Article for education ; Sociological principle

ารพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและการมือง; การประยุกต์แนวคิดสังคมวิทยา

ศุภวัฒน์ ปภัสสรากาญจน์ ; Supwat Papasarakan

1.            ารพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม; การประยุกต์แนวคิดสังคมวิทยา

ปรากฏการณ์ความไร้ระเบียบทางสังคมของสังคมเมืองในปัจจุบันที่จะยกมาเป็นกรณีตัวอย่าง เป็นปัญหาพื้นฐานที่เห็นได้ทั่วไป แต่มีความสำคัญและสามารถส่ง ผลต่อเนื่องไปยังปัญหาอื่นๆได้
กรณี ปัญหาการจอดรถสาธารณะเพื่อรอรับผู้โดยสารเป็นเวลานานๆริมฟุตบาท บริเวณที่ห้ามจอด ป้ายรถประจำทาง ทางเข้าออกของสถานีขนส่ง ศูนย์การค้า และขอบทางซึ่งมีผู้คนหนาแน่น จุดประสงค์หลักเพื่อรอรับผู้โดยสาร เป็นปัญหาทางสังคมที่เกิดจากผลพวงการพัฒนาเศรษฐกิจ และการขยายตัวของ เมืองในรูปแบบการ เชื่อมโยงเพื่อการทำหน้าที่ต่างๆ  
การพัฒนาความเป็นเมืองของประเทศไทย เป็นผลจากเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และจุดประสงค์ที่จะขยายความเป็นเมืองเพื่อรองรับการพัฒนาดังกล่าว อันเป็นการกระทำตาม แนวคิดการพัฒนาเมืองและชนบท ทั้งนี้ เพื่อต้องการให้เมืองทำหน้าที่ในการรองรับการขยายตัวของ การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เมืองจะทำหน้าที่ต่างกันออกไปได้แก่ เมืองหลัก เมืองรอง จะทำให้เกิดการเชื่อมยงของตลาดการค้า การระบายผลผลิต การเป็นศูนย์กลางของระบบโครงสร้างพื้นฐาน หน่วยงานกลาง และหน่วยงานสนับสนุนการพัฒนา  การบริการ และกิจกรรมอื่นๆ
                   แต่การพัฒนาสิ่งดังกล่าวข้างต้น เป็นการพัฒนาเพียงด้านเดียวโดยไม่ได้คำนึงถึง ค่านิยมของ ความไร้ระเบียบที่มีอยู่ในสังคมแบบปฐมภูมิ
แนวคิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เสนอว่า การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นปรากฎการณ์ที่ยากจะหลีกเลี่ยง หากคนในสังคมไม่มีการปรับตัว ก็ยากที่จะใช้ชีวิตในสังคมที่มีลักษณะของการเปลี่ยนแปลง และยังได้เสนออีกว่า
1. การเปลี่ยนแปลงสังคม ต้องเปลี่ยนที่โครงสร้างทางสังคม    เปลี่ยนทั้งระบบ   ครบทุกด้าน
 2. เปลี่ยนที่ส่วนย่อย   เริ่มจากส่วนเล็ก   ส่วนใดส่วนหนึ่ง   และค่อย ๆขยายกลายเป็นส่วนใหญ่
ภายหลัง
                นอกจากนั้น  ยังมองว่า โครงสร้างทางสังคมเป็นโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม ของทุกอย่างได้แก่
1) บรรทัดฐาน (Norms)
1.1) รูปแบบพฤติกรรมที่เป็นพื้นฐานของทุกพฤติกรรม
-วิถีชีวิต
-กฎศีลธรรม
-กฏหมาย
1.2)  ตำแหน่งในสังคม
-สถานภาพตั้งแต่เกิด
-เพศ ระบบเครือญาติ
-สถานภาพภายหลัง
1.3)  บทบาทหน้าที่รับผิดชอบตามสถานภาพ
1.4)  ระบบ ความสัมพันธ์ที่รูปแบบที่ชัดเจนมีวิธีการที่สอดคล้องกับเป้าหมาย

  2) ระบบความสัมพันธ์ในสังคมจะมี 2 ลักษณะคือ
ลักษณะปฐมภูมิ ความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด สนิทสนมแบบไม่เป็นทางการไม่ถือเนื้อถือตัวเป็นกันเอง ไม่มีกฏระเบียบตายตัว พึ่งพาอาศัยกัน รับใช้กลุ่มคนจำนวนน้อย  
ลักษณะทุติยภูมิ ความสัมพันธ์ขึ้นอยู่กับกฎระเบียบเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่เป็นความสำคัญ
แบบทางการ ถ้าประเทศจะเจริญต้องอยู่แบบทุติยภูมิ
                แนวคิดข้างต้น หากจะพิจารณาความสัมพันธ์ 2 ลักษณะคือลักษณะ ปฐมภูมิและ ลักษณะทุติยภูมิ จะสามารถอธิบายได้ว่า การขยายตัวของเมืองทำให้เกิดลักษณะความเจริญเติบโตของเมือง แต่ลักษณะของ สังคมที่มีค่านิยมแบบปฐมภูมิยังคงดำรงอยู่และไม่สามารถขจัดห้หมดไป แต่มีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ความเป็นสังคมทุติยภูมิแต่เปลือกนอกที่ต้องมีบรรทัดฐานมาใช้เป็นพื้นฐานของทุกพฤติกรรม เช่น ระเบียบ กฎหมาย รวมถึงจิตสำนึกของความมีวินัย
เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะเห็นปรากฏการณ์ของปัญหาดังที่ยกมาเป็นกรณีตัวอย่างได้ทั่วไป ในสถานที่ที่มีชุมชนหนาแน่นเช่น การจอดรถสาธารณะประเภทรถเท็กซี่ ซึ่งจะจอดเรียงรายกันเพื่อรอรับผู้โดยสารตามป้ายรถประจำทาง หน้าศูนย์การค้า หน้าสถานศึกษา ซึ่งผู้โดยสารอาจเรียกใช้บริการอัน เนื่องจากความจำเป็นเร่งด่วน และไม่สามารถรอรถโดยสารประจำทางได้เป็นเวลานานๆ    ทำให้เกิดปัญหา การจอดรถเทียบท่าของรถโดยสารประจำทางเพื่อรับส่งผู้โดยสาร ไม่อาจกระทำได้ ต้องจอดเทียบท่าในบริเวณ ทางสัญจรของยานพานะทั่วไป เกิดการจราจรไม่คล่องตัว และติดขัดเป็นบริเวณกว้าง ประการที่สอง มักเกิดอุบัติเหตุจาการขึ้นลงของผู้โดยสาร เนื่องจาก รถประจำทางทั่วไปต้องจอดและรับส่งผู้โดยสารในเวลาที่จำกัด ทำให้ผู้โดยสาร ต้องรีบวิ่งขึ้นหรือลงท่ามกลางรถการสัญจรไปมาของยานพาหนะตามทางสัญจรดังกล่าว
                อีกประการหนึ่ง ปัญหาที่มักพบบ่อยคือ ปัญหาการจอดรถเป็นเวลานานๆของรถโดยสารประจำทางโดยเฉพาะรถโดยสารประเภทร่วมบริการของภาคเอกชน เพื่อรอรับผู้โดยสาร ทั้งนี้เป็นผลมาจาก การต่อสู่แข็งขันด้านเศรษฐกิจของรถโดยสารประเภทรถร่วมบริการจากภาคเอกชน ที่ไม่ได้รับการสนับสนุนเงินจากรัฐ รวมถึงการตั้งเป้าหมายด้านรายได้ในแต่ละรอบของการวิ่งรับผู้โดยสาร   ทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด แม้กระทั่งเวลาเร่งด่วน หรือช่วงเวลาที่มีความหนาแน่นของทั้งการจราจรและผู้คน(การแข็งขัน และการตั้งเป้าด้านรายได้ ทำให้เกิดการแย่งชิงผู้โดยสาร ก่อให้เกิดการใช้ความเร็วในการขับขี่เพื่อผล ดังกล่าว  สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปรากฏการณ์ที่มักพบบ่อยคือ อุบัติเหตุเนื่องจากรถโดยสารร่วมบริการจากภาคเอกชน)   
                โดยสรุป การพัฒนาความเป็นเมืองที่เน้นการรองรับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเชื่อมโยง เพื่อทำหน้าที่ของเมืองหลักและ เมืองรอง ยังคงลักษณะโครงสร้างทางสังคมแบบปฐมภูมิ ทำให้ไม่สามารถปลูกฝังบรรทัดฐาน อันเป็นรูปแบบพฤติกรรมของทุกคนได้ จึงปรากฎความสัมพันธ์ ที่ไม่เน้นกฎระเบียบ จึงไม่สามารถสร้างค่านิยมของความมีวินัยให้เกิดขึ้น
ทั้งนี้ อาจมีข้อโต้แย้งว่า การพัฒนาข้างต้น ได้กำหนดรูปแบบของบรรทัดฐานมาก่อนหน้านี้ ซึ่งได้แก่ กฎหมาย ระเบียบข้อบังคับที่กำหนดพฤติกรรมคนในสังคมให้ปฏิบัติ แต่พฤติกรรมดังกรณีที่ยกตัวอย่าง ดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนบรรทัดฐานที่ได้กำหนดโดยรัฐ หรือท้องถิ่นแต่ละแห่ง
อธิบายได้ว่า โครงสร้างทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น ไม่ได้ลดอิทธิพลของความสัมพันธ์ แบบปฐมภูมิลงไป แต่ยังคงอยู่ในลักษณะฝังตัวและบูรณาการ ภายในโครงสร้างสังคมใหม่ที่มีรูป แบบแบบทุตยภูมิ โดยอาจมาจากการย้ายถิ่นฐานของชุมชนในสังคมเมืองสู่เมืองใหม่หรือเมืองเดิม รวมทั้งคนจากชุมชนชนบท เข้าสู่เมืองใหม่หรือเมืองหลัก เกิดการสร้างสังคมผสมผสานระหว่าง ความสัมพันธ์ แบบ ปฐมภูมิ และทุตยภูมิ ในลักษณะแนบแน่น(โดยอาจมีการแบ่งแยกเป็นลำดับชั้นทางสังคมเพื่อการทำหน้าที่ต่างๆ ทำให้เกิดการแสดงพฤติกรรมที่ผสานระหว่างค่านิยมสองแบบ
                ดังนั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นข้างต้นสามารถแก้ไขได้โดยการสร้างค่านิยมใหม่ ทำให้เกิดบรรทัดฐาน ที่กำหนดรูปแบบพฤติกรรมของทุกคนร่วมกัน ในลักษณะความ มีวินัยภายใต้ระบบ ความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิ และการการอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่นในลักษณะทุติยภูมิ (ซึ่งทำได้ยาก แต่ไม่ได้หมายความว่าทำไม่ได้ อยู่ที่ว่าผู้ที่มีส่วนในการแก้ปัญหาจะกระทำหรือไม่ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่ กับผลประโยชน์ของสิ่งที่ทำ)
2.            ารพัฒนาการเมือง; การประยุกต์แนวคิดสังคมวิทยา
ปรากฏการณ์ในการพัฒนาการเมืองของไทยปัจจุบันดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้จากการ กำหนด บรรทัดฐาน ที่กำหนด พฤติกรรม ของคนในสังคมร่วมกันเป็นภาพรวม เช่น สถาบันพัฒนาการเมือง ระเบียบข้อบังคับที่กำหนดพฤติกรรมและรูปแบบวิธีการดำเนินการ การทำกิจกรรม และการแสดงออกทางการเมืองอันได้แก่ การออกเสียงเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมใดๆ ทางการเมืองเช่น การมีส่วนร่วมในการแสดง การเสนอแนะความคิดเห็น การมีส่วนร่วมในการโต้แย้ง คัดค้านรัฐในเรื่องหรือ ด้านต่างๆที่เห็นว่ามีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต ผลประโยชน์ และอื่นๆของตนและผู้อื่นในสังคม
จากแนวคิดทางสังคมวิทยาในข้อ 2)  ต่อการพัฒนาการเมือง โดยเฉพาะลักษณะความ สัมพันธ์ทางสังคมแบบปฐมภูมิและแบบทุติยภูมิ  ทั้งนี้ แนวคิดที่นำเสนอภายใต้ลักษณะความสัมพันธ์ แบบปฐมภูมิคือแนวคิดระบบอุปถัมภ์  ซึ่งบางแนวคิดมองว่า ระบบอุปถัมภ์ เป็นระบบที่เป็นอุปสรรค ของการพัฒนาการเมือง ของไทยสมควรเลิกไป แนวคิดตรงข้าม มองเห็นความสำคัญของระบบดังกล่าวแต่ ต้องสร้างให้ระบบเกิดคุณธรรมและจริยธรรม จึงจะสามารถนำไปสู่การพัฒนาการเมืองที่ดีได้
                แนวทางแรกที่นำเสนอให้พยายามล้างระบบอุถัมภ์ในสังคมไทยให้หมดไป ดูเหมือนว่าจะเป็นไปไม่ได้ ทั้งนี้ ความคิดดังกล่าวน่าจะมาจากความไม่เข้าใจวิถีการดำเนินของสังคม ที่มีวิถีความคิดและการดำเนินชีวิต ที่แข็งแกร่งกว่าระบบราชการของไทย(ซึ่งยังใช้ระบบอุปถัมภ์เป็นกลไกในการสร้างความแข็งแกร่ง) ความแข็งแกร่งดังกล่าวมาจากการถ่ายทอด การขัดเกลา การส่งต่อ การบังคับและอื่นๆ ที่ดำเนินเนินการด้วยวิถีทางสังคม 
                แนวทางที่สอง นำเสนอถึงความพยายามสร้างระบบอุปถัมภ์ที่มีคุณธรรมแทนระบบอุปถัมภ์สามานย์ที่ เป็นอยู่ และเป็นอุปสรรคของการพัฒนาการเมือง โดยนำเสนอถึงแนวคิดการสรรหาผู้นำทางสังคมภายใต้ ระบบอุปถัมภ์ ที่มีคุณธรรมเข้าสู่ ระบบตัวแทนทางการเมือง  ซึ่งสิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องสร้างจริยธรรมทาง การเมืองในภาคประชาชนให้เกิดขึ้นด้วย
                อย่างไรก็ตาม ในสังคมปฐมภูมิ ซึ่งมีความสัมพันธ์แบบใกล้ชิด สนิทสนมในลักษณะไม่เป็นทางการ ไม่ถือเนื้อถือตัวเป็นกันเอง ไม่มีกฏระเบียบตายตัว พึ่งพาอาศัยกัน รับใช้กลุ่มคนจำนวนน้อย  เป็นปรากฏการณ์ ที่เห็นได้ในความเป็นจริง โดยสะท้อนให้เห็นจากจารีตประเพณี ที่มีการให้ผลตอบแทนแม้ว่าปัจจุบันจะ มีลักษณะผสมผสานผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจที่เป็นตัวเงินอยู่ก็ตาม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็น การผสานระหว่างวัฒนธรรมเก่ากับวัฒนธรรมใหม่ที่เรียกว่าวัฒนธรรมทุนนิยม อันมีลักษณะเข้ากันได้อย่างผสมกลมกลืน แต่หากมีการตั้งประเด็นคำถามขึ้นมาว่า มันก่อให้เกิดผลเสียหายหรือไม่  คำตอบคือ เกิดความเสียหายขึ้นแน่นอน เนื่องจากจะทำให้เกิดการก่อรูปแบบค่านิยม การบริโภค และนิยมวัตถุภายใต้ลักษณะปฐมภูมิ ที่มีลักษณะไม่เป็นทางการ ง่ายๆ ไม่มีกฏเกณฑ์ตายตัว พึ่งพาอาศัยกันและสิ่งสำคัญของระบบอุถัมภ์ คือ การตอบแทนต่อบุญคุณ  การกตัญญู ซึ่งมาจากกลไก ด้านโครงสร้างของสถาบันสังคมอันได้แก่ สถาบันทางศาสนา สิ่งเหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นในสังคมที่ผสมผสานระหว่างสังคม ที่มีลักษณะปฐมภูมิ และทุติยภูมิอยู่ด้วยกัน โดยการจัดลำดับชั้นทางสังคม ด้วยการอ้างถึงหน้าที่ สถานภาพทางสังคมในเชิงโครงสร้าง  ดังนั้นจะเห็นภาพในการแสดงออกทางการเมืองในสองลักษณะภายในสังคมเมือง หรือสังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท หรือเรียกว่าบริเวณชายขอบ ซึ่งแสดงออกคล้ายกับจะสน ใจการเมืองตามแบบฉบับค่านิยมทางการเมืองที่พัฒนาแล้วกล่าวคือ พิจารณานโยบายว่าดีหรือไม่ แต่กลับเลือกตัวบุคคล เลือกคนที่ชอบ เลือกโดยเกรงใจหรือเลือกโดยสินบนเป็นต้น ทำให้เห็นถึงการกล่าวโทษ ฟ้องร้อง ว่ามีการทุจริตเลือกตั้งอยู่เนืองๆ  ทั้งนี้ไม่เว้นแม้กระทั่งในกรุงเทพฯ
                ตามที่ได้กล่าวแล้วว่า ระบบอุปถัมภ์เป็นระบบภายใต้ความสัมพันธ์ในเชิงโครงสร้างทางสังคมที่มีลักษณะง่ายๆ ไม่เป็นทางการ พึ่งพาอาศัยกันและกัน รับใช้คนส่วนน้อยทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ ดังกล่าวในทาง การเมืองที่มีมาช้านาน โดยเฉพาะการเลือกตั้ง ซึ่งสะท้อนออกมาในรูปแบบการทุจริตเลือกตั้งโดยผ่านโครงสร้างข้างต้น ไม่ว่าจะเป็นการซื้อเสียง การทุจริตนับคะแนน การรับปากว่า จะให้หรือให้ ผลตอบแทน การพนัน หวย สลากหมายเลขผู้เลือกตั้ง การจัดเลี้ยงและวิธีการอื่นๆ
                ปัจจุบัน เกิดกรณีที่นอกเหนือจากกรณีข้างต้น คือการทุจริตในเชิงนโยบายของนักการเมืองเช่น การบิดเบือนสัญญาประชาคมหรือนโยบายที่นำเสนอก่อนการเลือกตั้ง การเพิกเฉย หรือกระทำตามอำเภอใจของนักการเมือง การกระทำที่แยบยลไม่ให้ประชาชน เกิดความรู้สึกว่าการดำเนินนโยบาย ต่างๆที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น
                การพัฒนาการเมืองภายใต้ระบบอุปถัมภ์ จึงต้องกระทำท่ามกลางความสัมพันธ์ในเชิงโครงสร้างทั้งสองลักษณะ ทั้งนี้ต้องอาศัยผู้นำทางความคิดที่มีอยู่ในสังคม  ทั้งจากสังคมปฐมภูมิ ที่ได้รับการกระทำจากนโยบายการพัฒนาของรัฐเพื่อก่อให้เกิดรูปแบบค่านิยมเสรีประชาธิปไตย ผ่านกระบวนการพัฒนาเพื่อการกินดีอยู่ดีด้วยความสุข และสังคมทุติยภูมิซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลางในสังคมเมืองที่มีความรู้และจิตสำนึกของความเป็นเสรีประชาธิปไตยจากการปลูกฝังผ่านกระบวนการทางการศึกษารวมทั้ง สื่อทั้งภายในและภายนอกประเทศ  อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุด ระบบอุปถัมภ์ที่ฝังรากลึกในสังคมทุติยภูมิ ยังคงแสดงออกด้วยการกระทำ ในลักษณะต่างๆ เช่น การออกเสียงเลือกตั้งนักการเมืองผ่านความคิดเห็นของกลุ่มเพื่อนพ้อง กลุ่มที่มีความคิด เดียวกัน ตัวอย่างเช่น กลุ่มคนเสื้อแดง กลุ่มคนเสื้อเหลือง ซึ่งบางส่วนมาจากกลุ่มคนบ้านใกล้เรือนเคียง กลุ่มคนที่ทำงานและรู้จักมักคุ้น กลุ่มคนภายในชุมชนบ้านจัดสรรในเมืองหรือแถบชานเมือง ซึ่งมักนัดรวมตัวกันเพื่อทำกิจกรรมในช่วงเย็นๆหลังเลิกงาน มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนในทุกเรื่องทุกประเด็น จนทำให้เกิดความเห็นพ้อง ปรากฏการณ์ดังกล่าวมีเห็นประจำทุกวัน ทำให้เกิดลักษณะการแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มที่นิยมพรรคหรือนักการเมืองกันภายในชุมชนบ้านจัดสรรที่อยู่ในเมืองหลวงหรือเมืองรอง  แล้วใช้กระบวนการทางสังคมเป็นกลไกในการ สร้างค่านิยมให้แก่สมาชิกภายในครอบครัว ชุมชน ให้เห็นพ้องด้วย ทำให้เห็นภาพของการแบ่งแยกของกลุ่ม คนชั้นกลางออกเป็นหลายกลุ่มตามลักษณะความสนใจ แล้วใช้ระบบอุปถัมภ์ในการสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับพวกพ้องของตนเพื่อสนองความต้องการของกลุ่มตน สิ่งดังกล่าวเป็นค่านิยมอุปถัมภ์ที่ฝังอยู่ลึกๆอย่างชนิด ที่ไม่สามารถถอดถอนออกมาได้         
                ในพื้นที่ชนบท มีความพยายามในการสร้างเครือข่ายของระบบอุปถัมภ์ ที่เกิดขึ้นทั้ง จากประชาชนเอง และจากความพยายามของรัฐ  มีการแสดงถึงเจตน์จำนงที่จะพัฒนาความเข้มแข็งภาคประชาชน  โดยเป้าหมายปลายทางคือ การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการเมือง   ด้วยการอาศัยระบบอุปถัมภ์ในระดับรากหญ้าซึ่งเกิดขึ้นภายในกลุ่มเล็กๆ อาศัยความสัมพันธ์แบบง่าย ไม่เป็นทางการ  พึ่งพาซึ่งกันและกัน เพื่อผลประโยชน์ด้านการดำเนินชีวิต ซึ่งได้แก่ การเพิ่มผลผลิต การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่รอดแบบยั่งยืน (เนื่องจาก บทเรียนจากการดำเนินวิถีชีวิตตามระบบการค้าเสรีและการตลาด ทำให้เกิดการทำลาย ทรัพยากรที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตอย่างมหาศาล)
                จากระบบอุปถัมภ์ในกลุ่มเล็กๆ เช่น กลุ่มเกษตรอินทรีย์ กลุ่มเกษตรทำนาประเภทต่างๆ กลุ่มแม่บ้าน  กลุ่มสหกรณ์การเกษตร และกลุ่มอื่นๆ ได้ขยายเครือข่ายความร่วมมือแบบหลวมๆ แต่เป็นไปตามแบบฉบับของชุมชนท้องถิ่น และในที่สุดการเข้าร่วมเครือข่ายแบบหลวมๆ ค่อยๆสนิทแนบแน่นด้วยกล ไกของระบบอุปถัมป์กลายเป็นเครือข่ายที่เข้มแข็ง แต่มีแนวโน้มที่จะเป็นเสรีทุนนิยมภายใต้ความสัมพันธ์แบบปฐมภูมิมากขึ้น (อย่างไรก็ตาม แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่พยายามนำมาใช้เป็นแนวทางพัฒนา สามารถสร้างความสมดุล ระหว่าง ค่านิยมแบบดั่งเดิมและค่านิยมแบบเสรีทุนนิยมได้ในระดับหนึ่ง)
                จากแนวคิดที่เป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่มีอยู่ จึงพิจารณาได้ว่า การพัฒนาการเมือง ภายใต้แนวคิดการสร้างคุณธรรมและ จริยธรรมทางการเมืองโดยกลไกระบบอุปถัมภ์ จึงเป็นสิ่งที่ มีความเป็นไปได้มากกว่าการยกเลิกระบบอุปถัมภ์ ซึ่งระบบดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลง และปรับ สภาพของระบบให้เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงของกระแสสังคม ทำให้หน้าตาของระบบอุปถัมภ์ไม่เหมือนเดิม อีกต่อไป  
                 
    Postmodern ; ิธีคิดหลังยุคความทันสมัย
คำว่า postmodernism ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่องของกรอบคิด, ทฤษฎี, ปัญหา, ข้อถกเถียงเชิงตรรก, ปัญหาพูดคุยกันเชิงปรัชญา อันเกี่ยวโยงกับระบบคิด วิธีคิด ที่มีต้นเค้ามาจากแนวคิดสมัยใหม่ ย้อนกลับไปถึง the Enlightenment ซึ่งถ้าเป็นกองหนังสือก็ถือว่าเป็นหนังสือกองใหญ่ ของบรรดานักวิชาการที่เราค้นเคยกันอยู่ เช่น Foucault, Derrida, Habermas, Lyotard, Guy Deluze (ทัศนัย เศรษฐเสรี,2549,www. http://articles. artifile.com)
                แนวคิดหลังสมัยใหม่เป็นแนวคิดที่เสนอให้ทำความเข้าใจเป้าหมายในระยะยาวของกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตทางวัฒนธรรมและการขยายตัวเชิงสัญลักษณ์ซึ่งใช้เป็นสื่อกลางในระดับปัจเจก ภายใต้แนวคิดที่ว่า ความสวยงามของชีวิตที่ดำเนินตามหลักจริยธรรมเป็นสิ่งดีงาม ในความเป็นจริงไม่มีมนุษย์ ไม่มีธรรมชาติ และความจริงเป็นสิ่งไม่จริง เป้าหมายของชีวิตคือการแสวงหาประสบการณ์ใหม่ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นความพยายามที่จะยึดถือค่านิยมใหม่โดยการคิคค้นนวัตกรรมของสื่อภาษาเพื่อรองรับพฤติกรรมของบุคคล (Featherstone, 1991. p 126)
ลักษณะสำคัญของหลังสมัยใหม่คือ 1) ปฏิกิริยาจากแนวคิดของประวัติศาสตร์ตะวันตกที่นำเสนอโดยนักสังคมวิทยาทั้งสำนักโครงสร้างหน้าที่และมาร์ก 2) ปฏิกริยาจากทฤษฎีระดับล่างที่เข้ามาแทนที่แนวคิดในอดีต มีลักษณะแพร่กระจายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ไม่ต่อเนื่องและมีลักษณะแคบไม่กว้างขวาง นิยามเปลี่ยนแปลงจากแนวคิดโครงสร้างนิยม (ทั้งมาร์กและแนวคิดโครงสร้างเศรษฐศาสตร์การเมืองอันเป็นพื้นฐานที่มีผลต่อวัฒนธรรมด้านโครงสร้างส่วนบนและหน้าที่นิยม) ไปสู่แนวคิดหลังโครงสร้างนิยม(โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิดการปรับตัวด้านอำนาจของฟูโกต์ (Foucault,1993) และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในลักษณะการสนทนา การอภิปราย การถกปัญหาและการแลกเปลี่ยน 3) ปฏิกริยาจากและความสัมพันธ์ของแนวคิดวิทยาศาสตร์นำไปสู่ความจริงเกี่ยวกับสังคมโลกซึ่งแทนที่รูปแบบของสังคมวิทยาที่มักจะเปลี่ยนแปลงคำตอบเสมอและเป็นอัตตวิสัยที่มีความเป็นอคติ 4) การเน้นนักวิจัยที่เชี่ยวชาญเพื่อศึกษาวิจัยทำให้เกิดความเป็นอัตตวิสัยมากกว่าความเป็นวัตถุวิสัย การศึกษาของนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญมักจะทำการศึกษาภายใต้จุดยืนของทฤษฎีและรูปแบบของนักวิจัยซึ่งอย่างน้อยก็มีวิธีเชิงปริมาณที่ใช้สถิติกับรูปแบบเชิงคุณภาพที่มีความอคติสูง(www.aboutsociology. com)    
มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) กล่าวถึงลักษณะที่สำคัญของความจริงในสังคมสมัยใหม่ไว้ 5 ประการด้วยกัน คือ ประการแรก ความจริงกระจุกตัวอยู่ในแวดวงของวาทกรรมทางวิทยาศาสตร์ และสถาบันที่ผลิตความจริง ประการที่สอ งความจริงยังขึ้นอยู่กับความคงที่ทางเศรษฐกิจและการกระตุ้นเพื่อให้เกิด กิจกรรมทางการเมือง ประการที่สาม ความจริงเป็นวัตถุ (the object) ซึ่งแสดงออกในรูปแบบต่าง ๆ ที่มี การบริโภคและเผยแพร่กัน ประการที่สี่ ความจริงเป็นสิ่งที่ถูกผลิตและส่งผ่านต่อไปภายใต้ความควบคุมขององค์กรทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นหลัก (มหาวิทยาลัย, สื่อสารมวลชน, งานเขียน, กองทัพ) และประการสุดท้าย ความจริงเป็นประเด็นปัญหาของการถกเถียงทางการเมืองและการเผชิญหน้าทางสังคม (การต่อสู้ทางอุดมการณ์) ทั้งหมด (ธีรทัต  ชูดำ, 2549)
บรรดานักทฤษฎีโพสท์โมเดิร์นอ้างว่า ในสังคมร่วมสมัยที่มีความไฮเทคทางด้านสื่อและกระบวนการต่างๆที่เร่งด่วนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและการแปรผัน กำลังผลิตสังคมโพสท์โมเดิร์นใหม่อันหนึ่งขึ้นมา และผู้ที่ให้การสนับสนุนแนวคิดอ้างว่า ยุคของความเป็นโพสท์โมเดิร์นได้ก่อให้เกิดภาวะทางประวัติศาสตร์ที่แปลกใหม่อันหนึ่งซึ่งเป็นการก่อตัวของสังคมวัฒนธรรมที่ไม่เหมือนเดิมและต้องการแนวความคิดทฤษฎีใหม่มารองรับ
                เบาดริลลาร์ด ลิโอทาร์ด ฮาเวย์ และคนอื่นๆ (Baudrillard, Lyotard, Harvey, and other) ให้เหตุผลว่า เทคโนโลยีต่างๆอย่างเช่น คอมพิวเตอร์และสื่อ, รูปแบบใหม่ของความรู้, และการเปลี่ยนแปลงในระบบสังคมเศรษฐกิจ กำลังสร้างรูปแบบทางสังคมหลังสมัยใหม่อันหนึ่งขึ้นมา เบาดริลลาร์ดและลิโอทาร์ด ได้ตีความของพัฒนาการด้านต่างๆเหล่านี้ในแบบฉบับที่แปลกใหม่ของข้อมูล, ความรู้, และเทคโนโลยี, ขณะที่บรรดานักทฤษฎีนีโอ-มาร์กซิสท์ทั้งหลาย อย่างเจมสันและฮาเวย์ได้ตีความโพสท์โมเดิร์นในแง่พัฒนาการเกี่ยวกับขั้นตอนที่สูงกว่าของลัทธิทุนนิยม(higher stage of capitalism) ซึ่งได้รับการหยิบยกขึ้นมาโดยการแทรกซึมของทุนในระดับที่สูงขึ้นและการทำให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับสภาวะโลกไร้พรมแดน(Globalization)

                ปฏิกิริยาของปัญญาชนไทยต่อโพสท์โมเดิร์มีสองด้าน ด้านแรก เป็นการคลั่งไคล้ในสิ่งที่มีคำว่าโพสท์โมเดิร์นอยู่ เหมือนกับว่าภูมิปัญญามนุษยชาตินั้นได้มาถึงบทสุดท้ายพร้อมๆ กับการปรากฎของแนวคิดโพสท์โมเดิร์น ไม่มีคำตอบที่ดีกว่านี้ในอดีต และไม่มีคำตอบที่ลึกซึ้งกว่านี้ในอนาคต อีกด้านหนึ่งคือ การปฏิเสธ พร้อมกับการโจมตี ว่าโพสท์โมเดิร์นไม่มีอะไรใหม่ เป็นเรื่องเหลวไหล ไม่สนใจสังคมเป็นเพียงสิ่งใหม่ทางภูมิปัญญา

ขณะเดียวกันมีความพยายามที่จะอธิบายโพสท์โมเดิร์นให้มีลักษณะ "เพื่อสังคม" แล้วใช้วิธีคิดดังกล่าวมาเป็นเครื่องมือในการสร้างปฏิบัติการทางวิชาการและการเมืองบางประการขึ้นมา เห็นได้ว่าปฏิกิริยาแบบแรกกับแบบที่สองมีความขัดแย้งกัน ดังนั้นวิวาทะและการโต้เถียงเกี่ยวกับโพสท์โมเดิร์นที่ชัดเจนจึงมาจากสองกลุ่มนี้
นอกจากนั้นความหมายของโพสโมเดิร์นยังได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่า ยังไม่มีความชัดเจน เป็นเพียง "กระแสความคิด" มากกว่าจะเป็น "สำนักคิด" ที่มีระเบียบวิธี, ปรัชญา และเป้าหมายในการศึกษาที่ไม่ชัดเจนตายตัว อย่างไรก็ตามผู้ที่วิพากษ์ไม่ได้ไม่เห็นด้วยทั้งหมดแต่เสนอว่า ความไม่ชัดเจนนั้นไม่ได้หมายความว่าโพสท์โมเดิร์นจะไม่มีลักษณะร่วม โพสท์โมเดิร์นยังมีสิ่งเป็นแก่นสารอยู่บ้าง และดำรงอยู่ควบคู่กับภาวะสมัยใหม่ตลอดเวลา เนื่องจากเป็นกระแสความคิดที่เป็นปฏิกิริยาต่อภาวะสมัย ใหม่ในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะวิธีคิดที่เรียกว่ากระบวนการทำความเข้าใจในความรู้และความกระจ่างในสิ่งต่างๆ (Enlightenment) ซึ่งครอบงำโลกสมัยใหม่ในช่วงสองสามศตวรรษที่ผ่านมา
บทความหนึ่งที่เขียนในเวบไซด์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน(ศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์,2544) เสนอว่ากลุ่มที่โจมตีโพสท์โมเดิร์นไว้อย่างรุนแรงที่สุดได้แก่ชาวลัทธิมาร์กซ์ ทั้งที่ปัญหาเรื่องลัทธิมาร์กซ์นั้นแทบไม่ได้เป็นประเด็นที่นักคิดแนวโพสท์โมเดิร์นสนใจ อย่างไรก็ตาม ลัทธิมาร์กซ์เป็นส่วนหนึ่งของภาวะสมัยใหม่ และมาร์กซิสท์เองเห็นพ้องกับความคิดพื้นฐานของภาวะสมัยใหม่หลายประการ โดยเฉพาะความคิดเรื่องการปลดปล่อยมนุษย์ รวมทั้งความคิดเรื่องสังคมอุดมคติในอนาคต ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นเรื่องของแนวคิดที่มีอิทธิพลต่อโพสท์โมเดิร์นหรือหลังสมัยใหม่" 
นอกจากนั้น ยังนำเสนอว่า “โพสท์โมเดิร์นเป็นความคิดที่คลุมเครือและไม่ชัดเจน และแม้แต่มิเชล ฟูโกต์เอง ก็ยอมรับว่าไม่แน่ใจเหมือนกันว่า "ภาวะหลังสมัยใหม่" หรือ "postmodernity" หมายความถึงอะไรกันแน่ ความคลุมเครือนี้ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ในระดับทฤษฎี หากแต่ยังรวมความไปถึงการดำรงอยู่ของ "หลังสมัยใหม่" ในฐานะที่เป็นความเป็นจริงทางสังคม ซึ่งคาลลินิคอสเสนอว่าเส้นแบ่งระหว่าง "สมัยใหม่" กับ "หลังสมัยใหม่" เป็นสิ่งที่ไม่อาจมองเห็นได้อย่างชัดเจน และนั่นก็หมายความว่าความแตกต่างระหว่าง "สมัยใหม่" กับ "หลังสมัยใหม่" อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง”
                ธีรยุทธ์ บุญมี (ใต้ร่มธรรม, 2553) กล่าวถึงที่มาของโพสโมเดอร์นว่า มาจากพื้นฐานภาษาและสามารถอธิบายได้ด้วยทฤษฎีสัมพันธนิยม ชุดของความคิด ค่านิยม ภาษาและความรู้ที่แตกต่างกันแต่เท่าเทียมกันเนื่องจากสามารถเป็นตัวแทนของความรู้ได้เหมือนๆกัน
สังคมวิทยาหลังความทันสมัยภายใต้พื้นฐานแนวคิดด้านการแสดงออกทางเพศ
                ในสังคมตะวันตก ผู้สนับสนุนแนวคิดสังคมวิทยาหลังความทันสมัยจำนวนมาก เห็นว่า การมีครอบครัวเป็นเสมือนสิ่งเลวร้ายที่สุด โรตี้ (2005: 33) คิดเห็นว่า ครอบครัวคริสต์เตียนที่มีลูกจะพยายามสอนลูกๆของตนให้เชื่อในพระเจ้า ความกลัวในพระเจ้า ซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายและเลวร้าย

                นักคิดหลังความทันสมัย แสดงความเห็นต่อศาสนาคริตส์ อย่างไม่ยำเกรง ในเรื่องความรัก การแต่งงานและการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งนักคิดดังกล่าว ได้แบ่งรูปแบบข้างต้นเป็น ความรักอิสระ(Free Love) เช่น รูปแบบความรักที่ได้จากการติดต่อผ่านสื่ออิเลคโทรนิคหรือช่องทางอินเตอร์เน็ต(Hooking Up) รูปแบบการทดลองอยู่ร่วมกันและมีความสัมพันธ์ทางเพศโดยไม่ได้แต่งงาน(Shacking Up) รูปแบบการอาศัยอยู่ร่วมกันโดยไม่ได้แต่งงาน(Living Together) การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างหญิงและชายโดยไม่ได้แต่งงานกันในรูปแบบอื่นๆ นักจิตวิทยาบำบัด อดัม ฟิลิปส์ (2005:41) กล่าวถึงข้อสรุปที่เป็นไปได้ถึงเงื่อนไขข้อตกลงของการแต่งงาน และได้บรรยายถึงความสัมพันธ์ใดๆในลักษณะที่ไม่พึงปรารถนา   “ความสัมพันธ์ดังกล่าวเกิดขึ้นด้วยเหตุผลเดียวเท่านั้นคือการทดลอง และอะไรคือการทดลอง  ในความเป็นจริงยังไม่มีความชัดเจนว่าการเข้าไปมีส่วนร่วมในการทดลองนั้นกระทำไปเพื่ออะไรกันแน่” สำหรับคนที่มีสุขภาพจิตปกติในทางจิตวิทยาถือว่า การมีความรัก การมีเพศสัมพันธ์กันด้วยความรักไม่ใช่เรื่องเล็กๆน้อยๆ”    
                เป็นความจริงที่ว่า ปทัสถาน(Norm) ในสังคมตะวันตกมีจารีตประเพณีในเรื่องเพศแตกต่างและหลากหลายตามพื้นฐานของแต่ละครอบครัว  บรรดาพวกนิยมแนวคิดหลังความทันสมัย (Postmodernist) เห็นว่า ปทัสถานของนักนิยมการมีเพศสัมพันธ์ที่แตกต่างหลากหลาย (Heterosexist) มาจากการเปิดกว้างของสังคม นำไปสู่พฤติกรรมอันเป็นรูปแบบของการมีเพศสัมพันธ์แบบดั้งเดิมและถือว่าเป็นการประพฤติ ปฏิบัติที่ไม่มีคุณธรรมในปัจจุบัน ทำให้มนุษย์กลับไปสู่ชีวิตที่ป่าเถื่อน เพราะฉะนั้น จึงควรปรับเปลี่ยนชีวิตดังกล่าวให้เกิดค่านิยมผัวเดียวเมียเดียวและยกระดับค่านิยมให้อยู่เหนือกระแสหลักทางสังคมภายใต้พื้นฐานของตนเอง 
                แนวคิดหลังความทันสมัย กระตุ้นให้มีการเปิดโอกาสในการสนทนาเกี่ยวกับประสบการณ์ด้านความสัมพันธ์ทางเพศ ฟูโกต์ เน้นเรื่องที่เกี่ยวกับความช่วยเหลือทางเพศเพื่อให้เกิดความริเริ่มในการพูดคุยด้านความหลากหลายของการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งฟูโกต์และแอนเดอร์สันเห็นพ้องกันว่า กิจกรรมทางเพศในสังคมปัจจุบัน เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมที่ผิดปกติและพฤติกรรมเบี่ยงเบนเช่น พฤติกรรมระหว่างผู้ชายที่นิยมเด็กๆเป็นต้น ทั้งนี้เกิดจากสังคมที่ไม่สามารถปิดกั้นปรากฏการณ์การณ์ทางสังคมดังกล่าวนั้นได้
                เราจะใช้แนวคิดอะไรในการคิดในสิ่งที่คนปกติไม่คิดหรือสิ่งที่คนส่วนมากไม่ยอมรับ  ปัจจุบันสภาวะของพฤติกรรมเบี่ยงเบนหรือพฤติกรรมผิดปกติทางเพศเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจอย่างมาก และสาธารณะชนเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไร้คุณธรรมต่อการแสดงออกของพฤติกรรมดังกล่าว อย่างไรก็ตาม แอนเดอร์สัน (Anderson, 1997) แสดงความคิดเห็นว่า รูปแบบความสัมพันธ์ทางเพศที่หลากหลายกับรูปแบบรักร่วมเพศ ยังไม่มีความชัดเจนว่า เป็นความผิดปกติหรือเป็นพฤติกรรมเบี่ยงเบน ซึ่งยังคงต้องมีการตั้งคำถามและรอดูต่อไปว่า ในสังคมส่วนอื่นๆจะนิยามความเป็นจริงทางสังคมนี้ว่าอย่างไร

                โดยภาพรวมของทัศนะหลังความทันสมัยทางสังคมวิทยา นักสังคมวิทยาใช้คำว่า “ความเท่าเทียมทางเพศ” ซึ่งทำให้แต่ละบุคคลนิยามความต้องการและความประสงค์ที่จะแสดงออกทางเพศของตนบนพื้นฐานของความเท่าเทียมหรือความเสมอภาค
สังคมวิทยาหลังความทันสมัยกับวิธีการด้านศึกษา  
                แอนเดอร์สัน(1997)อธิบายถึงเป้าหมายและวิธีการนำแนวคิดหลังความทันสมัยมาปรับใช้กับการศึกษา เขาแสดงทัศนะว่า “ ลัทธิหลังความทันสมัยปฏิเสธ แนวความคิด ด้านการศึกษาปฐมวัยที่มีจุดมุ่งหมายในการอบรมเลี้ยงดูที่เน้นความสามารถด้านความนึกคิดเพื่อเหตุผลที่ว่า ต้องการสร้างความสามารถของเด็กในโลกใบนี้ให้มีความเชื่อมั่นและมีความคิดที่เป็นอิสระสูง ต่อมาการศึกษาดังกล่าวได้ถูกแทนที่ด้วยการศึกษาโดยวิธีการที่ให้ความสำคัญแก่อัตตลักษณ์ทางสังคม”  วิธีการศึกษา นำเอารูปแบบการศึกษาด้านภาษามาใช้เป็นหลัก ดังนั้นภาษาจึงถูกนำไปใช้เพื่อสร้างสรรค์ให้มนุษย์ดำรงอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศและชนชั้น
                มีการยกตัวอย่างของวิธีการศึกษาไว้อย่างน่าสนใจ แอนเดอร์สันเสนอว่า วิธีการของการศึกษาควรเน้นการทำงานไม่ใช่เน้นในเรื่องกฎระเบียบ มาตรฐานหรือหลักการที่มาจากการพิจารณาด้วยการตัดสินจากการแข่งขัน มุ่งความสำเร็จที่ไม่ใช่สิ่งที่ได้มาจากการทำสีผ้าให้ขาว (Non-Whites) สิ่งที่ประวัติศาสตร์ต้องเน้นเป็นพิเศษคืออาชญากรผู้บริสุทธิ์ (คนยากจนและถูกสังคมกดดัน) ผู้หญิง และผู้ร่ำรวย การศึกษาควรสอนให้เด็กมีระบบวิธีการหาความรู้โดยไม่เน้นการปลูกฝังในเรื่องการหากำไร การปลูกฝังในเรื่องการสะสมทรัพย์สินหรือการปลูกฝังเพื่อการแข่งขันสู่ชัยชนะ แต่ควรเน้นความเสมอภาคในการเลือกวิธีการและการเลือกที่จะรับความรู้ ครูในยุคหลังสมัยใหม่ควรรับรู้ความเป็นจริงด้านวัฒนธรรม แม้ว่าปัจจุบันจะเกิดวิกฤติทางวัฒนธรรมอันเป็นค่านิยมในเชิงอัตตวิสัยก็ตาม วิกฤติดังกล่าวได้แก่ เชื้อชาติ เพศ การแบ่งชนชั้น การต่อต้านค่านิยมในเรื่อง ความนิยมทางเพศ ฯลฯ ซึ่งถือเป็นเรื่องในระดับสากล   
                นอกจากนั้นมีแนวคิดที่เสนอว่า ควรมีการจัดการศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆ วิทยาลัย มหาวิทยาลัยในยุคหลังความทันสมัยควรจัดการศึกษาโดยไม่เน้นการศึกษาตามจารีต (Non-Traditional) การศึกษาควรมุ่งประเด็นเรื่อง ความนิยมเรื่องเพศ  เชื้อชาติและเพศ  ทั้งนี้ แอนเดอร์สันได้ยกตัวอย่างหลักสูตรและรายวิชาที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยของอเมริกา เช่น
วิชาอัตลักษณ์ของชุมชนเลสเบี้ยนในหลักสูตรการศึกษาสิทธิสตรี มหาวิทยาลัยเสตนฟอร์ด สนับสนุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ บทบาท การแบ่งแยก อัตตลักษณ์และความหลากหลายของชุมชนเลสเบี้ยน
มหาวิทยาลัยของรัฐ(Traditional-Universities)และโรงเรียนต่างๆในพื้นที่ภาคตะวันออกของอเมริกา ยอมรับในหลักสูตรที่เน้นการศึกษาสิทธิสตรีมากกว่าหลักสูตเศรษฐศาสตร์ เช่น มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยบราว มหาวิทยาลัยดาร์ตเมาส์
                ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมวิทยาเช่น  ริชาร์ด ซิลเลอร์ (Richard Zeller) ศาสตราจารย์ด้านสังคมวิทยาประจำมหาวิทยาลัยบราวนิ่งกรีนเสทตในรัฐโอไฮโอ (Bowling Green State University) พยายามจัดทำและเปิดหลักสูตรเพื่อการศึกษาด้านสิทธิสตรีจนประสบผลสำเร็จหลังจากได้รับการต่อต้านจากฝ่ายต่างของมหาวิทยาลัยมากว่า 25 ปี
แนวคิดหลังความทันสมัยกับสังคมวิทยาโดยสรุป
                แนวคิดหลังความทันสมัยซึ่งนักวิชาการของไทยมีความคิดเห็นว่า ยังคงเป็นเรื่องในระดับแนวคิด ไม่ได้เป็นความรู้ขั้นสูงในระดับทฤษฎี  อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวยังคงมีประโยชน์ในด้านการนำไปสู่การวิพากษ์แนวคิดในยุคความทันสมัย ทำให้เกิดประโยชน์ต่อแนวทางการศึกษาในสาขาสังคมวิทยาและสาขาอื่นๆเช่น สาขากฎหมายที่อาศัยลักษณะร่วมของหลักรัฐศาสตร์มากขึ้น สาขาการเมืองซึ่งเน้นการแก้ไขความขัดแย้งและให้ความสำคัญต่อชุมชนและการสร้างความเชื่อมโยงในลักษณะเครือข่ายทั้งในระดับท้องถิ่น ชาติและนานาชาติ เป็นต้น
                แม้ว่าแนวคิดหลังความทันสมัยจะไม่เชื่อในระเบียบวิธีและความรู้ที่สร้างขึ้นจากทฤษฎีในยุคความทันสมัย  แต่ก็กำลังค้นหาระเบียบวิธีใหม่ๆเพื่อศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งในที่สุดก็ต้องมีระเบียบวิธีอยู่ดี  การโจมตีระเบียบวิธีของวิธีการเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณของยุคทันสมัย โดยพยายามที่จะหาระเบียบวิธีด้วยการศึกษาจากความเป็นจริงทางสังคมก็ไม่ได้ทำให้แน่ใจได้ว่า การศึกษาแบบยุคหลังความทันสมัยจะปราศจากอคติ และไม่ได้หมายความว่า การไม่เชื่อในนัยสำคัญทางสถิติที่ถูกคิดค้นจากแนวคิดยุคทันสมัยจะไม่ถูกนำมาใช้ในยุคหลังความทันสมัย
                ประเด็นที่สามารถพิจารณาได้อีกประการหนึ่งค แนวคิดหลังความทันสมัยเชื่อความมีตัวตน นำไปสู่การให้นิยามของคำว่า อัตตลักษณ์ (Identity) เน้นนวัตกรรมของคำนิยามใหม่ๆเพื่อรองรับพฤติกรรมและการปฏิบัติตนภายในสังคม  ซึ่งพิจารณาได้จากวิธีการพัฒนาทางสังคม ที่มีแนวคิดในการพัฒนาที่เน้นความ เป็นตัวตนของภาคประชาชนมากขึ้นเช่น  นโยบายการพัฒนาชุมชนด้วยการสร้างความเข้มแข็งแก่ภาคประชาชน องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องสี่ด้านได้แก่ นโยบายและกฎหมายสิทธิมนุษยชนและสิทธิขั้นพื้นฐาน องค์ประกอบด้านสถาบันสาธารณะและสื่ออิสระ ซึ่งเป็นกลไกส่งเสริมการมีส่วนร่วมและสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในท้องถิ่นและชุมชน การพัฒนาองค์กรภาคประชาชนและองค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน ทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประชาชน ทั้งนี้ องค์ประกอบดังกล่าวจะอยู่ภายใต้บริบทขององค์กรภาคีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและหน่วยงานที่ปรึกษาอิสระ ที่สนับสนุนทั้งด้านการเงินและวิชาการ ระบบบริหารราชการ สภาพของท้องถิ่น ชุมชนและทุนทางสังคม สภาพปัญหาความต้องการของประชาชน
                หลายวิธีการที่สอดคล้องต่อแนวคิดหลังความทันสมัยได้แก่ กระบวนการเรียนรู้ การฝึกอบรมเชิง ปฏิบัติการ โดยผ่านประสบการณ์ ซึ่งผสมผสานรูปแบบวิธีการ การใช้สื่อ การใช้สัญลักษณ์ การปฏิสัมพันธ์ การสังเกตปรากฏการณ์ที่เป็นจริงเช่น พฤติกรรม เหตการณ์ที่เกิดขึ้นจริง และวิธีการอื่นๆที่หลากหลาย
อย่างไรก็ตามแนวคิด ยังคงมาจากพื้นฐานของแนวคิดกระแสหลักทางสังคม อันเป็นกลุ่มแนวคิดหลังความทันสมัยที่อาจเรียกได้ว่าเป็นสมาชิกของลัทธิความทันสมัย  อีกกลุ่มหนึ่ง เป็นกลุ่มวิชาการที่เสนอความคิดให้สังคมแสดงออกถึงความมีคุณธรรม จริยธรรม การให้ความสำคัญต่อความเป็นจริงที่ถูกต้อง ซึ่งกลุ่มแรกมองว่าเป็นไปได้ค่อนข้างยาก ดังเช่น ทฤษฎีปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของไทย  ที่บางกลุ่มมองว่าเป็นเพียงกลไกในการสร้างความสมดุลให้กับสังคมไม่สามารถนำมาปฏิบัติอย่างเข้มข้นในสภาวะโลกไร้พรมแดนได้ ซึ่งก็ไม่ผิดแต่ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เนื่องจากแนวคิดดังกล่าวมีพัฒนาการของวิธีการ อันสอดคล้องกับวิธีการอื่นๆในโลกที่คิดอย่างเดียวกัน เพื่อที่จะทำให้เกิดการดำรงอยู่ของสังคมอย่างถาวรและยั่งยืน

อ้างอิง
 ทัศนัย เศรษฐเสรี, 2549. วิจารณ์ยุคสว่างและการใช้เหตุผลที่ผิดพลาดPostmodern ideas www. http://articles.
artifile.com 6 กรกฎาคม 2549.
ธีรยุทธ บุญมี, 2553, รู้จักโลกโพส์โมเดิล กับธีรยุทธ์บุญมี, http://www.tairomdham.net/
สมเกียรติ ตั้งนโม.2544. ตามรอยแนวคิดทฤษฎีหลังสมัยใหม่ : ทฤษฎีโพสท์โมเดิร์น.[Online] Available
URL ; http://www.midnightuniv.org/midnightweb/newpage1.html
Rorty, Richard. 1991. Essays on Heidegger and Others. Cambridge : Cambridge University Press,
Richard Rorty and Gianni Vattimo,2005. The Future of Religion. New York, NY. Columbia University
Press: 33. www.moe.go.th/moe/upload/news_research.
Wikipedia, the free encyclopedia, Postmodernism, http://en.wikipedia.org.




รูปแบบการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม
(Participative Learning Form)
วิชา…………………………………………………
กิจกรรมที่ทำ(เช่น หัวข้อรายงาน…………………………………………………..)
ชื่อ……………………………นามสกุล…………………………….รหัสนักศึกษา…………………….
กลุ่มเรียน…………...ภาคการศึกษา……….ปีการศึกษา………………..
สมาชิกกลุ่ม……………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………......
………………………………………………………………………………………………………......
ข้อมูลการปฏิบัติิจกรรมของกลุ่ม
1.1  งานที่รับผิดชอบซึ่งได้รับมอบหมายจากกลุ่ม ……………………………………………………......
………………………………………………………………………………………………………….
1.2 การปฏิบัติงาน(อธิบายชิ้นงานที่ทำ รูปแบบ วิธีการทำงาน  การใช้ทรัพยากรเช่น เงิน 
วัสดุอุปกรณ์ ระยะเวลา)……………………………………………………………………………………………........................
………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………….
1.3 วิธีการประชุมและการมอบหมายงานของกลุ่ม…………………………………………………….....
………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………….
……………………………………………………………………………………………………..........
     1.3.1 ความสนใจในประเด็นที่ทำ…………………………………………………………………......
     1.3.2 ข้อตกลงของกลุ่มในประเด็นข้างต้น…………………………………………………………....
…………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………….
1.4 หนังสือและเอกสารอ้างอิงที่ใช้……………………………………………………………………...
    1.4.1 แนวคิดทฤษฎีที่นำมาใช้เป็นแนวทาง……………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………….
………………………………………………………………………………………………………….
1.5 ข่ายแนวคิดของกลุ่มหลังจากการปรึกษาหารือภายในกลุ่ม……………………………
……………..…………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………....
………………………………………………………………………………………………………...
………………………………………………………………………………………………………...
………………………………………………………………………………………………………...
………………………………………………………………………………………………………...
………………………………………………………………………………………………………...
………………………………………………………………………………………………………..
1.6 ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเสนอของกลุ่มอื่น ……………………………………………………….
…………………………………………..............................................................................................................  ………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………….............................................
1.7 ประโยชน์จากแลกเปลี่ยนความรู้กันภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม………………………………… 
………………………………………………………………………………………………………… 
………………………………………………………………………………………………………… 
………………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………….............
………………………………………………………………………………………………………… 
………………………………………………………………………………………………………… 
………………………………………………………………………………………………………… 
………………………………………………………………………………………………………… 
………………………………………………………………………………………………………… 

1.8 ข้อคิดเห็นต่อแนวคิดและประเด็นการนำเสนอของกลุ่มอื่นๆ……………………………………….. 
    กลุ่มที่ 1……………………………………………………………………………………………… 
………………………………………………………………………………………………………… 
………………………………………………………………………………………………………… 
………………………………………………………………………………………………………… 
   กลุ่มที่ 2 ……………………………………………………………………………………………… 
………………………………………………………………………………………………………… 
………………………………………………………………………………………………………… …………………………………………………………………………………………………..............
   กลุ่มที่ 3 ……………………………………………………………………………………………… 
………………………………………………………………………………………………………… 
………………………………………………………………………………………………………… 
………………………………………………………………………………………………………… ........................................................................................................................................................................................... 
   กลุ่มที่ 4 ………………………………………………………………………………………………
 ………………………………………………………………………………………………………... …………………………………………………………………………………………………………  
   กลุ่มที่ 5…………………………………………………………………………………………… 
……………………………………………………………………………………………………… ………………………………………………………………………………………………………..
    กลุ่มที่ 6 ……………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………………………………………… ……………………………………………………………………
    กลุ่มที่ 7 ………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
    กลุ่มที่ 8 ………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
1.9 บอกประโยชน์และความรู้สึกในการเรียนรู้จากประสบการณ์และการแลกเปลี่ยนรวมถึงข้อเสนอแนะ..
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
1.10 คะแนนที่ได้รับจากเพื่อนภายในกลุ่ม…………………………………………………………….
                   

Comments

Popular posts from this blog

A. เว็บไซต์ข่าวสาร - หน้าแรก

งานวิจัยปี 2562 การประเมินความต้องการจำเป็นของชุมชนเพื่อการพัฒนาความสามารถต่อ การเพิ่มมูลค่าวิสาหกิจการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัดนครนายก

Community Development and Community enterprise