึงเงินจากระบบเศรษฐกิจมาไว้ที่รัฐบาล ซึ่งหากรัฐบาลเก็บเงินภาษีไว้ ก็จะทำให้เงินในระบบเศรษฐกิจลดน้อยลง ซึ่งจะลดปัญหาเรื่องเงินเฟ้อได้

ลไกภาษีต่อระบบเศรษฐกิจ
มาตรการภาษีที่น่าสนใจซึ่งออกใหม่ในปี 2552 มีทั้งมาตรการที่ให้การยกเว้นภาษีสำหรับกรณีต่าง ๆ ให้แก่ บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล การเพิ่มจำนวนค่าลดหย่อน ค่าใช้จ่ายสำหรับบุคคลธรรมดา และรายจ่ายเพิ่มพิเศษให้แก่นิติบุคคล สาระสำคัญของมาตรการเหล่านี้ที่เห็นควรจะนำมาเสนอไว้ในที่นี้ มีดังนี้
1. ค่าลดหย่อนให้เพิ่มสำหรับบุคคลธรรมดาผู้อุปการะเลี้ยงดู ผู้พิการหรือ ผู้ทุพพลภาพที่ได้มากถึง 60,000 บาท ต่อผู้พิการ หรือผู้ทุพพลภาพที่รับเลี้ยงดู โดยมีเงื่อนไขที่คุณสมบัติของผู้ถูกรับเลี้ยงดูว่า ต้องเป็นผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ หรือเป็นผู้ที่ได้รับการรับรองจากแพทย์ว่า ทุพพลภาพและที่สำคัญต้องเป็นผู้มีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ (มีเงินได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี) ด้วย ทั้งนี้ รายละเอียด หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข สามารถอ่านได้จาก พ.ร.บ. แก้ไข เพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 37) พ.ศ. 2552
2. การยกเว้นไม่ต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 ซึ่งมีพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 480) พ.ศ. 2552 วางหลักเกณฑ์กำหนดไว้ว่า หากผู้มีเงินได้มีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 1 ล้านบาทในปีภาษีที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณ ผู้มีเงินได้ไม่ต้องนำเงินได้พึงประเมินนั้นมาคำนวณตามวิธีที่สอง เพราะฉะนั้น ในทางตรงกันข้าม หากเงินได้พึงประเมินดังกล่าวเกินกว่า 1 ล้านบาท ผู้มีเงินได้ต้องคำนวณภาระภาษีของตน ตามวิธีที่ 1 และ วิธีที่ 2 เพื่อเปรียบเทียบภาระภาษีอย่างใดสูงกว่าจึงเสียภาษีตามที่สูงกว่านั้น
3. การยกเว้นภาษีเงินได้ให้กับบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital หรือ VC) สำหรับเงินได้จากการโอนหุ้นในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ VC  ถือหุ้นอยู่ หลักเกณฑ์ เงื่ อนไข และรายละเอียดสามารถอ่ านได้จากพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 481) พ.ศ. 255
4. การยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับ     เงินได้ที่ได้รับจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ได้ทำความตกลงกับสถาบันการเงิน และยกเว้นภาษี มูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับการโอนกิจการบางส่วนให้แก่กัน ซึ่งหมายถึงจำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการปลดหนี้ จากการโอนกิจการบางส่วนระหว่างนิติบุคคลต่าง ๆซึ่งการจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีดังกล่าว จะต้องพิจารณาเงื่อนไข และเงื่อนเวลาตามที่กำหนดไว้ใน พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 483) พ.ศ. 2552 และพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 484) พ.ศ. 2552
5. การให้นำรายจ่ายค่าซื้อบ้านมาใช้ตัดฐานเงินได้พึงประเมินจำนวนไม่เกิน 300,000 บาท สำหรับผู้มีเงินได้ที่จ่ายค่าซื้อบ้านดังกล่าว และได้โอนกรรมสิทธิ์ในบ้านนั้น ภายในช่วงเวลาระหว่าง 1 มกราคม พ.ศ. 2552 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2552 และที่สำคัญหลังจากนั้น ห้ามมิให้ผู้นั้นโอนกรรมสิทธิ์บ้านหลังดังกล่ าวต่ อไปยังบุคคลอื่ นเป็นระยะเวลา 3 ปี นับแต่ วันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์นั้น รายละเอียด หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข สามารถอ่านได้จากกฎกระทรวง ฉบับที่ 271 (พ.ศ. 2552)ฯ ลงวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552
6. การเพิ่ มรายจ่ ายทางภาษีอากรให้กับบริษัท หรือห้างหุ้นส่ วนนิติบุคคลเป็นจำนวน 2 เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปจริงเพื่อเป็นค่าห้องสัมมนา และค่าห้องพัก ในการอบรมสัมมนาภายในประเทศที่จัดให้กับลูกจ้างของบริษัท โดยให้บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถใช้ สิทธิได้เพียง 1 รอบระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 482) พ.ศ. 2552
7. การเพิ่มรายจ่ายทางภาษีอากรให้กับบุคคลธรรมดา บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นจำนวน 1.25 เท่า ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าซื้ออุปกรณ์ เครื่องจักรที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ซึ่งหมายความถึงอุปกรณ์ประหยัดพลังงานต่าง ๆ ที่ได้นำมาใช้ในกิจการซึ่งมีคุณสมบัติประหยัดพลังงาน ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่วางไว้ภายใต้พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 487) พ.ศ. 2552 ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 180) เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทวัสดุอุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ที่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ลงวันที่  24 มิถุนายน พ.ศ. 2552
Highlights of new tax measures introduced in 2009 include tax exemptions for individuals and companies, increase in deduction allowances and expenses for individuals and special expense
deductions for companies. These can be summarised as follows:
1. Increase of tax deduction allowance to 60,000 baht for individual caring for disabled persons.  This allowance applies to the disabled who owns disabled identity card according to the law of promoting and improving the life quality of the disabled or is certified by a doctor as being “disabled”. Most importantly, the income of the disabled must not exceed 30,000 baht in the year.  Please refer to Royal Act amending the Revenue Code (No. 37) B.E. 2552.
2. Those with assessable income not exceeding 1 million baht in the tax year do not have to calculate tax payable according to Method 2 (Royal Decree (No. 480) B.E. 2552). Taxpayers with assessable income exceeding 1 million baht have to calculate their tax liabilities according to both Methods 1 and 2 and pay the amount of tax that is higher.
3.  Income tax exemption for companies engaged in venture capital (VC) on income derived from transfer of shares in SMEs.  Please refer to Royal Decree (No. 481) B.E. 2552
4.Exemption of income tax, value added tax, specific business tax and stampduty on income form debt restructuring that was made with financial institutions andexemption of value added tax, specific business tax and stamp duty on amalgamationsfalling under Royal Decrees (No. 483 and 484) B.E. 2552.  Money or assets received from debt discharge as a result of some parts of amalgamations between companies
will qualify for this tax exemption.
5.  A taxpayer who purchases his home and transfers ownership from 1 January to 31 December 2009 may deduct the purchase expenditure as deductible expense in an amount not exceeding 300,000 baht.  Among other conditions, the taxpayer cannot transfer ownership to other persons for 3 years from the ownership registration date.  Please refer to Ministerial Regulation No. 271 (B.E. 2552) dated 30 March 2009.
6.  Increase of deductible expenses for juristic persons to twice the amount of actual expenses paid for seminar room and accommodation used in seminars or training courses in Thailand that are organised for their employees. The juristic persons are entitled to use this benefit for only one accounting period.(Royal Decree (No. 482)B.E. 2552)
7.  Increase of deductible expenses for individuals and juristic persons to 1.25 times of the purchase of energy saving equipment and machinery. Such energy saving equipment must fall under Royal Decree (No. 487) B.E. 2552 and Notification of theDirector-General of the Revenue Department on Income Tax (No. 180) Subject: Criteria, procedures and conditions of income tax exemption for income paid as expense in obtaining assets that are supplies, equipment or machinery having an impact on saving energy dated 24 June 2009.

Comments

Popular posts from this blog

A. เว็บไซต์ข่าวสาร - หน้าแรก

งานวิจัยปี 2562 การประเมินความต้องการจำเป็นของชุมชนเพื่อการพัฒนาความสามารถต่อ การเพิ่มมูลค่าวิสาหกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดนครนายก

Community Development and Community enterprise